วิธีการทำแบ่งเป็น Scenario ของ Lean In จะใช้เครื่องมืที่เรียกว่า Scenario Mapping ซึ่งเป็นเทคนิดที่เราต่อยอดออกมาจาก User Story Mapping และ User Journey โดยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฝ่าย คือ User คนตรงกลาง (เช่น PO หรือ BA) และ Developer มาช่วยกันร่วมทำ Map หรืออาจจะใช้สิ่งที่เราคุ้นกันอยู่แล้วอย่างเช่น End-To-End Test Case มาเป็นตัวแบ่งก็ได้ มองอีกมุมวิธีการทำแบบนี้ก็คือการเอาหลักการของ Acceptance Test Driven Development (ATDD) มาประยุกต์ใช้กับโปรเจคนั่นเอง
ตัวอย่าง Scenario Map — พนักงานบริษัทมางาน Agile Tour
ตัวอย่างในรูปนี้คือ Scenario Map ของการจัดงานสัมมนา Agile Tour ที่เป็น Scenario ซึ่งพนักงานบริษัทมางาน Agile Tour จะเห็นว่า Scenario นี้มี User Activity (สีเขียว) จำนวน 3 Activity มาเรียงต่อกัน โดยแต่ใน Activity นั้นจะมี Step (สีน้ำเงิน) เป็นรายละเอียดของแต่ละ Activity ซึ่งสองแถวบนนี้เป็น User View ที่ไม่ว่าเห็นก็พอจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากว่า Scenario นี้คืออะไร ส่วนด้านล่างของแต่ละ Step จะมี Work Item (สีเหลือง) ของงานที่เหลืออยู่ที่จะต้องทำเพื่อให้ Step นั้นเกิดขึ้นได้จริง ซึ่ง Work Item นี้เองที่เรามักจะเอาไปเป็นเป็นงานที่ทำในแต่ละ Sprint
พักหลังๆเวลามีคนขอให้เราสอนวิธีการเขียน User Story เรามักจะตอบไปว่าเราเลิกใช้ไปแล้ว และแนะนำให้ลูกค้ามาลองใช้วิธี Scenario Mapping แทน ซึ่งวิธีนี้จะทลายข้อจำกัดของ User Story ที่ต้องมี Value พอและต้องจบใน Sprint ซึ่งในหลายๆบริบททำได้ยาก ถ้าปกติใครใช้ Epic แทน Story ใหญ่ๆที่ต้องแตกออกเป็น Story ย่อยให้จบใน Sprint อาจจะมองว่า Scenario นี้คือ Epic ก็ได้
❤️ Practice 2 : ต่อเนื่อง ตัดสินใจร่วมกัน — Agile Interaction