Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรีก // โรมัน
•
ติดตาม
22 ก.พ. 2021 เวลา 13:20 • ประวัติศาสตร์
โรคกระดูกอ่อน ภัยคุกคามเด็กโรมัน
นักวิชาการเผยเด็กโรมันจำนวนมากป่วยเป็นโรคกระดูกอ่อน สาเหตุมาจากการเลี้ยงดูแต่ในบ้านที่มิดชิด
ไม่ถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายขาดวิตามินดี ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์กระดูกจากหลุมฝังศพ
สมัยโรมันทั่วยุโรปเผยว่าเด็กเมื่อ 2,000 ปีมาแล้วประสบปัญหาอาการขาดวิตามินดี
นักวิจัยเปรียบเทียบกระดูกจากหลุมฝังศพซึ่งกำหนดอายุได้ระหว่างศตวรรษที่ 1-6 ตั้งแต่ยุโรปเหนือจนถึงตอนใต้ของสเปน กับกระดูกจากหลุมฝังศพต่าง ๆ ที่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะพบ
โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดจากการขาดวิตามินดี (Vitamin D) ในเด็กที่อาศัยอยู่ระหว่างและหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมอันเป็นผลเนื่องมาจากมลภาวะและความเป็นอยู่แออัดใน
เขตตัวเมืองอันเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19
หนึ่งในโครงกระดูกเด็กที่นำมาศึกษา โปรดสังเกตกระดูกขาที่ด้านซ้ายมือของภาพhttps://i.guim.co.uk/img/media/b2f882fca9c32772e194950bd0fd5d2100161c59/0_0_2213_947/master/2213.jpg?width=1920&quality=85&auto=format&usm=12&fit=max&s=12ceca2aa66d056972cd1045c70801b6
แต่เมื่อนักวิจัยศึกษาโครงกระดูกเด็กและผู้ใหญ่ 2,787 โครงในหลุมศพสมัยจักรวรรดิโรมัน 18 แห่ง
จากยุโรปเหนือจนถึงตอนใต้ของสเปน กลับพบว่าคนที่อาศัยอยู่ในยุโรปประสบภาวะขาดวิตามินดีมาเป็นเวลานานแล้ว
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์และองค์กร Historic England และ English Heritage Trust ที่ทำหน้าที่ดูแลแหล่งประวัติศาสตร์ทั่วประเทศอังกฤษ เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในปัจจุบันจากข้อมูลของของสถาบันความเป็นเลิศด้านการแพทย์ประเทศอังกฤษ พบว่ามีเด็กที่มีระดับวิตามินดีต่ำอยู่ร้อยละ 8-24 และผู้ใหญ่ที่มีภาวะเดียวกันในอัตรา 1 ใน 5 คน แม้จะไม่สูงมากอย่างที่เคยปรากฏในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ก็กล่าวได้มีในสมัยโบราณมีเด็ก1 ใน 20 คนเป็นโรคกระดูกอ่อน ซึ่งพบส่วนใหญ่
ในโครงกระดูกเด็กอายุตั้งแต่ 3 ขวบลงมา
กระดูกขาที่เกิดจากโรคกระดูกอ่อนในเด็ก เป็นผลมาจากการขาดวิตามินดี ทำให้กระดูกขาดผิดรูป ในภาพเป็นกระดูกขาเด็กวัย 7 ขวบ สมัยโรมันโบราณที่มีลักษณะการผิดรูปแบบขาโก่ง(Bow legs หรือ genu varum)พบจากโครงกระดูกจำนวนมากที่นำมาศึกษา
ผลการศึกษาของเราพบว่าการขาดวิตามินดีไม่ใช่ปัญหาใหม่ กว่า 2,000 ปีที่แล้ว มีเด็กจำนวนมากโ
ดยเฉพาะทารกมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคกระดูกอ่อน” ไซมอน เมย์ ผู้ร่วมวิจัยและนักชีววิทยาโครงกระดูกมนุษย์จากองค์กร Historic England กล่าว
แต่เมื่อพิจารณาว่าแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดภาวะขาดวิตามินดีขึ้นในจักรวรรดิโรมัน โดยเฉพาะในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน ทว่า ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าเด็กในพื้นที่ทางตอนเหนือของจักรวรรดิมีภาวะของโรคกระดูกอ่อนมากกว่าพื้นที่อื่น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะพื้นที่ดังกล่าวได้รับแสงอาทิตย์ค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมวิตามินดี อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอื่นที่ส่งผลโดยตรงมากกว่าที่กล่าวมา นั่นคือ การที่พ่อแม่เลี้ยงดูลูก ๆ ในสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นด้วยการให้อยู่แต่ในห้องหรือบ้านเรือนที่คิดว่าอบอุ่นกว่า ทำให้เด็กไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง และเป็นไปได้ว่าแม่ที่เป็นโรคกระดูกอ่อนอยู่แล้วอาจส่งต่อปัญหาแบบเดียวกันไปยังลูก ๆ ของตนได้
