22 ก.พ. 2021 เวลา 13:10 • ประวัติศาสตร์
หมอตำแยโรมัน
มาร์คุส อัลพิอุส อาเมริมนุส (Marcus Ulpius Amerimnus) กับ สคริโบเนีย อัตติกา (Scribonia Attica) สามีภรรยาโรมันในศตวรรษที่ 2 ซึ่งศพของทั้งคู่ฝังไว้คู่กันที่เมืองท่าออสเตีย (Ostia) ใกล้ๆ กรุงโรม จากจารึกบนผนังสุสาน ปรากฏคำอธิษฐานของสคริโบเนียที่ปรารถนาให้เธอได้อยู่ร่วมกับครอบครัวและบุคคลผู้เป็นอิสรชนตลอดกาล ส่วนมาร์คุสนั้นเป็นหมอผ่าตัดซึ่งเรารู้ได้จากภาพสลักนูนต่ำในสุสานที่เป็นภาพเขากำลังรักษาแผลที่ขาและมีอุปกรณ์ผ่าตัดอยู่ข้างๆ ตัว
สคริโบเนียเป็นหมอตำแยหรือผดุงครรภ์ (midwife) ก็มีภาพสลักนูนต่ำที่แสดงว่าเธอกำลังทำคลอดให้กับหญิงเปลือยที่นั่งอยู่บนเก้าอี้คลอด (เก้าอี้พิเศษซึ่งมีที่จับให้แม่ได้ยึดระหว่างเบ่งคลอด) หน้าท้องของเธอบวมโต มีผู้หญิงอีกคนหนึ่งซึ่งอาจเป็นญาติคอยดันหลังไว้ ขณะที่หมอตำแยนั่งอยู่บนม้านั่งเตี้ยๆ ที่ด้านหน้าคอยจับตัวเด็กที่คลอดออกมา
1
ภาพสลักนูนต่ำในสุสานของสคริโบเนีย แสดงภาพเธอกำลังทำหน้าที่เป็นหมอตำแยhttps://images.immediate.co.uk/production/volatile/sites/7/2018/01/GettyImages-122317968-6a454eb.jpg?background=white&lb=620,413&quality=90
จากจารึกในสุสาน ชื่อ สคริโบเนีย หรืออีกชื่อหนึ่งของเธอคือ อัตติกา แสดงว่าเธอมีต้นกำเนิดมาจาก
ชาวกรีก เช่นเดียวกับมารดาที่ชื่อว่า สคริโบเนีย คัลลิไทชี (Scribonia Callityche) บางทีบรรพบุรุษของเธออาจเป็นทาสชาวกรีกมาก่อนก็เป็นได้ แต่หมอตำแยคนนี้ก็ก้าวขึ้นมามีหน้ามีตาในสังคมเพราะเธอแต่งงานกับหมอผ่าตัดผู้มีฝีมือและเธอเองก็มีรายได้มาก เธอมีเครื่องมืออุปกรณ์การทำงาน นั่นคือ เก้าอี้คลอดและม้านั่งเตี้ยๆ ที่เธอใช้นั่งอยู่นั่นเอง
ภาพจำลองเก้าอี้คลอด หญิงที่จะคลอดและหมอตำแยhttps://2.bp.blogspot.com/-D7zMyhc8vRg/TzL8KcqfB_I/AAAAAAAAB-c/N_6CdSRjW4w/s1600/miriam_gives_birth.jpg
การคลอดในสมัยจักรวรรดิโรมันก็เป็นเช่นเดียวกันกับทุกแห่งทั่วโลก นั่นคือ เป็นเรื่องของผู้หญิงโดยเฉพาะ หมอตำแย (ซึ่งก็เป็นผู้หญิง) และสมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำคลอดเด็กและเลี้ยงดูทารกให้เติบโตขึ้น แต่ความรู้ของเราเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอดในสมัยโรมันโบราณเท่าที่มีอยู่ (ยกเว้นกรณีจารึกใน
สุสานของสคริโบเนีย) มาจากข้อเขียนของผู้ชายแทบทั้งสิ้น
เป็นที่ทราบกันว่ามีผู้ชายที่มีข้อมูลมากพอที่จะเขียนถึงการทำหน้าที่แบบหมอตำแย อย่างกรณีของ โซรานุสแห่งเอฟิซุส (Soranus of Ephesus) ในเอเชียไมเนอร์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) ที่เป็นแพทย์ในสมัยศตวรรษที่ 1-2 เขาเขียนตำราชื่อ นรีเวชศาสตร์ (Gynaecology) ซึ่งเริ่มต้นด้วยการอธิบายเรื่องหมอตำแยหรือผดุงครรภ์ในอุดมคติว่า เธอเหล่านั้นควรเป็น “ผู้มีความรู้ มีเชาวน์ปัญญา มีความทรงจำที่ดี รักการทำงาน น่านับถือ และมีร่างกายสมบูรณ์ ไม่พิกลพิการจนเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน มีแขนแข็งแรง กระฉับกระเฉง และสำหรับบางคน ยังควรมีนิ้วเรียวยาวและเล็บมือสั้น” คำแนะนำเหล่านี้เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล