Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sherlock Holmes
•
ติดตาม
24 ก.พ. 2021 เวลา 14:20 • การศึกษา
"เวลา" เป็นสิ่งมีค่าที่ใช้เงินซื้อไม่ได้ และไม่ว่าใครก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน การบริหารจัดการเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ สำหรับการใช้ชีวิต
1
ถ้าพูดถึง เวลา แน่นอนทุกคนรู้ว่ามันมีค่า
แต่คนเราแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือ ของบางอย่างที่มันจำเป็นต้องใช้เวลา กลับชอบบอกว่ากลัวเสียเวลา แต่กับของบางอย่างที่รู้ทั้งรู้ว่าทำเเล้วมันเสียเวลา กลับชอบไปใช้เวลากับมันซะอย่างนั้น
จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่รู้อยู่แก่ใจ ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี แต่เพราะเสพติดความสบายก็เลยไม่ได้ทำตามที่เป้าหมายตั้งใจเอาไว้
สูตรบริหารเวลานั้นเรียบง่ายมาก มันมีชื่อว่า "เร็ว ช้า หนัก เบา"
ซึ่งใช้ได้กับทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น เรื่องงาน เรื่องส่วนตัว หรือ แม้แต่เรื่องครอบครัว
ในแต่ละวัน จะมีงานที่เราต้องทำเข้ามาเต็มไปหมด และมันไม่ได้เข้ามาทีละอย่างด้วย แต่มันจะเข้ามาพร้อมๆ กัน ซึ่งข้อผิดพลาดของคนส่วนใหญ่คือ ไปให้ความสำคัญกับมันเท่ากันหมด
👉 "กฎข้อแรก" ของการจัดการเวลา คือ เราต้องจัดลำดับความสำคัญของมันออกเป็นหมวดหมู่ก่อน
- หมวดที่ 1 "เร็ว" คือ งานที่ต้องทำเสร็จให้รวดเร็ว หรือ ใกล้จะถึงเดดไลน์แล้ว
- หมวดที่ 2 "ช้า" คือ งานที่ไม่มีเดดไลน์ หรือ กว่าจะถึงก็อีกนาน
- หมวดที่ 3 "หนัก" คือ งานที่สำคัญ หรื ต้องใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ
- หมวดที่ 4 "เบา" คือ งานที่ไม่ต้องซีเรียสมาก ไม่ต้องทุ่มพลังงานสมอง และไม่ค่อยสำคัญ
ซึ่งโดยส่วนใหญ่งานแต่ละอย่างมักจะมีมากกว่า 2 หมวดขึ้นไป คือ
.
- หนัก x เร็ว คือ เป็นงานสำคัญ ที่ใกล้จะถึงเดดไลน์แล้ว
- หนัก x ช้า คือ เป็นงานสำคัญ แต่เดดไลน์ยังอีกนาน หรือ ต้องเป็นงานระยะยาว
- เบา x เร็ว คือ ด่วนก็จริงแต่เป็นงานเบาๆ ไม่ได้สำคัญอะไรมาก บางอย่างก็ให้คนอื่นทำได้
- เบา x ช้า คือ งานนี้เก็บไว้เคลียทีหลัง หรือ เป็นเรื่องไร้สาระ
พอแบ่งตามสูตรนี้ เราจะเริ่มจัดลำดับได้ แล้วก็จะพบว่า ความจริงแล้วงานไม่ได้ถาโถมเข้ามามากมายขนาดนั้น
แต่ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่มักเลือกทำงานที่มีสาระน้อยกว่า แต่มันสนุก (เบา x ช้า) จนเบียดบังเวลาที่ควรใช้ทำงานสำคัญ
หรือ ในอีกแง่หนึ่งคือ เราใช้เวลากับงานที่ หนัก x เร็ว มากเกินไป และรู้สึกว่ามีแต่งานที่ หนัก x เร็ว เต็มไปหมด
แต่ความลับของคนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการบริหารจัดการเวลาก็คือ เขาจะให้ความสำคัญกับงานที่ หนัก x ช้า
นั่นก็เพราะถ้าคุณทำงานที่ หนัก x ช้า ได้สำเร็จ มันก็จะไม่ค่อยมีงานที่ หนัก x เร็ว ไงล่ะครับ
👉เมื่อคุณจัดการงานตามหมวดหมู่ได้แล้ว กฎข้อที่สอง ที่จะทำให้คุณบริหารเวลาได้ดีขึ้น คือ การใช้หลักการพาเรโต 80/20
คือ 20 เปอร์เซ็นต์ของงานที่เราทำ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตเราถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วน 80 เปอร์เซ็นต์ของงานที่เราทำ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตเราแค่ 20 เปอร์เซ็นต์
นั่นหมายความว่า ส่วนสำคัญที่เราต้องทำในชีวิตประจำวันมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ คือ สิ่งที่ทำแล้วไม่ได้มีประโยชน์อะไรมาก หรือ อยู่ในงานจำพวกที่ เบา x ช้า นั่นเอง
เช่น การไถฟีดบนเฟซบุ๊ก การเปิดดูคลิปไร้สาระในยูทูป การเปิดมือถือเพื่อเช็กบทสนทนาทั้งที่มันไม่ได้มีอะไร
ถ้าไม่เชื่อลองปิดโซเชียลมีเดียสัก 1 ชั่วโมงดูครับ คุณจะรู้สึกเหมือนได้เวลากลับมาเพียบเลย แถมงานที่ทำก็เสร็จเร็วขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้นด้วย ซึ่งมันจะทำให้คุณสามารถจัดการกับงานที่ทั้ง หนัก x ช้า และ หนัก x เร็ว ได้สบายๆ
👉ต่อมากฎข้อสาม คือ กฎ 2 นาที
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ งานที่สามารถทำเสร็จได้ภายใน 2 นาที ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในงานที่ เบา x เร็ว ก็ทำให้เสร็จเลย
เช่น การตัดสินใจตอบรับ/ปฏิเสธ เพื่อน ลูกน้อง การตอบอีเมลลูกค้า หรือ ใครก็ตามที่รอการตัดสินใจของคุณ เพื่อป้องกันความล่าช้า และ ไม่ให้มันมารบกวนหรือขัดจังหวะเวลางานที่สำคัญของคุณ
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงเข้าใจสูตรบริหารเวลาอันเรียบง่ายอย่าง “เร็ว ช้า หนัก เบา, กฎ 80/20 และ กฎ 2 นาที” กันแล้ว ทีนี้ก็เหลือแค่นำไปลงมือทำอย่างเดียวเท่านั้น
บางคนบ่นไม่มีเวลา แต่ก็ไม่เห็นจะทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง แต่บางคนดูเหมือนยุ่งจนไม่มีเวลา แต่กลับทำอะไรสำเร็จได้มากกว่าเรา นั่นก็เพราะเขารู้จักวิธีการบริหารจัดการเวลาที่ถูกต้อง
อย่างคำกล่าวที่ว่า "คนที่ประสบความสำเร็จ ชีวิตหนึ่งวันจะมีเวลา 25 ชั่วโมง ส่วนคนที่ล้มเหลว ชีวิตหนึ่งวันจะมีเวลา 23 ชั่วโมง"
พูดง่ายๆ คือ คนสำเร็จเขาทำเหมือนตัวเองมีเวลามากกว่าคนทั่วไป แต่คนล้มเหลวดูเหมือนคนที่มีเวลาน้อยกว่าชาวบ้าน ทั้งที่ความจริงแล้ว เราทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน...
3 บันทึก
4
2
3
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย