อิมัส๎มิง สติ อิทํ โหติ
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
อิมัส๎มิง อสติ อิทํ น โหติ
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท. อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
(ม.ม. ๑๓/๓๕๕/๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔, ...ฯลฯ...)
พุทธวจน ชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓
by ท่านพุทธทาสอินทปัญโญภิกขุ
bn8185.
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๖๗ ข้อที่ ๑๐๔
เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๑๕ ข้อที่ ๕๒๐
เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๑๑ ข้องที่ ๑๙๔
เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๗ ข้อที่ ๔
เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๗๓ ข้อที่ ๑๕๒๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
bn8185.
ธรรมวินัย ตถาคต มีรสดุจรวงผึ้ง
๔. การณปาลีสูตร
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กุฏาคารศาลา ป่ามหาวันใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงานของเจ้าลิจฉวีอยู่ ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์เดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้ถามว่า อ้อ ท่านปิงคิยานีมาจากไหนแต่ยังวัน (แต่วันนัก)
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม ฯ
กา. ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของพระสมณโคดม
ว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร ? ฯ
ปิ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร ? และเป็นอะไร ? จึงจักรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม
ผู้ใดพึงรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม
แม้ผู้นั้นพึงเป็นเช่นกับพระสมณโคดมนั้นแน่นอน ฯ
กา. ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก ฯ
ปิ. ข้าพเจ้าคือใคร ? และเป็นอะไร ?
จึงจักสรรเสริญพระสมณโคดม และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญแล้วๆ ว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
กา. ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร ?
จึงเลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดม อย่างนี้ ฯ
ปิ. ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ :- โดยสุตตะ ; โดยเคยยะ ; โดยไวยากรณ์ ;
หรือโดยอัพภูตธรรม ;
ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะ เป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิว และความ อ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาพึงลิ้มรสโดยลักษณะใดๆ ก็ย่อมได้รสดีอันไม่เจือ ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ :- โดยสุตตะ ; โดยเคยยะ ; โดยไวยากรณ์ ;
หรือโดยอัพภูตธรรม ;
ย่อมได้ความดีใจ ย่อมได้ความเลื่อมใสแห่งใจ โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษพึงได้ไม้จันทน์แห่งจันทน์เหลืองหรือจันทน์แดง พึงสูดกลิ่นจากที่ใดๆ เช่นจากราก จากลำต้น หรือจากยอด ก็ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้ ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ :- โดยสุตตะ ; โดยเคยยะ ; โดยไวยากรณ์ ;
หรือโดยอัพภูตธรรม ;
ก็ย่อมได้ความปราโมทย์ ย่อมได้โสมนัส โดยลักษณะนั้น ฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะ ใดๆ คือ :- โดยสุตตะ ; โดยเคยยะ ; โดยไวยากรณ์ ;
หรือโดยอัพภูตธรรม ;
ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขา ย่อมหมดไปโดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนสระน้ำมีน้ำใสน่าเพลินใจ น้ำเย็น น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผาเหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม พึงระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง ฉันใดบุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ :- โดยสุตตะ ; โดยเคยยะ ; โดยไวยากรณ์ ;
หรือโดยอัพภูตธรรม ;
ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และ ความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น ฯ
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว
การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่งห่มผ้าเฉวียง บ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ เปล่งอุทานสามครั้งว่า :-
ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แล้วกล่าวต่อไปว่า ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ปิงคิยานีสูตร
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กุฏาคารศาลา ป่ามหาวันใกล้เมือง เวสาลี สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ เฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ เจ้าลิจฉวีบางพวกเขียว มีวรรณะเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว บางพวกเหลือง มีวรรณะเหลือง มีผ้าเหลือง มีเครื่องประดับเหลือง บางพวกแดง มีวรรณะแดง มีผ้าแดง มีเครื่องประดับแดง บางพวกขาว มีวรรณะขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว.
พระผู้มีพระภาคทรงรุ่งเรืองกว่าเจ้าลิจฉวี เหล่านั้น โดยพระวรรณะและพระยศ
ครั้งนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรปิงคิยานี จงแจ่มแจ้งกะท่านเถิด ครั้งนั้นปิงคิยานี พราหมณ์ได้ชมเชยต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาโดยย่อว่า เชิญท่านดูพระอังคีรสผู้ทรงรุ่งโรจน์อยู่ เหมือนดอกบัวชื่อโกกนุท มีกลิ่นหอม ไม่ปราศจากกลิ่น บานอยู่ ณ เวลาเช้า และเหมือนพระอาทิตย์ เปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้า ฉะนั้น ฯ
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้ให้ปิงคิยานีพราหมณ์ห่มผ้าอุตราสงค์ ๕๐๐ ผืน ปิงคิยานีพราหมณ์ได้ทูลถวายให้พระผู้มีพระภาคครองผ้าอุตราสงค์ ๕๐๐ ผืนเหล่านั้น พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า
ดูกรเจ้าลิจฉวี ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก รัตนะ ๕ เป็นไฉน ? คือ :- พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วอันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วอันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑
ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่ง รัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๕
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๑๐-๒๑๓ ข้อที่ ๑๙๔-๑๙๕
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
bn8185.