แต่กระนั้นก็ใช่ว่าหมอตำแยสมัยโบราณทุกคนจะเป็นคนรู้หนังสือ การอ่านออกเขียนได้ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่จะถ่ายทอดกันในหมู่ผู้หญิง แต่เป็นการบอกเล่าแบบมุขปาฐะแทน กลวิธีบางอย่างเช่นการคุมกำเนิดหรือการรักษาผู้หญิงแท้ง รวมถึงการเตรียมรับมือกับการคลอดที่ผิดปกติ จะถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างที่สุดและไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะบอกเล่าเฉพาะคนใกล้ชิดเท่านั้น
2
การรักษาและการบาดเจ็บ
แพทย์และหมอตำแยอาจใช้สมุนไพรช่วยในกรณีที่ช่องคลอดหดตัวเมื่อการคลอดช้าออกไป มีหลักฐานว่าหญิงตั้งครรภ์จะถูกมัดกับบันไดแล้วเขย่าเพื่อเร่งให้คลอดเร็วขึ้น แม้โซรานุสจะวิพากษ์วิจารณ์วิธีการเช่นนี้อย่างรุนแรงก็ตาม และหากเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่สุด ชีวิตของแม่ต้องได้รับการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แล้วค่อยตัดชิ้นส่วนของเด็กในครรภ์ออกเป็นชิ้นๆ (embryotomy) แล้วใช้ตะขอเกี่ยวออกมาจากครรภ์ภายหลัง ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งของผู้หญิงหลังคลอดคือการที่รก (placenta) ไม่ถูกขับออกมา ซึ่งนำไปสู่การตกเลือด (haemorrhage) ได้ ในตำราแพทย์ภาษาละตินจึงมีการกล่าวถึงตำรับยาจำนวนมากที่ใช้ขับรกและของเสียในร่างกายหลังคลอด
2
ภาพสลักนูนต่ำสมัยกรีกแสดงภาพหมอตำแยกำลังทำคลอด
นักเขียนสมัยโบราณหลายคนเป็นกังวลว่าการคลอดอาจจะทำให้ผู้หญิงทรมาน จนหมดเรี่ยวหมดแรงหรือเสียชีวิต เช่นเดียวกับการตั้งครรภ์ที่ทำให้อึดอัดหรือการอยากกินของแปลกๆ เช่น ถ่านหินหรือแม้แต่ดิน เป็นต้น รวมถึงอาการอาเจียนซึ่งนักปรัชญาธรรมชาติสมัยศตวรรษที่ 1 นามว่า พลีนี ผู้อาวุโส (Pliny the Elder) แนะนำให้กินเมล็ดส้มหรือพืชที่มีรสเปรี้ยว
หลักฐานชิ้นหนึ่งที่กล่าวถึงวิธีการลดอาการอาเจียนแพ้ท้อง หรือ hyperemesis gravidarum คือข้อเขียนในศาสนาคริสต์สมัยศตวรรษที่ 4 เรื่อง ปาฏิหาริย์ของนักบุญสตีเฟน ที่เล่าเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งนามว่า
เมเกเทีย (Megetia) ที่เจ็บป่วยจากอาการแพ้ท้องรุ่นแรงจนขากรรไกรค้างและกินอาหารไม่ได้ หลังจากแพทย์บอกว่าอาการของเธอรักษาไม่ได้ เธอก็เดินทางไปยังแท่นบูชานักบุญสตีเฟนใกล้เมืองคาร์เธจ ในเวลาต่อมาเธอก็หายเป็นปกติด้วยพลังศรัทธาที่เธอมีต่อพระเป็นเจ้า
เอกสารอีกชิ้นหนึ่ง ชื่อ พระวรสารโบราณของนักบุญเจมส์ (Protoevangelium of St James) ซึ่งเป็นเอกสารสมัยศตวรรษที่ 2 กล่าวว่าโยเซฟเรียกหมอตำแยมาทำคลอดพระเยซูคริสต์ที่เกิดในถ้ำ (ไม่ใช่คอกสัตว์อย่างที่ทราบกันทั่วไป) หมอตำแยคนหนึ่ง ชื่อ ซาโลเม (Salome) ปฏิเสธความเชื่อที่ว่าหญิงบริสุทธิ์ให้กำเนิดทารก และขอตรวจสอบอาการทางกายภาพที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ เธอไม่พบสัญญาณดังกล่าวเลย แต่มือของเธอกลับลุกเป็นไฟ และหายไปเมื่อเธอสำนึกและยอมละความสงสัยนั้น แม้จะดูเหลือเชื่ออยู่บ้าง แต่อย่างน้อยข้อมูลนี้ก็ยืนยันได้ว่าหมอตำแยได้ทำหน้าที่ในการทำคลอดมานานนับศตวรรษแล้ว
อ้างอิงhttps://www.gypzyworld.com/article/view/1214
โฆษณา