“การอยู่แต่ในบ้านโดยไม่ได้สัมผัสแสงแดดอาจเป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้” ไซมอน เมย์กล่าว “การเลี้ยงเด็กในสภาพอากาศที่ขมุกขมัวของแถบเมดิเตอร์เรเนียนก็อาจทำให้เด็กเกิดภาวะขาดวิตามินดีได้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในพื้นที่ยุโรปเหนือที่มีเมฆมากของยุโรปเหนือ”
ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือมีโครงการกระดูกจำนวนมากในหลุมฝังศพใกล้เมืองออสเตีย (Ostia) ในประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญที่ปากแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากกรุงโรม
และการที่เมืองดังกล่าวมีประชากรอยู่หนาแน่น ทำให้ผู้คนต้องอาศัยอยู่ในอาคารสูงที่แบ่งพื้นที่เป็นชั้น ๆ
ซากอาคาร House of Diana ที่เมืองท่าออสเตียสมัยโรมันผังโครงสร้างอาคาร House of Dianaและแบบจำลองอาคารดังกล่าว
“การอาศัยอยู่ในอาคารที่มีลักษณะเหมือนอพาร์ตเม้นต์ซึ่งแบ่งเป็นชั้น ๆ แต่ละห้องมีหน้าต่างขนาดเล็ก
อีกทั้งอาคารเหล่านั้นก็ตั้งอยู่ติดกันรอบ ๆ สนามหรือถนนแคบ ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เด็กจำนวนมากไม่ได้สัมผัสแสงแดดมากพอจนร่างกายเกิดภาวะขาดวิตามินดี” เมแกน บริกลีย์ ผู้ร่วมวิจัยและหัวหน้าโครงการจากมหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ กล่าว
“การศึกษานี้แสดงให้เห็นความสำคัญของการได้สัมผัสแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เรามักจะรู้สึกไม่ดีจากการอ้างเชิงพาณิชย์ว่าการสัมผัสแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง แต่นั่นจะต้องเกิดขึ้นเมื่ออยู่กลางแดดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ ...ทว่ากลับกัน ในกรณีของสมัยโรมัน การหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสแสงแดดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เด็กต้องทรมานจากภาวะขาดวิตามินดีซึ่งทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กได้ตั้งแต่ช่วงไม่กี่เดือนหลังคลอดด้วยซ้ำ”
ภาพวาดลายเส้นแสดงโครงกระดูกของผู้ป่วยโรคกระดูกอ่อนขั้นรุนแรง
ทั้งนี้ โรคกระดูกอ่อนในเด็ก คือภาวะที่มีความบกพร่องในการสะสมแร่ธาตุหรือการสะสมแคลเซียมในกระดูกระยะก่อนที่จะมีการปิดของแผ่นสร้างกระดูกเนื่องจากการขาดหรือความผิดปกติของกระบวนการสร้างและสลายวิตามินดี ฟอสฟอรัส หรือแคลเซียม ซึ่งอาจทำให้เกิดกระดูกหักหรือผิดรูปได้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดวิตามินดี ส่วนสาเหตุอื่นที่พบได้เช่นการขาดแคลเซียม (อาจเกิดจากอุจจาระร่วงรุนแรงหรืออาเจียนมากได้) ขณะที่มีอาหารเพียงน้อยชนิดมากที่เป็นแหล่งของวิตามินดี ทว่าการสังเคราะห์วิตามินดีในผิวหนังเป็นแหล่งของวิตามินดังกล่าวตามธรรมชาติที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว โดยที่การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี) เป็นสำคัญ
กระนั้นก็ตาม ภาวะความเป็นอยู่ที่แออัดและการขาดความรู้ด้านสุขอนามัยทำให้คนที่อาศัยอยู่ตามเมืองที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างมากของยุโรปในศตวรรษที่ 19 นอกจากจะประสบปัญหาโรคกระดูกอ่อนในเด็กเช่นที่กล่าวมาแล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากสภาพดังกล่าว คือ โรคเกาท์ (gout) โรคซิฟิลิส (syphilis) และโรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://edition.cnn.com/2018/08/20/health/ancient-rome-skeletons-vitamin-d-deficiency/index.html
https://onlinelibrary.wiley.com/journal/10968644
https://www.nice.org.uk/guidance/ph56/resources/vitamin-d-supplement-use-in-specific-population-groups-pdf-1996421765317
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-6077009/Children-risk-rickets-Roman-times-study-shows.html
https://www.theguardian.com/science/2018/aug/20/roman-rickets-vitamin-d-deficiency
https://www.smithsonianmag.com/smart-news/many-roman-children-suffered-rickets-new-study-has-found-180970074/
https://th.wikipedia.org/wiki/โรคกระดูกอ่อนในเด็ก
https://th.wikipedia.org/wiki/วิตามินดี
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย