Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชาณ เรืองรุ่ง แม่ศรีเรือนกรุ๊ป
•
ติดตาม
27 ก.พ. 2021 เวลา 04:06 • ความคิดเห็น
2/4 ความคิดดีดีมีให้รวยได้ง่ายๆเรื่องความสำเร็จสร้างได้ ตอนโอกาสมาพร้อมกับกฎ 10,000 ชั่วโมง
กฎ หมายถึงทฤษฎี ที่ใช้อธิบายตามกรอบแนวคิดที่พิสูจน์แล้วยอมรับว่าเชื่อถือได้ คาดการณ์ได้ เช่นกฎว่าด้วยพระอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออกตกทางทิศตะวันตก กฎว่าด้วยแรงโน้มถ่วง คนท่ีกระโดดลงจากดาดฟ้าตึกสูง100 ชั้นจะเปลี่ยนใจเมื่อถึงชั้นท่ี50 พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถทำได้บนโลกใบนี้ เป็นต้น
คุณรู้หรือเปล่าครับว่า ใครเป็นคนเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่ของซอฟแวร์ท่ีช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ อย่างง่ายดาย?
คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งใดๆท่ีคุณทำบนโลกใบนี้ คุณก็จะเก่ง ร่ำรวยและโด่งดัง ไม่แพ้มหาเศรษฐีใดๆถ้าคุณได้ผ่านกฎการทำซ้ำ 1 หมื่นชั่วโมง เหมือนๆ กันกับ บิลเกตุ บิลจอย หรือสติฟ จ๊อป หรือวงดนตรีชื่อดังแบบเดอะบิสเทิ้ล หากคุณมุ่งมั่น ตั้งใจ ลงมือทำเรื่องใดๆสักเรื่องหนึ่งอย่างจริงๆจังๆ จนผ่านระยะเวลาท่ีครบของกฎ 10,000 ชั่วโมง
ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์หลายๆล้านเครื่องทั่วโลกท่ีใช้งานอยู่ปัจจุบันนี้ ถ้าคุณเปลี่ยนหน้าจอเครื่องแม็กให้เป็นระหัส พรืด ๆ ก็จะได้เห็นในสิ่งท่ีผมพิมพ์ลงไปเมื่อ 35 ปีที่แล้วเขาคือ”บิล จอย “ นั่นเอง
จอยจบจากเบิร์กเลย์ เขาได้ร่วมก่อตั้งบริษัท ซ้นไมโครซิสเต็ม ในซิลิคอนวัลเลย์ เป็นหนึ่งในบริษัทที่ปฏิวัติวงการคอมอพิวเตอร์ จอยได้รับการยกย่องว่าเป็นเอดิสันแห่งโลกอินเตอร์เน็ต นักวิชาการจากเยลให้ฉายาจอยว่า “ผู้ทรงอิทธิพลมากท่ีสุดในหน้าประวัติศาสตร์ของวงการคอมพิวเตอร์ยุคใหม่”
เรื่องเล่าเกี่ยวกับอัจฉริยภาพของบิลจอย ได้ถูกเล่าขานนับครั้งไม่ถ้วน แต่ความเข้าใจและความเชื่อก็คงเหมือนเดิมทุกครั้งๆ โลกใบนี้เชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความสามารถของตัวบุคคลเองล้วนๆ และเชื่อว่าโลกแห่งการเขียนโปรแกรมไม่ได้ขับเคลื่อนผ่านระบบพวกพ้องซึ่งคุณจะก้าวล้ำหน้าคนอื่นได้ด้วยเงินหรือสายสัมพันธ์อันหนาแน่นแต่เป็นสนามที่เปิดกว้างสำหรับผู้เรียนทุกรายและจะตัดสินกันที่ความสามารถและความสำเร็จเท่านั้น. นี่คือที่ ที่ชัยชนะเป็นของคนเก่งสุดๆ จอยก็เป็นหนึ่งในคนเก่งที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ความจริงแล้วกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เพราะเรื่องราวเหล่านั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพวกตัวแปลกแยกหลายวงการก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพของตนได้โดยผ่าน ส่วนผสม 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
