27 ก.พ. 2021 เวลา 02:15 • หนังสือ
"""____ การให้ประกันตัว​ (ปล่อยตัวชั่วคราว)​ ของศาลอุทธรณ์นั้น​ ศาลได้เพิ่มเงื่อนไขในส่วนของ "" #การจำกัดการเดินทาง​ "" ด้วย​ #โดยห้ามผู้ต้องหาเดินทางออกนอกราชอาณาจักร​ เว้นแต่​ ได้รับอนุญาตจากศาลก่อน​ เป็นไปตาม​ ป.วิ.อาญา​ มาตรา​ ๑๐๘ วรรคท้าย
ซึ่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาล​ชั้นต้น​ """ #ทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง""" เพื่อบอกกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่า​ ผู้ต้องหาในส่วนนี้ศาลมีคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร​ #การแจ้งและประสานกันนี้น่าจะเป็นลักษณะการประสานงานและร่วมมือกัน ระหว่าง​ สำนักงานศาลยุติธรรม​ กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง​
ซึ่งในทางปฏิบัติ​ ถ้าหากผู้ต้องหาขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้มาขออนุญาตต่อศาลก่อน​ #ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็จะตรวจพบในขั้นตอนของ​ "" ขั้นตอนบันทึกข้อมูล​ เพื่อตรวจสอบเป้าหมายบัญชีเฝ้าดูและบันทึกข้อมูลการเดินทาง "" ถ้ามีหนังสือหรือคำสั่งของศาลก็จะตรวจพบได้​ และทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็จะประสานงานไปยังศาล​ ว่า​ ผู้ต้องหาขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล​ #ซึ่งเป็นไปตาม​ พรบ.คนเข้าเมือง​ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา​ ๑๒ และ​มาตรา​ ๑๘ และ​ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ​ ว่าด้วย​ ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี​ ในส่วนของการตรวจคนเข้าเมือง​
อนึ่ง​ หากมีการฝ่าฝืน​ขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร​โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน​ #อาจจะเป็นเหตุให้เชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี​ และตำรวจที่พบการกระทำหรืออยู่ใกล้ผู้ต้องหามากที่สุด อาจจะใช้อำนาจจับกุมตัวผู้ต้องหาคนดังกล่าวเพื่อส่งไปยังศาลได้​ เป็นไปตาม​ ป.วิ.อาญา​ มาตรา​ ๑๑๗ วรรคหนึ่ง
#ปัจจุบัน​ ศาลยุติธรรมมีกองกำลังพิเศษ​ เรียกว่า​ "#เจ้าพนักงานตำรวจศาล"
(Court​ Marshal) ซึ่งหนึ่งในหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล​ คือ​ #การติดและจับกุมตัวผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลแล้วหลบหนีหรือจะหลบหนี ซึ่งเป็นไปตาม​ พรบ.เจ้าพนักงานตำรวจศาล​ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา​ ๕ (๔) (๕) โดยหากได้รับการประสานจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง​ ศาลก็อาจจะส่งเจ้าพนักงานตำรวจศาล​ ไปทำการจับกุมหรือรับตัวกลับมาที่ศาลก็ได้​
#ฉะนั้น​ เมื่อได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลแล้ว​ หากศาลกำหนดเงื่อนไขอย่างใดๆ​ ก็ต้องปฏิบัตอตามโดยเคร่งครัด​ ____"
#คดีโลกคดีธรรม
โฆษณา