Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความลับของนางฟ้า
•
ติดตาม
23 ก.พ. 2021 เวลา 11:38 • สุขภาพ
สวัสดีคะทุกคน ช่วงนี้จิ๊บหายไปนานเลยค่ะ แต่กลับมาคราวนี้ไม่ได้กลับมามือป่าวนะคะ แต่เอาความรู้มาฝากเพื่อนๆทุกคนค่ะ เกี่ยวกับ อาการซึมเศร้า ที่เป็นอาการที่หลายๆคนสามารถเป็นได้ไม่ว่าจะช่วงอายุเท่าไหร่ค่ะ
ในยุคสมัยนี้จิ๊บเชื่อว่ารอบตัวเรา มักจะรู้จักคนที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างน้อยสักคน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเปิดเผยตัวหรือไม่ แต่ก็คงปฏิเสธได้ยากว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ฮิตมากในช่วงหลัง (ซึ่งไม่ต้องตามเทรนด์ก็ได้) นะ 😉
แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า "โรคซึมเศร้า" ไม่ใช่แค่ "รู้สึกเศร้า" แล้วจะเรียกว่าเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่โรคนี้มันหมายถึงความผิดปกติทางจิตซึ่งมีกระบวนการวินิจฉัยที่เรียกว่า DSM-5 ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาช่วยวิเคราะห์นะ จะบอกว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าเลยก็อาจจะง่ายเกินไปหน่อย (แต่ก็ตั้งข้อสงสัยได้นะ)
ดังนั้นถ้าหากค้นพบว่าตัวเองมีอาการที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ ก็ขอให้รีบไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยากันนะคะ
ขอย้ำนะคะ"อาการ" ไม่ใช่ "โรค" นะ
การจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคอาจต้องมีรายละเอียดมากกว่านั้น
ขอย้ำนะคะว่ามันเป็นแค่ "อาการ" นะทุกคนน
1. Major Depression (หรือ unipolar/clinical depression)
ภาวะซึมเศร้าอันนี้พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มคนที่เป็นโรคซึมเศร้า อาการโดยทั่วไปคือมีความเศร้าติดอยู่กับใจ ขาดความสนใจต่อสิ่งเร้าภายนอก โดยอาการมีดังนี้
- รู้สึกไม่สนใจหรือมีความสุขกับกิจกรรมที่เคยทำแล้วมีความสุข
- รู้สึกไร้ค่าและรู้สึกผิดอยู่เสมอ
- มองเห็นแต่ด้านลบๆ ไม่เห็นว่าจะแก้ไขเรื่องต่างๆ รอบตัวได้
- ไม่สามารถโฟกัสได้ ลืมง่าย ตัดสินใจไม่ค่อยได้
- เริ่มตีตัวออกห่างจากคนที่รัก
- หงุดหงิดง่าย กระวนกระวายอยู่บ่อยๆ
- นอนไม่หลับ หรือไม่ก็นอนมากเกินไป
- รู้สึกอ่อนเพลียและง่วงตลอด
- มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อยากทำร้ายตัวเอง
- เบื่ออาหารหรือไม่ก็กินมากจนเกินไป
- รู้สึกปวดแบบหาสาเหตุไม่ได้
โดยหลักคือมันมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างชัดเจน ถ้ามีอาการตั้งแต่ 5 อาการขึ้นไปภายในระยะเวลา 2 อาทิตยหรือมากกว่านั้น ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นไปได้ ให้รีบไปหาหมอนะคะ
2. Dysthymia (Persistent Depressive Disorder - PDD)
อาการซึมเศร้าในรูปแบบนี้เป็นอาการซึมเศร้าในระยะยาว (มากกว่า 2 ปีขึ้นไป) ซึ่งถึงแม้อาการอาจจะไม่ร้ายแรงหรือมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตเท่า Major Depression แต่ก็ถือว่าทำให้ใช้ชีวิตได้ยากขึ้น อาการของคนที่เป็นซึมเศร้าในรูปแบบนี้มักจะรู้สึกว่ามีความสุขได้ยากแม้จะอยู่ในจังหวะที่สนุกที่สุด คนรอบข้างจะมองว่าเขาเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายหรือเป็นพวกขี้บ่น อาการเหล่านี้จะมาๆ หายๆ และโดยส่วนมากจะไม่หายไปนานเกิน 2 เดือน
และบางคนอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าแบบดับเบิลเลย คือเป็นทั้ง Major Depression และ Dysthymia
3. Manic Depression (Bipolar Disorder)
อาการนี้คนทั่วไปอาจจะพอคุ้นเคยอยู่บ้าง คนที่มีอาการซึมเศร้าประเภทนี้จะต้องเจอกับความเหวี่ยงทางอารมณ์หนักมาก ไม่ "ดิ่ง" (คิดฆ่าตัวตาย) ก็ "ดีด" (พลังล้นเหลือ) ไปเลย ซึ่งการแสดงออกของอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกอาทิตย์หรือบางคนหนึ่งปีอาจจะมีสักสองครั้ง
ซึ่งด้านดิ่งเองก็มีอาการคล้ายกับ Major Depression และส่วนในด้านดีดก็จะมี
- พลังเยอะ
- นอนน้อยลง
- คิดเร็วพูดเร็ว
- เชื่อมั่นในตัวเอง
- ทำอะไรเสี่ยงๆ ห่ามๆ เกินกว่าปกติ