ความสามารถ
โอกาส และ
ความได้เปรียบที่ได้มาอย่างไร้เหตุผล
ตอนอายุ16 จอย ได้รับการโหวตให้เป็นนักเรียนที่ขยันที่สุดจากมัธยมฟาร์มิงตั้น หลังจากเข้ามหาลัย ตอนแรกเค้าคิดว่าตัวเองเหมาะกับนักชีวะวิทยาหรือนักคณิตสาตร์ แต่ช่วงปลายปีของมหาลัยปีแรก เค้าบังเอิญพบกับศูนย์คอมพิวเตอร์และรู้สึกหลงใหล
คุณรู้หรือไม่ว่าแบบแผนของการได้รับโอกาสพิเศษนั้นเกิดขึ้นกับชีวิตจริงๆทุกๆอาชีพไม่ใช่แค่โลกแห่งการกีฬาเพียงอย่างเดียว
คำถามที่สงสัยก็คือพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดนั้นมันมีอยู่จริงหรือไม่
คำตอบที่โจ่งแจ้งก็คือใช่แต่เป็นเพียงบางส่วนที่มีพรสวรรค์ติดตัวมาแต่กำเนิดเท่านั้น เพราะความสำเร็จเกิดจากความสามารถกับการฝึกฝน
แต่ปัญหาของการศึกษามุมมองใหม่นี้ ก็คือ พรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดแทบจะไม่มีบทบาทเลย ขณะที่การฝึกฝนกลับมีบทบาทมากขึ้นต่างหาก
มีหลักฐานยืนยัน จากนักจิตวิทยา แอนเดรส์ อีริกสัน
เขาศึกษานักไวโอลีนจากสถาบันเบอร์ลิน ชื่อก้องโลก โดยแบ่งนักไวโอลีน เป็น 3กลุ่ม
กลุ่มแรก เป็นพวกดาวรุ่งซึ่งมีโอกาสขึ้นบรรเลงเพลงเดี่ยวระดับโลก
กลุ่มที่ 2 เป็นเพียงนักไวโอลินฝีมือดี
กลุ่มท่ี3 เป็นนักเรียนท่ีไม่น่าจะเล่นระดับอาชีพ และเป็นแค่ความตั้งใจเป็นครูสอนระดับโรงเรียนรัฐ
ทั้ง 3 กลุ่มถูกถามคำถามเดียวกันคือ”ตลอดชีวิตนักไวโอลินของคุณตั้งแต่เริ่มจับไวโอลินเป็นครั้งแรกคุณได้ฝึกซ้อมไปกี่ชั่วโมงแล้ว”
โดยเลือกคนท่ีเริ่มเล่นไวโอลิน มาตั้งแต่ 5 ขวบทุกๆคน ผลปรากฎว่า
นักเรียนดาวรุ่งที่พร้อมเป็นอันดับหนึ่ง มีการฝึกซ้อมมากขึ้น ตามอายุท่ีมากขึ้น จาก2-3ชม./สัปดาห์ เพิ่มเป็น 30ชม./สัปดาห์ เมื่ออายุถึง 20 ปี รวมฝึกซ้อมเกิน 10,000 ชั่วโมง
ในทางกลับกันกลุ่มสุดท้ายที่ตั้งใจจะเป็นเพียงครูสอนดนตรี ฝึกซ้อมเพียง 4000 ชั่วโมงเมื่อนับถึงอายุ 20
ในขณะท่ีกลุ่มที่ 2 มีจำนวนชั่วโมงฝึกซ้อมประมาณ 8 พันชั่วโมงเมื่อนับถึงอายุ 20
ในขณะเดียวกันเขาก็ศึกษาวิจัยนักเปียนโนแบบเดียวกัน ก็ได้ผลไปในทิศทางเดียวกัน
ประเด็นท่ีน่าสนใจท่ีสุดท่ีต้องรู้และจดจำก็คือ “เขาไม่พบคนท่ีเก่งมาแต่เกิดแม้แต่คนเดียว”
ประเด็นท่ีน่าสนใจอีกอย่างคือ “เขาไม่พบ”คนบ้าซ้อม” ท่ีไม่ประสบความสำเร็จแม้แต่คนเดียว”
