28 ก.พ. 2021 เวลา 07:08 • ประวัติศาสตร์
“Phossy Jaw” โรคร้ายที่ทรมานคนงานหญิงในโรงงานไม้ขีด
2
ในยุคที่อุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกากำลังรุ่งเรือง แต่เหล่าคนงานหญิงในโรงงานไม้ขีดไฟล้วนแต่ล้มป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่เรียกว่า “Phossy Jaw” ซึ่งจะมีอาการเด่นคือกระดูกขากรรไกรมีอาการผุ
1
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โรงงานไม้ขีดไฟต่างๆ มักจะจ้างคนงานหญิง ซึ่งเหล่าคนงานหญิงในโรงงานก็ต้องทำงานใกล้ชิดกับฟอสฟอรัสขาว ซึ่งมีผลทำให้กระดูกขากรรไกรผุ
1
คนงานหญิงเหล่านี้ต้องทนอยู่ในสภาพความเสี่ยงนี้เป็นเวลานานกว่าสิบปี กว่าจะมีการห้ามใช้ฟอสฟอรัสขาว และการต่อสู้เพื่อคุณภาพการทำงานของพวกเธอก็ไม่ง่าย
คนงานหญิงในศตวรรษที่ 20
การทำงานใกล้ชิดกับฟอสฟอรัสขาวนับว่าอันตรายมาก หากแต่เจ้าของโรงงานก็ไม่สนใจ และให้คนงานหญิงทำงานในโรงงาน 10-15 ชั่วโมงต่อวัน
8
การทำงานสัมผัสกับฟอสฟอรัสขาวเป็นเวลานานๆ นี้เอง ส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพของพวกเธอในเวลาต่อมา
โรค Phossy Jaw เคสแรกที่ได้รับการบันทึก เกิดขึ้นในเวียนนาในปีค.ศ.1838 (พ.ศ.2381) โดยผู้ป่วยคือคนงานหญิงในโรงงานไม้ขีด
ภายในปีค.ศ.1844 (พ.ศ.2387) แพทย์ในเวียนนาได้รายงานว่ามีการพบเคสของโรคนี้อีก 22 ราย ทำให้โรคนี้เริ่มเป็นที่จับตามอง
ที่สหรัฐอเมริกา แพทย์ชาวอเมริกันได้เริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับโรคนี้ในปีค.ศ.1857 (พ.ศ.2400) โดยกล่าวว่าอาการเริ่มแรกของโรคคืออาการเจ็บปวดที่กระดูกขากรรไกร ก่อนจะมีหนองที่เหงือก รายที่อาการหนักนั้นเนื้อเยื่อตายและทำให้สมองกระทบกระเทือนเลยทีเดียว
มีการประเมินว่าผู้ที่ใกล้ชิดกับฟอสฟอรัสขาวจำนวน 11% เป็น Phossy Jaw โดยในสหรัฐอเมริกา เพียงแค่ปีค.ศ.1909 (พ.ศ.2452) ปีเดียว ก็มีผู้ป่วยมากกว่า 100 รายแล้ว
แต่ถึงแม้สถานการณ์ของผู้ป่วยจะเลวร้าย แต่เจ้าของโรงงานก็ไม่สนใจที่จะปรับปรุง
1
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1888 (พ.ศ.2431) “แอนนี่ เบแซนต์ (Annie Besant)” นักเคลื่อนไหวทางสังคมที่เรียกร้องสิทธิสตรีชาวอังกฤษ ได้เขียนเล่าเรื่องราวความทุกข์ยากของคนงานหญิงในโรงงานไม้ขีด
แอนนี่ เบแซนต์ (Annie Besant)
เบแซนต์ได้เขียนถึงคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ของคนงานในโรงงานไม้ขีดไฟ รวมทั้งความน่ากลัวของ Phossy Jaw
นอกจากนั้น เธอยังเขียนถึงเรื่องค่าแรงคนงานที่ต่ำมาก อีกทั้งเจ้าของโรงงานยังมักจะหาเรื่องหักค่าแรงคนงาน
ในช่วงเวลานั้น หลายประเทศได้ทำการแบนฟอสฟอรัสขาวแล้ว หากแต่สหราชอาณาจักรก็ไม่ทำการแบนฟอสฟอรัสขาว โดยให้เหตุผลว่าการแบนฟอสฟอรัสขาวจะกระทบต่อการค้าเสรี
1
บทความของเบแซนต์นั้นโด่งดัง ทำให้เหล่าคนงานเริ่มตื่นตัว และเกิดปัญหาขึ้นระหว่าง “Bryant&May” ซึ่งเป็นโรงงานไม้ขีดในลอนดอน กับคนงานของตน
Bryant&May บังคับให้คนงานเซ็นว่าไม่เห็นด้วยกับบทความของเบแซนต์ หากใครไม่ยอมก็จะถูกไล่ออก
การกระทำของบริษัท ทำให้คนงานไม่พอใจเป็นอย่างมาก และทำให้คนงานกว่า 1,400 คนประท้วง หยุดงานในปีค.ศ.1888 (พ.ศ.2431) ซึ่งการประท้วงของคนงานก็เป็นที่สนใจของสื่อมวลชน และทำให้สังคมตื่นตัวมากขึ้น
คนงานหญิงในโรงงานไม้ขีด
แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนี้ รัฐบาลอังกฤษก็ยังไม่ยอมแบนฟอสฟอรัสขาว ก่อนจะต้องยอมสั่งปรับ Bryant&May ในปีค.ศ.1898 (พ.ศ.2441)
เมื่อเวลาผ่านไปอีกนับสิบปี ในที่สุด อังกฤษก็ทำการแบนฟอสฟอรัสขาวทั้งหมดในปีค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) หากแต่ในเวลานั้น เหล่าคนงานหญิงหลายรายก็ต้องประสบกับความทุกข์ทรมานจากโรคนี้
โฆษณา