25 ก.พ. 2021 เวลา 16:12 • เกม
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๒ วิภังคสูตร
[๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ?
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด
ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา
ก็มรณะ เป็นไฉน ?
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความ
ทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ?
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
[๘] ก็ภพเป็นไฉน ?
ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน ?
อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ?
ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ
[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน ?
เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
นี้เรียกว่าเวทนา ฯ
[๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน?
ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ
[๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน ?
อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ
[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน ?
้เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
นี้เรียกว่านาม
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่ารูป
นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านาม
รูป ฯ
[๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน ?
วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณ ฯ
[๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน ?
สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร ฯ
[๑๗] ก็อวิชชาเป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
นี้เรียกว่าอวิชชา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส...... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓ ปฏิปทาสูตร
[๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และ สัมมาปฏิปทา พวกเธอจงฟังปฏิปทาทั้ง ๒ นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิดเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๒๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา ฯ
[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาสจึงดับสิ้น ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา ฯ
จบสูตรที่ ๓
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒-๔ ข้อที่ ๔-๒๑
สุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
bn8185.
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร?จึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูป สลายไปเพราะอะไร?
สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะกระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร?จึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา เสวยอะไร?
เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร?จึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา จำได้หมายรู้อะไร?
จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร?จึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร?
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป โดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร?จึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ รู้แจ้งอะไร?
รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๘๖-๘๗ ข้อที่ ๑๕๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
bn8185.
โฆษณา