11 มี.ค. 2021 เวลา 01:51 • สุขภาพ
สารพันยากินที่ทำให้เลือดหยุดยากเวลาทำฟัน
"ปวดฟันมากนอนไม่หลับมาหลายวันแล้วครับ นี่ผมหยุดยาละลายลิ่มเลือดมาแล้วสองวัน ถอนฟันเลยได้ไหมครับหมอ " คุณตาวัย 74 แจ้งกับหมอทันทีที่เจอหน้า พลางชี้นิ้วไปที่ฟันหน้าล่างที่เหลือแต่ตอสองซี่ พร้อมกับคางที่บวมแดง หมอตรวจดูฟันที่คนไข้ชี้ พบว่าฟันหน้าตัดล่างสองซี่ที่เหลือแต่ตอ และฟันซี่ข้างๆ อีกซี่ที่ผุจนทะลุประสาทฟัน เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ บวมเป็นหนอง จากการซักประวัติโรคประจำตัว พบว่าคุณลุงมีโรคความดันโลหิตสูง วัดความดันพบว่าอยู่ในระดับปกติ โรคอื่นไม่มี ลุงบอกอีกว่าหมอที่รักษาความดันให้กินยาให้เลือดไหลสะดวก วันละเม็ดตอนเช้าทุกวัน "ปีก่อนผมไปผ่าตัดตา หมอตาเขาให้หยุดยา 7 วัน นี่ผมปวดฟันจะมาถอนฟันผมเลยหยุดมา 2 วัน มันปวดรอ 7วันไม่ไหว" หมอสงสัยว่ายาที่คุณลุงกินจะไม่ใช่ยาละลายลิ่มเลือด แต่เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด จึงทำการติดต่อให้ที่บ้านคนไข้ถ่ายรูปยาและซองยามาส่งมาให้ดู พบว่าเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มยาต้านการทำงานของเกร็ดเลือด (Antiplatelet) ซึ่งปกติ ในขนาดยาที่คุณลุงกินไม่ก่อปัญหาเลือดออกมาก หยุดยากหลังถอน ตรวจดูที่ผิวหนังแขน ขา และในช่องปาก ก็ไม่พบรอยจ้ำเลือดออก จึงทำการถอนฟัน 3 ซี่ ที่เป็นสาเหตุการติดเชื้อนี้ออกพร้อมขูด ล้างทำความสะอาด เบ้าฟัน เย็บแผล และทำการกดแผลห้ามเลือด ดูอาการจนเลือดหยุดสนิท 30นาที จ่ายยา แนะนำการดูแลแผล เสร็จคุณลุงก็กลับบ้านได้ พร้อมนัดมาตัดไหมอีกครั้งสัปดาห์หน้า
 
จากเคสข้างต้น จะเห็นว่าคนทั่วไปยังมีความสับสนระหว่างยาละลายลิ่มเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต่างกันมาก เป็นยาคนละกลุ่มกันเลยครับ ยาละลายลิ่มเลือด จะไปทำการสลายลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะต้านหรือลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือด ยากลุ่มหลั่งนี้ปัจจุบันพบว่ามีคนได้รับกันมากขึ้น มีความเชื่อว่าต้องหยุดยาก่อนมาถอนฟัน ไม่หยุดหมอไม่ถอนให้ ความจริงคือปัจจุบันไม่แนะนำให้หยุดยาแล้วครับ สามารถทำการรักษาผ่าตัดเล็กทางทันตกรรมที่ไม่ซับซ้อน การห้ามเลือดในการทำฟัน ถอนฟันปกติทั่วไปในคนไข้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีค่า INR ไม่เกิน 2.5-3 สามารถทำได้โดยไม่เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง ด้วยกลไกการแข็งตัวของเลือดมีหลายขั้นตอน การได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดหนึ่งไม่ได้ขัดขวางทุกกลไก ยังมีกลไกอื่นเหลือเกิดการแข็งตัวของเลือดได้ เพียงแต่ใช้เวลานานขึ้นกว่าปกติ ทำให้เลือดออกนานกว่าปกติเล็กน้อย หากออกนานกว่ามากก็มีวิธีและยาที่ใช้ห้ามเลือดมาช่วยในการห้ามเลือดได้ บางกรณีเพียงต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อรับการรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่สร้างปัญหาเลือดออกมากหยุดยาก หลังถอนฟันควรนั่งรอจนกว่าเลือดจะหยุดสนิทแล้วค่อยกลับบ้าน การหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือดโดยไม่มีคำสั่งแพทย์ผู้ดูแล อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันตามอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น สมอง ปอด เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ไต ส่งผลต่อโรคประจำตัวที่คนไข้แย่ลง อาจร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องคำนึงถึงคือในคนไข้ที่ได้รับยาวาว์ฟารินอยู่ คือการใช้ยาแก้ปวดในคนไข้ ต้องระวังเพราะทั้ง Paracetamal (>2g/day)และยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะเลือดออก(Bleeding)ผิดปกติ ในระดับรุนแรงปานกลาง (Moderate) โดยอาจเลี่ยงไปใช้ยาแก้ปวดชนิดอื่นแทน เช่น Tramadol ,Codeineหรือ Morphine  แต่หากจำเป็นต้องใช้ Paracetamal หรือ NSAIDs ควรใช้ใน ขนาดและระยะเวลาที่สั้นที่สุดและได้รับการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด แบ่งได้ดังนี้
1. ยากลุ่ม Anticoagulant เช่น warfarin (Coumadin®)ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง vitamin K-dependent coagulation proteins (factors II –prothrombin, VII, IX, and X). ปกติหมอที่ดูแลคนไข้ที่จำเป็นต้องได้รับ warfarin จะควบคุมระดับยาให้มีค่า international normalized ratio (INR) ระหว่าง 2-3.5 ซึ่งเป็นระดับที่สามารถให้การรักษาทั่วไปทางทันตกรรม เช่น ถอนฟัน 1-2 ซี่ ได้ โดยไม่เกิดปัญหาในการแข็งตัวของเลือด ส่วนคนไข้ที่มี ค่า INR มากกว่า 4 จะต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนขนาดหรือชนิดยาต้านการแข็งตัวของเลือดร่วมกับแพทย์ ห้ามคนไข้หยุดยาเองเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันที่อวัยวะสำคัญของร่างกาย อันเป็นผลเสียที่ร้ายแรง
1
ยากลุ่ม Anticoagulant หากค่า INR 2-3 ไม่ต้องหยุดยาก่อนถอนฟัน
2. ยากลุ่ม Antiplatelet agents เช่น clopidogrel (Plavix®) ticlopidine (Ticlid®) prasugrel (Effient®) ticagrelor (Brilinta®) aspirin
ส่งผลให้Bleeding time นานขึ้น แต่สามารถควบคุมการหยุดเลือดโดยวิธีกดแผล หรือใส่สารห้ามเลือด เช่น Gelfoam ,Surgicel ,tranexamic acid และการเย็บแผล ยากลุ่มนี้ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อนมาทำฟันแล้ว สามารถทำได้เลยในหัตถการทั่วๆไป เช่นถอนฟัน 1-2 ซี่ กรณีขูดหินปูนที่เหงือกอักเสบปานกลาง( ระหว่างขูดให้สังเกตุการแข็งตัวของเลือดไปด้วย)
ยากลุ่มต้านการทำงานของเกร็ดเลือด (Antiplatelet agent) ชนาดรับประทานปหกติไม่ต้องหยุดยาก่อนทำฟันครับ
3.ยากลุ่ม Non- vitamin K Antagonist Oral Anticoagulants (NOACs) ยาในกลุ่มนี้มีกลไกออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ
*direct thrombin inhibitor ได้แก่dabigatran (Pradaxa®) rivaroxaban (Xarelto®)
*activatedfactor Xainhibitor