- บางครั้งมีอาการ high เหมือนติดสารเสพติด
4. Postpartum Depression (Peripartum Depression - PPD)
เรียกง่ายๆ คือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือมีชื่อเรียกเก๋ๆ อีกชื่อว่า "Baby Blues" อาการนี้เป็นอาการปกติหลังคลอดลูกและจะลดความรุนแรงลงภายใน 2 อาทิตย์ ซึ่งสาเหตุก็เกิดมาจากการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่
ซึ่งอาการจะมีดังนี้
- รู้สึกเศร้า ดาวน์มากๆ ในวันนึง และยังรู้สึกอยู่เป็นหลายอาทิตย์
- รู้สึกอยากออกห่างครอบครัวและเพื่อนฝูง
- ไม่อยากทำกิจกรรมอะไรต่างๆ รวมไปถึงเรื่อง Sex
- เป็นห่วงสุขภาวะของลูกตัวเองอย่างมาก
- นิสัยการกินและนิสัยการนอนเปลี่ยน
- รู้สึกเหนื่อยตลอดทั้งวัน
- รู้สึกหงุดหงิด โมโหง่าย
- บางครั้งมีความคิดจะทำร้ายตัวเองหรือลูก
5. Premenstrual Dysphoric Disorder (PMDD)
หลักๆ ของคนที่มีอาการนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนในช่วงรอบเดือน เรียกได้ว่าเป็นอาการที่รุนแรงกว่าของ PMS มักตามมาด้วยภาวะทางอารมณ์ เช่น ความรู้สึกเศร้าและสิ้นหวัง และบางครั้งอาจรุนแรงถึงการพยายามฆ่าตัวตาย
#อาการนี้จิ๊บเคยเป็นนะ. 🤣 แต่ยังไม่ถึงคิดฆ่าตัวตายนะคะ
6. Seasonal Affective Disorder (SAD)
อาการซึมเศร้าประเภทนี้ยึดโยงกับฤดูเป็นหลัก ซึ่งส่วนมากมักจะเกิดในช่วงหน้าหนาว (โดยเฉพาะในประเทศหนาวที่มันหนาวจริงๆ) มีข้อสันนิษฐานบอกว่าที่มักเกิดในช่วงหน้าหนาวเพราะเกี่ยวข้องกับแสง พอเกี่ยวข้องกับแสงมันก็ไปตีรวนกับนาฬิกาชีวภาพ (Bio-Clock)
หรืออาจจะเกี่ยวกับสารเซโรโทนินในร่างกาย
หรืออาจะเกี่ยวกับปมในอดีตก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
คนที่มีอาการนี้ก็จะ
- รู้สึกว่าแขนขามันหนัก
- นอนเกินมากกว่าปกติบ่อยๆ
- กินแป้งเยอะ น้ำหนักเพิ่ม
- มีปัญหาด้านความสัมพันธ์
7. Psychotic Depression
สำหรับผู้ป่วยบางคน อาจมีอาการซึมเศร้าที่พัฒนาไปถึงขั้น "เห็นภาพหลอน" ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการผสมความผิดปกติทางจิตจากสองอาการ 1.ซึมเศร้า และ 2.จิตเภท คนที่มีอาการนี้มักจะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รับรส หรือคิดว่าตัวเองได้สัมผัสสิ่งที่เป็นภาพหลอน ซึ่งในมุมมองของเขา เขาจะรู้สึกว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นเรื่องจริงมากๆ
8. Situational Depression (Reactive Depression/Adjustment Disorder)
อาการของโรคซึมเศร้าแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เกิดมาจากการปรับตัวปรับใจไม่ทัน ซึ่งส่วนมากมักจะเกิดขึ้นตอนที่มีเหตุการณ์สูญเสียครั้งสำคัญในชีวิต เช่น หย่า เกษียณ เพื่อนตาย คนรักตาย ป่วยครั้งใหญ่ ถูก Abuse ทางร่างกายและจิตใจ ถูกเลิกจ้างหรือเผชิญปัญหาทางการเงินครั้งใหญ่ หรือพบกับปัญหาทางด้านกฎหมาย
หรืออย่างในกรณีของรุ่นน้องที่เคยเข้าร่วมวงสนทนากับผม เขาบอกว่าเกิดจากการที่ต้องย้ายตัวเองจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในกรุงเทพ แล้วพบว่าสภาพแวดล้อมต่างกันมากจนตั้งตัวรับไม่ทัน จนกระทั่งวันหนึ่งคิดจะฆ่าตัวตาย
อาการของคนที่ซึมเศร้าในรูปแบบนี้มักจะ
- ร้องไห้บ่อยๆ
- เศร้าและสิ้นหวัง
- นอนหลับยาก
- เหนื่อย หมดแรงง่าย
- ไม่โฟกัส
- พยายามอยู่ห่างจากสังคมรอบตัว
ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบหมอนะคะ
หรือใครที่มีเพื่อนที่มีอาการเสี่ยง ลองคุยกับเขาดูนะคะ
หากใครรู้ตัวว่าตัวเองมีโอกาสเสี่ยงกับอาการซึมเศร้าเหล่านี้ ขอให้คุณไปพบจิตแพทย์นะคะ ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะเราก็ไม่รู้ว่าแค่เพียงชั่วข้ามคืนมันจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างนะคะ
เพื่อนที่ได้อ่านบทความนี้ลองมองดูตัวเองด้วยนะคะ ว่ามีอาการดังกล่าวรึป่าวนะ ถ้ามีก็รีบรักษานะคะ จิ๊บเป็นห่วงเพื่อนๆทุกคนค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ 🙏☺️
ที่มา:
https://www.healthline.com/health/types-of-depression#situational-depression
https://www.psycom.net/10-types-of-depression/
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย