26 ก.พ. 2021 เวลา 14:52 • ประวัติศาสตร์
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 10 บาท วาระ 1 และวาระ 2
จากที่ได้กล่าวถึงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนไว้ วันนี้เราจะมาต่อกันในเรื่องเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 10 กันครับ
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 10 บาท (สองสี) โดยใช้ ส่วนผสม ขนาด และน้ำหนัก เช่นเดียวกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 10 บาท ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยแต่ละเหรียญมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 26 มิลลิเมตร มีน้ำหนัก 8.5 กรัม วงขอบนอกมีเฟืองจักรสลับเรียบ
ปัจจุบันได้มีการประกาศออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดราคา 10 บาท แบบโลหะสองสีในราชกิจจานุเบกษา เนื่องในโอกาสต่างๆ ด้วยกัน ทั้งหมด 61 แบบ (61 วาระ) ในแต่ละวาระ ก็มีการออกแบบลวดลายของเหรียญที่แตกต่างกัน ดังนี้ครับ
1
1) เหรียญ 10 บาท ในวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคตอันมั่นคง
ผลิตในปีพุทธศักราช 2538
จำนวน 5,006,001 เหรียญ
เหรียญ 10 บาท ในวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคตอันมั่นคง
ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา
ทรงฉลองพระองค์ลำลองพร้อมกล้องถ่ายรูปและแผนที่
วงในของเหรียญ มีข้อความภาษาอังกฤษว่า "SUSTAINABLE DEVELOPMENT FOR A SECURE
FUTURE" กับ "FAO. WORLD FOOD SUMMIT. 1996"
1
วงนอกของเหรียญมีข้อความว่า "ประเทศไทย
THAILAND" และมีข้อความบอกราคาว่า 10 บาท
ด้านหลัง กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประทับอยู่ในนาข้าวท่ามกลางชาวนา วงในของเหรียญมีข้อความภาษาอังกฤษว่า "KING BHUMIBOL ADULYADEJ THAILAND" กับ "GOLDEN JUBILEE OF HIS MAJESTY'S REIGN"
1
วงนอกของเหรียญเบื้องบน มีข้อความว่า "เฉลิมพระเกียรติในการพัฒนาอย่างยั่งยื่นเพื่ออนาคตอันมั่นคง" เบื้องล่าง มีข้อความว่า "๖ ธันวาคม ๒๕๓๘" โดยมีตราสัญลักษณ์
งานฉลองสิริรชสมบัติ ครบ 50 ปี คั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง
1
2) เหรียญ 10 บาท ในวาระพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
ผลิตในปีพุทธศักราช 2539
จำนวน 181,490,000 เหรียญ
1
เหรียญ 10 บาท ในวาระพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ตรง ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
วงนอกของเหรียญ มีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร” และมีข้อความว่า “รัชกาลที่ ๙”
1
ด้านหลัง กลางเหรียญมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9 โดยมีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพิชัยมงกุฎ อยู่ด้านบน, พานเครื่องสูง 2 ชั้น, ช้าง 2 เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตรทั้งสองข้าง
1
วงนอกของเหรียญ มีข้อความ “ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี กาญจนาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙” และ “ประเทศไทย” เบื้องล่าง มีข้อความบอกราคาว่า “๑๐ บาท”
แต่ทราบหรือไม่ว่า เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 10 บาท ในวาระดังกล่าวนั้น มีการผลิตออกมาด้วยกัน 2 บล็อก
บล็อกที่ผลิตจากโรงกษาปณ์ไทย (บล็อกไทย)
บล็อกที่ผลิตจากโรงกษาปณ์อิตาลี (บล็อกอิตาลี)
1
ปีพุทธศักราช 2539 โรงกษาปณ์ไทย ผลิตได้จำนวน 2,800,000 เหรียญ (ปัจจุบันหายาก)
ปีพุทธศักราช 2540 โรงกษาปณ์ไทย ผลิตได้จำนวน 58,690,000 เหรียญ
ปีพุทธศักราช 2541 โรงกษาปณ์อิตาลี ผลิตได้จำนวน 120,000,000 เหรียญ
1
จุดแตกต่างด้านหน้า
จุดที่ 1 : ระยะห่างระหว่างสระ “อู” ของคำว่า ภูมิพลกับขอบเหรียญวงใน มีระยะห่างไม่เท่ากัน
บล็อกไทย จะอยู่ชิดกับขอบเหรียญวงใน ส่วนบล็อกอิตาลี จะมีระยะห่างมากกว่า
รูปความแตกต่างด้านหน้าจุดที่ 1
จุดที่ 2 : ระยะห่างระหว่างพระบรมรูปกับขอบเหรียญวงนอก มีระยะห่างไม่เท่ากัน
บล็อกอิตาลี จะอยู่ชิดกับขอบเหรียญวงนอก ส่วนบล็อกไทย จะมีระยะห่างมากกว่า และมีไม้เอกอยู่ที่ช่องว่างด้วย
1
รูปความแตกต่างด้านหน้าจุดที่ 2
จุดแตกต่างด้านหลัง
จุดที่ 1 :
ระยะห่างระหว่างยอดรัศมีของตราสัญลักษณ์กับขอบเหรียญวงนอก มีระยะห่างไม่เท่ากัน
บล็อกไทย จะมีระยะห่างมากกว่า บล็อกอิตาลี
รูปความแตกต่างด้านหลังจุดที่ 1
จุดที่ 2 :
– ระยะห่างระหว่างด้านล่างของแถบปลายแฉกสะบัดของตราสัญลักษณ์กับขอบเหรียญวงนอกมีระยะห่างไม่เท่ากัน
บล็อกไทย จะมีระยะห่างมากกว่า บล็อกอิตาลี
รูปความแตกต่างด้านหลังจุดที่ 2
ขอบคุณที่ติดตามครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา