23 ก.พ. 2021 เวลา 16:05 • การศึกษา
ประเด็น: เจ้าของรถต้องรับผิดแม้ไม่ได้ขับเองหรือไม่❓
เป็นเรื่องปกติไปซะแล้วกับการยืมรถใช้กันชั่วครั้งชั่วคราว โดยเฉพาะเพื่อนกับเพื่อน 🤗 และก็บ่อยครั้งมากที่เพื่อนจะเอารถไปชน😅 เป็นสาเหตุให้เจ้าของรถปวดหัวกันบ่อยๆเลยค่ะ 😣
แต่ไม่ว่าเพื่อนที่ยืมรถไปจะถูกจะผิด อย่างน้อยรถก็เสียหายไปแล้ว 😥 ส่วนนี้หากเพื่อนที่ยืมรถไปเป็นฝ่ายผิดก็ต้องให้เพื่อนชดใช้นะคะ แต่หากไม่ใช่ก็ต้องให้คู่กรณีอีกฝ่ายที่ผิดมาชดใช้ค่าเสียหายแทนค่ะ 🙂
➡กรณีเพื่อนเป็นฝ่ายผิด เจ้าของรถจะต้องรับผิดกับเพื่อนด้วยหรือไม่ต้องพิจารณาดังนี้ค่ะ
1
💠คดีอาญา = ข้อหาขับรถโดยประมาท ฯลฯ ไม่ต้องรับผิดค่ะ เพราะไม่ใช่คนกระทำความผิด😁
💠คดีแพ่ง = ต้องดูข้อเท็จจริงก่อนว่าเจ้าของรถได้นั่งอยู่หรือไปด้วยกับเพื่อนที่ขับชนหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคหนึ่ง ค่ะ 🤔
"บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง.."
📌 หลัก = เจ้าของรถ "ไม่ได้นั่ง" ไปกับรถที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น บุคคลอื่นยืมรถไป เพื่อนหรือลูกหลานยืมไปและเกิดอุบัติเหตุไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่น กรณีนี้ถือว่าเจ้าของรถไม่ใช่ผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกลในขณะเกิดเหตุ ตาม ป.พ.พ.ม 437 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับคนขับค่ะ 😎
ดังนั้นถ้าเจ้าของรถ "ได้นั่ง" ไปกับรถที่เกิดอุบัติเหตุ (เฉพาะกรณีไม่ได้ขับเองนะคะ ถ้าขับเองก็รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดเองอยู่แล้วค่ะ) ต้องร่วมรับผิดเสมอค่ะ 😭 ซึ่งก็ยังมีโอกาสที่จะใช้ข้อต่อสู้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากความผิดของคู่กรณีอีกฝ่ายเพื่อให้พ้นผิดได้ (แต่โอกาสนี้ใช้ต่อเมื่อไม่ใช่กรณี รถชนรถ นะคะ ซึ่งเหตุผลก็ไว้มาเล่าต่อนะคะ..)🙂
แต่❗ก็มีข้อยกเว้นอยู่อีกแบบนะคะ หากเจ้าของรถที่ได้นั่งไปด้วยไม่มีสติสัมปชัญญะ เช่น หลับหรือเมาจนไม่รู้เรื่อง😵 ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคหนึ่งค่ะ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับคนขับ ☺
จากคำถามนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับเพื่อนนะคะ 🎊 แต่เอาใจช่วยให้เพื่อนจ่ายค่าซ่อมรถให้นะคะ😅
โฆษณา