ได้แก่ rivaroxaban apixaban (Eliquis®)และ edoxaban (Savaysa® ) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์สั้นมีค่าครึ่งชีวิต( Half life )ไม่เกิน 5-17ชั่วโมงแล้วแต่ชนิดยา การหยุดยาควรพิจารณาปัจจัยที่สำคัญคือ ความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน ความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกของผู้ป่วยและของหัตถการหรือการผ่าตัด การทำงานของไต โดยทั่วไปถ้าจำเป็นจะต้องหยุดยาจะเป็นระยะเวลา4ถึง5เท่าของค่าครึ่งชีวิตของยาซึ่งหากผู้ป่วยมีภาวะไตเสื่อมระยะเวลาครึ่งชีวิตของยาจะมากขึ้นด้วย ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตปกติจะต้องหยุดยา NOACs เป็นเวลา 24ชั่วโมงสำหรับการผ่าตัดที่ความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกต่ำ และหยุดยาเป็นเวลา48ชั่วโมงสำหรับการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงปานกลางหรือสูง สำหรับการ bridg-ingด้วยheparinหรือlow-molecular weightheparin (LMWH) ดังนั้นเมื่อต้องการรักษาทางทันตกรรม เช่นถอนฟันแบบไม่ซับซ้อน 1-2 ซี่ จะสามารถรับการรักษาหลังจากได้รับยาครั้งสุดท้าย ประมาณ 12- 24 ชั่วโมง และกลับมากินยาได้เมื่อหยุดสนิท ก็ไม่สร้างปัญหาเรื่องเลือดหยุดยาก หรือหากมีปัญหาก็สามารถหยุดเลือดได้ไม่ยาก อีกสิ่งที่ต้องระวังคือการใช้ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม Erythromycin (มักใช้ในกลุ่มคนไข้ที่แพ้ Pennicilin ในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม )และยาแก้ปวด กลุ่ม NSAIDs ในผู้ป่วยที่ได้รับ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่ม NOACs จะมีผลทำให้เลือดออกได้มากขึ้น
ยากลุ่ม Direct oral anticoagulants ทำการถอนฟันได้หลังจากรับยาครั้งสุดท้ายประมาณ 24 ชั่วโมง และกลับมากินยาได้หลังเลือดหยุดดี
การประเมินสภาวะเลือกออกมากหยุดยากจากการทำฟันนอกจากยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยังมีอีกหลายปัจจัยที่หมอฟันต้องคำนึงถึง เช่นการได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs มานานในพวกมีอาการปวดเรื้อรัง โรคประจำตัวของคนไข้เอง กลุ่มคนไข้ที่กินเหล้าเบียร์ มานาน การทำงานของตับเสื่อมสภาพ รวมถึงรอยโรคของฟันซี่ที่จะถอน มีสภาพเนื้อเยื่อข้างเคียงที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกมากหยุดยากหรือไม่ แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ มีวิธีจัดการแก้ไขได้ครับ
6 มีค 64
Dental digest
ย่อยเรื่องฟันให้ท่านเข้าใจง่ายๆ
อ้างอิง
J Clin Exp Dent. 2017 Nov; 9(11): e1346–e1354.Published online 2017 Nov 1. doi: 10.4317/jced.54004
Subject: Management of Patients on Warfarin Therapy https://www.aaom.com/clinical-practice-statements-warfarin-therapy
Paracetamol: a haemorrhagic risk factor in patients on warfarin I Mahé, N Bertrand, [...], and J F Bergmann
Non-vitamin K Antagonist Oral
Anticoagulants (NOAC) in Ischemic Stroke
Patients with Atrial Fibrillation:North -Eastern THai Journal of Neurosince vol12 no4
Hémostase locale en Chirurgie orale. 2ème partie : efficacité
de la colle de fibrine
Yassin Nizamaldin, Jacky Samson*
Division de Stomatologie et Chirurgie orale, Genève, Suisse
(Reçu le 24 juillet 2012, accepté le 31 janvier 2012)
โฆษณา