ซึ่งที่น่าสนใจเพราะผู้เขียนนั้น คือ Kai-Fu Lee บุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่คร่ำหวอดมากที่สุดคนหนึ่งในวงการ AI เลยก็ว่าได้ โดยเค้าเคยทำงานทั้งที่ Apple, Microsoft แถมเคยเป็นประธานของ Google China อีกด้วยครับ และในปี 2009 เค้าออกมาตั้งบริษัท Venture Capital ที่ชื่อว่า Sinovation Ventures ทำให้เค้าเองมีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับพัฒนาการของ AI ทั้งในสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดและเข้มข้นในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเงิน นวัตกรรม หรือกระทั่งกีฬาครับ
1
ในตอนแรกผมเองก็คิดว่าหนังสือจะเล่ารายละเอียดของ AI ในเชิงเทคนิคซึ่งน่าจะทำให้คนบ้าน ๆ แบบผมเข้าใจได้ยาก 😂 แต่พอได้ลองอ่านดูแล้ว มันไม่ใช่เลยครับ !
2
เค้าเล่าถึงวิวัฒนาการของ AI ได้แบบเข้าใจง่าย แถมประเด็นของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า AI มันพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการมาอย่างไร แต่เป็นการชี้ประเด็นให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้นี้สังคมมนุษย์จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร รวมถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อ AI มีการขยายขอบเขตและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะทำให้งานและอาชีพต่าง ๆ ที่มนุษย์เราทำอยู่นั้นโดน AI มาแทนที่ไปในที่สุด มาถึงจุดนี้แล้วสงสัยกันมั้ยครับ ว่าแล้วมนุษย์เราจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร…? 🤨
3
……………..
2
“Sputnik Moment” 🚀
ผู้เขียนเล่าว่าเมื่อก่อนนั้นอเมริกาเป็นเหมือนเจ้าแห่งเทคโนโลยีและ AI แต่เพียงผู้เดียว โดยอย่างที่เราทราบกันดีว่าที่อเมริกานั้นมี “Silicon Valley” ที่เป็นเหมือนแหล่งกำเนิดพวก startups และ Tech Company ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ตั้งแต่ Google, Facebook และอีกมากมาย โดยในตอนนั้นประเทศจีนนั้นยังไม่ได้มีความสนใจในเรื่อง AI เลย
การพ่ายแพ้ของมนุษย์ต่อคอมพิวเตอร์ไม่เพียงแต่เป็นการส่งสัญญาณถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีจากโลกตะวันตก แต่มันบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ในเรื่องของ AI จากฝั่งอเมริกา ซึ่งไปกระตุกต่อมให้จีนยอมไม่ได้และตั้งเป้าพัฒนา AI อย่างจริงจังนับแต่นั้นมา….
การจะทำ Deep learning นั้นต้องอาศัยการใส่ข้อมูลเข้าไปจำนวนมากรวมถึงมีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถคิด คำนวณได้เร็ว ซึ่งตัว Alpha Go ที่พูดถึงข้างต้นก็เป็น Deep learning ตัวหนึ่งนั่นเองครับ
ซึ่งผู้เขียนได้บอกว่าในปัจจุบันนี้ Deep learning technology ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว ปัจจุบันไม่ใช่ยุคแห่งการคิดค้นพัฒนาหรือ “Age of Discovery” อีกต่อไปแล้ว ซึ่งเปรียบเหมือนกับการค้นพบกระแสไฟฟ้า ที่ทุกวันนี้เรียกว่า ยุคของการนำไปประยุกต์ใช้ “Age of Implementation”
4
นอกจากนี้ยังเป็นการเปลี่ยนถ่ายจาก ”Age of expertise”ยุคที่ใช้ความเชี่ยวชาญ มาเป็น “Age of data” เนื่องจากว่าปัจจัยหลักที่จะทำให้ AI นั้นประสบความสำเร็จมีอยู่ 3 อย่างได้แก่
ซึ่งการทำธุรกรรมโดยเฉพาะการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานมหาศาลโดนเก็บไว้ ทำให้ทางผู้ประกอบการมีข้อมูลและรูปแบบการใช้งานจำนวนมากของผู้ใช้งาน ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าข้อมูลมหาศาลนี่แหละมีส่วนสำคัญในการพัฒนา AI เป็นอย่างสูง
มาถึงยุคที่สองที่เรียกว่า “Business AI” ซึ่งคือการนำมาใช้ในธุรกิจเช่น การนำ AI มาช่วยในการวิเคราะห์การปล่อยสินเชื่อหรือใช้ในทางธนาคาร
1
จนมาถึงยุคที่สามที่เรียกว่า “Perception AI” คือการพัฒนา AI ที่ฉลาดขึ้น สามารถจดจำรูปแบบของข้อมูลได้ เช่น การใช้ face recognition นอกจากนี้ยังนำมาใช้ผสมผสาน “online-merge-offline (OMO)” เช่น ที่ร้าน KFC บางสาขาที่จีนสามารถเลือกชำระเงินได้ด้วย face recognition หรือมากไปกว่านั้น เช่น การนำไปใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่จดจำตัวเราได้จากการสแกนหน้าของเราและสามารถแนะนำสินค้าที่เราซื้อเป็นประจำได้อีกด้วย
2
จนกระทั่งมาถึงยุคที่น่าสนใจที่สุด คือ “Autonomous AI” ที่สามารถคิดและทำอะไรแทนมนุษย์ได้เลย ถึงแม้ว่ายังต้องมีการพัฒนาต่อในเรื่องของความปลอดภัยรวมถึงเรื่องของจริยธรรม ตัวอย่างของกลุ่มนี้ก็เช่น self-driving cars 🚗 ซึ่งหลายบริษัทได้พัฒนามาซักระยะหนึ่งแล้วนะครับ ทั้ง Google ที่ตั้งชื่อว่า “Waymo” (ใครสนใจว่าเค้าไปถึงไหนไปดูกันได้ที่ https://waymo.com/) หรือจะเป็น Tesla
1
💡 ซึ่งการที่ AI มีพัฒนาการมาถึงจุดที่มันสามารถคิด วิเคราะห์และตัดสินใจแทนมนุษย์ทำให้เกิดความกังวลว่าต่อไปในอนาคตนั้นจะมีอาชีพหลายอย่างที่จะโดน AI มาทดแทนมนุษย์
แน่นอนว่าเราคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการนำ AI เข้ามาใช้ในธุรกิจเนื่องจากว่าความสามารถในการเก็บข้อมูลมหาศาลที่มนุษย์ไม่สามารถเก็บไว้ในสมองได้ ทั้งการช่วยทำให้งานที่ทำมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะ AI สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ไม่เหนื่อย ไม่ป่วย ไม่บ่น ไม่จำเป็นต้องพัก ซึ่งในที่สุดจะช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้ในระยะยาว แล้วทำไมเราถึงจะไม่ใช้หละครับ?
อย่างที่เล่าไปข้างต้นนะครับว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีด้าน AI ส่วนใหญ่จะแข่งกันอยู่สองประเทศคือจีนกับอเมริกา แม้แต่ทางยุโรปเองก็ยังพัฒนาในส่วนนี้น้อยอยู่ โดยในอนาคตผู้เขียนมองว่ามันจะมีลักษณะเหมือนการผูกขาดจากผู้เล่นแค่ไม่กี่เจ้า ประเทศที่เต็มไปด้วยการใช้ AI ก็จะพัฒนาไปไกลแบบฉุดไม่อยู่ เนื่องจากการมี “competitive edge” ที่สูง มีต้นทุนที่ต่ำ มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า เค้าบอกให้ลองนึกภาพบริษัท Apple หากใช้หุ่นยนต์มาทำ iPhone โดยไม่ต้องจ้างคนเลยจะประหยัดต้นทุนได้ขนาดไหน 🤔
1
ส่วนประเทศที่ไม่มีก็จะยิ่งลำบากและยากจนขึ้นไปเรื่อย ๆ ทำให้ยิ่งนานไป ก็จะยิ่งเกิดความไม่เท่าเทียมกันหรือช่องว่างเพิ่มมากขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศที่มีกับไม่มี AI
นอกจากนี้ก็จะมีมนุษย์ส่วนหนึ่งที่ต้องตกงานจากงานที่ถูกแทนที่ด้วย AI และไม่สามารถปรับตัวได้ ก็อาจจะเป็น “useless class” เหมือนที่ Yuval N. Harari เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง Homo Deus
……………..
“The Three R’s : Reduce, Retrain and Redistribute”
ผู้เขียนได้ให้แนวทางในการจัดการการมาทดแทนมนุษย์ของ AI ไว้เป็น 3R ดังนี้คือ reduce, retrain และ redistribute
💡 “Reduce” ก็คือการลดชั่วโมงการทำงานของคนลงเลย เนื่องจากว่าการนำ AI เข้ามาแทนทำให้ต้องการใช้คนน้อยลง ซึ่งการลดชั่วโมงการทำงานลงจะยังพอช่วยให้บริษัทยังสามารถเลี้ยงคนไว้ได้เท่าเดิม โดยที่ยังไม่ต้องลดคนลง
6
💡 “Retrain” ก็คือการฝึกทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานแบบใหม่ คนที่โดนทดแทนด้วย AI ต้องปรับตัวเองและไปทำงานใหม่ ซึ่งจะยังช่วยให้คนเหล่านั้นยังสามารถมีงานทำได้อยู่ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายจากการมี AI ด้วยเช่นกัน ตั้งแต่ AI Engineer, Machine Trainer หรือ AI Ethicist (นักวิเคราะห์จริยธรรมของ AI)