26 ก.พ. 2021 เวลา 05:58 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทุกคนคงได้ยินชื่อ ไฮเปอร์ลูป กันมาบ่าง
เทคโนโลยีนี้ยังถูกเอาไปใส่ในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่างเรื่อง King Man
วันนี้ผมจะมา เขียนเกี่ยวกับเรื่อง ไฮเปอร์ลูป
ขอบคุณภาพดีๆจากเว็บ www.thaiphysoc.org
เราอาจจะได้ยินหรือเห็นภาพเทคโนโลยีขนส่ง
บางส่วนที่ชื่อว่า “Hyperloop หรือ ไฮเปอร์ลูป”
โดยเป็นเทคโนโลยีการขนส่งที่เริ่มมีการพูดถึง
เป็นวงกว้างตั้งแต่มีการคิดออกแบบมา
ตั้งแต่ปี 2013 ที่เริ่มมีการพูดถึงเจ้าไฮเปอร์ลูป
นี้มาจนถึงตอนนี้ปี 2020 ความสำเร็จของเจ้าระบบ
ขนส่งความเร็วสูงเริ่มใกล้เข้ามาแล้วทุกทีๆ
เมื่อเริ่มการทดสอบระบบขนส่งที่มีคนโดยสาร
ไปด้วยเป็นครั้งแรกของโลก
ขอบคุณภาพจากเว็บ www.trueplookpanya.com
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับเจ้า Hyperloop
หรือ ไฮเปอร์ลูป กันก่อนดีกว่า โดยเจ้า ไฮเปอร์ลูป
คือเทคโนโลยีการขนส่งด้วยการเดินทางผ่าน
ท่อสูญญากาศ โดยจะใช้ Pod หรือ แคปซูล
เป็นพาหนะ และจะขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
ในการเดินทางด้วยความเร็วสูง โดยคาดการณ์ว่า
สามารถเดินทางได้ 1,200 กิโลเมตร / ชั่วโมง
ผู้ริเริ่มทฤษฏีมีชือว่า Elon Musk หรือที่คนไทยรู้จักในนาม
Iron Man ในโลกความเป็นจริง และทฤษฏีของเขา
เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2013 โดยเขาตั้งเป้าว่าจะพัฒนาระบบนี้
ให้มีความเร็วสูงสุดที่ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เพื่อย่นระยะเวลาการเดินทางในอนาคต
โดยเขาพัฒนาแนวคิดมาจากรถไฟแม็กเลฟ
รถไฟความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
ในการสร้างแรงยกตัวให้รถไฟวิ่งไปโดยที่ลอยอยู่เหนือราง
แทนการใช้ล้อ ในทางทฤษฎีนี้จะช่วยให้ผู้คนสามารถ
เดินทางระหว่างสนามบินฮีทโธรว์และสนามบินแกตวิค
ในกรุงลอนดอน ระยะทาง 72.42 กิโลเมตร ภายในเวลาเพียง 4 นาที
ขอบคุณภาพจากเว็บ indianexpress.com
อีกทั้งเขาไม่คิดที่จะหวงไอเดียเลย ซึ่งทำให้ผู้ที่สนใจเจ้า
ไฮเปอร์ลูป นี้ สามารถนำทฤษฏีนี้ไปต่อยอดได้โดย
ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย และ Elon Musk ได้จัดตั้งบริษัท
ของเขาขึ้นมา มีชื่อว่า The Boring Company รวมทั้ง
ยังมีบริษัทอื่นๆ ที่สนใจนำทฤษฏีของเขาไปต่อยอด
นั่นก็คือ บริษัท Hyperloop Transportation Technology
และบริษัท Virgin Hyperloop one ซึ่ง 3 บริษัทยักษ์ใหญ่
เหล่านี้ได้ร่วมมือกันพัฒนาไฮเปอร์ลูปนี้อย่างเป็นทางการ
ในปี 2020 นี้ บริษัท Virgin Hyperloop one
ที่ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2014 จนถึงตอนนี้ได้ประสบความสำเร็จ
ในการทดลองการขนส่งโดยมีผู้โดยสารในแคปซูล
หรือเรียกอีกแบบคือ Pod (พ็อด) เป็นครั้งแรกของโลก
ขอบคุณภาพจาก blog.eduhub.tv
โดยการทดลองล่าสุดที่ในทะเลทรายรัฐเนวาดา
เป็นการใช้พ็อดวิ่งในอุโมงสูญญากาศด้วยความเร็วสูง
ที่มีผู้โดยสารทั้งหมดสองคนที่เป็นพนักงานของบริษัท
ได้แก่ ซารา ลุคยัน และ จอช เกียเกล ผลจากการทดสอบ
คือ สามารถเดินทางไปตามทางวิ่งยาว 500 เมตร
โดยใช้เวลา 15 วินาที ด้วยความเร็วสูงสุด 172 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซารายังได้บรรยายถึงความรู้สึกหลังการทดสอบว่า
“รู้สึกตื่นเต้นทั้งกายและใจ” และจอช ยังได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า
การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น และ ไม่รู้สึกเหมือนการนั่งรถไฟเหาะตีลังกาเลย
แม้ในช่วงการเร่งความเร็วจะรู้สึกถึงพลังมากกว่าการเดินทางไปตามทาง
วิ่งที่ยาวกว่า แต่ทั้งสองก็ไม่ได้รู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ทางบริษัทกำลังสำรวจความเป็นไปได้
ในการสร้างเทคโนโลยีนี้ในประเทศต่างๆ
เช่น การเดินทางไปมาระหว่างนครดูไบกับกรุงอาบูดาบี
ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยใช้เวลาเพียง 12 นาที
เมื่อเทียบกับการขนส่งมวลชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางกว่า 1 ชั่วโมง
นอกจากนี้ จอร์จ จีเจิล รองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรม
ของไฮเปอร์ลูปวัน ได้พูดถึงข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่อ
ร่างกายของผู้โดยสาร ไฮเปอร์ลูปที่จะบรรทุกผู้โดยสาร
และสินค้าด้วยความเร็ว 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งเป็นความเร็วกว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 747 ถึง 30%
ขอบคุณภาพจาก blog.eduhub.tv
เขาได้กล่าวไว้ว่า “ประสบการณ์ของผู้โดยสารจะไม่แตกต่างไป
จากการเดินทางด้วยเครื่องบินทั่วไป ไม่มีการคลื่นไส้อาเจียน
หรือแม้กระทั่งคนชราหรือสัตว์เลี้ยงก็สามารถเดินทางได้”
และ ลี สโตน นักวิจัยจากนาซาอาเมสกล่าวว่า
การเดินทางด้วยความเร็ว 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เราสามารถแม้กระทั่งดื่มเครื่องดื่มหรือทำอะไรก็ได้ที่เราต้องการ
เปรียบเสมือนกับการอยู่บนรถบัส
ซึ่งจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการส่วนใหญ่ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า
การที่จะสร้างระบบไฮเปอร์ลูปนั้นจะต้องคำนึงถึงอะไรหลายๆอย่าง
ทั้งเส้นทางการวางอุโมงและการขออนุญาติต่างๆเพื่อที่จะสร้าง
เครือข่ายอุโมงขนาดใหญ่สำหรับเส้นทางต่างๆ
ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเตือนว่าเร่งความเร็วของแคปซูล
อาจทำให้เกิดแรง G ในระดับที่ทำให้ผู้โดยสารเป็นอันตรายได้
แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตไฮเปอร์ลูปจะมั่นใจว่าการเดินทางจะปลอดภัย
และให้ความรู้สึกไม่ต่างจากการขึ้นลิฟต์หรือเครื่องบิน
ยังไงก็ตามเจ้าไฮเปอร์ลูปนี้ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำยุคก็จริง ๆ
และระบบทั้งหมดก็สามารถที่จะมีแหล่งผลิตที่ไหนก็ได้บนโลก
แต่ในตอนนี้ถึงแม้ความสำเร็จใกล้เข้ามาแล้ว
แต่เจ้าไฮเปอร์ลูปในยังคงรับผู้โดยสารได้จำนวนน้อย
และยังมีข้อจำกัดในการรับผู้โดยสารจำนวนมากอยู่
จึงทำให้คนบางส่วนมองว่า ทฤษฎีนี้อาจจะไม่คุ้มในเชิงธุรกิจ
และอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่รองรับเฉพาะคนที่จ่ายไหวเท่านั้น
แต่ในท้ายที่สุดแล้วเจ้าไฮเปอร์ลูปก็ยังคงเป็นการเดินทาง
ในอนาคตอย่างหนึ่ง ซึ่งยังอยู่ในช่วงศึกษาและคิดค้น
เมื่อสำเร็จ ไฮเปอร์ลูปจะสามารถทำให้การเดินทาง
เราอาจจะสะดวกสบายรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
และอาจจะเป็นอีกหนึ่งการขนส่งที่สำคัญ
อีกอย่างหนึ่งในอนาคตเลยก็ว่าได้
โฆษณา