ปัจจัยท่ีแบ่งแยกอย่างชัดเจนก็คือ คนท่ีก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด ไม่ใช่แค่ทุ่มเทฝึกซ้อมหนักกว่าคนอื่น แต่พวกเขาทุ่มเทฝึกซ้อมหนักกว่าคนเหล่านั้นอย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียว
นั่นคือกฎ 10,000ชั่วโมงนั่นเอง
แดนเนียล เลวิติน นักประสาทวิทยา ได้ทำการศึกษาแนวทางเดียวกัน เกือบทุกๆอาชีพ ทั้งนักธุรกิจ กีฬา อาชญากร นักเขียนฯ เขาพบว่า ยังไม่เคยพบผู้เชี่ยวชาญ คนใดท่ีประสบความสำเร็จจากการทุ่มเทน้อยกว่า เลวิติน กล่าวว่า ดูเหมือนสมองต้องใช้ระยะเวลายาวนานประมาณนั่นจึงจะซึมซับบางสิ่งบางอย่างท่ีจำเป็น ต้องรู้ เพื่อเกิดความชำนาญอย่างแท้จริง
เช่นเดียวกันกับโมสาร์ท ได้เริ่มแต่งเพลงตั้งแค่ 6ขวบ เขาได้ประพันธ์เพลงต่อเนื่องจนอายุ20 ปี
ดังนั้น ทีม ฮ๊อกกี้ในประเทศแคนาดาจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรเลย อัจฉริยะบุคคลที่เกิด ช้ากว่าจึงไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทีมรวมดาราตอนที่อายุประมาณแปดขวบเพราะตัวเล็กเกินไปดังนั้นเขาจึงไม่ได้รับการฝึกฝนแบบพิเศษเมื่อปราศจากการฝึกฝนแบบพิเศษเขาย่อมไม่มีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย 10,000 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลาที่ทีมฮอกกี้อาชีพเริ่มมองหาตัวผู้เล่นและเมื่อปราศจากการฝึกซ้อมนานกว่าหนึ่งหมื่นชั่วโมงก็ไม่มีทางที่จะมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนในระดับสูง
สิ่งท่ีเป็นเรื่องน่าขบคิดอีกเรื่องหนึ่งคือ เวลา 10,000 ชั่วโมงหรือเป็นเวลามหาศาลเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะบรรลุเป้าหมายด้วยตัวเองเพียงลำพัง
เมื่อคุณก้าวเข้าสู่วัยรุ่น คุณจำเป็นต้องมีพ่อแม่คอยให้กำลังใจกับสนุนและคุณยังห้ามมีฐานะยากจนด้วย ไม่มีใครมีเวลาเหลือเพียงพอจะฝึกซ้อมถ้าไม่มีช่องทางพิเศษหรือมุ่งมั่นจริงๆ คนท่ีสำเร็จได้ส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมโครงการพิเศษต่างๆ ซึ่งเป็นลู่ทางผลักดัน ให้สำเร็จได้เร็ว
บิล จอย เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ตั้งแต่ 6 ขวบ เป็นเหมือน ๆ กับคนเก่งๆหลายร้อยคนในMIT ถึงเวลาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้คะแนนเต็มคณิตศาสตร์ ”มันไม่ได้ยากอะไรเลย” เขากล่าว
ความสามารถมากมายมหาศาลของบิล จอยไม่ใช่สิ่งเดียวที่สำคัญ และ ไม่มีวันจะเป็นเช่นนั้น ถ้ากุญแจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอาชีพของเขาคือการที่เขาไปพบอาคาร สุด แสนธรรมดาบนถนน บีล Avenue
ช่วงปี 1960 ระบบคอมพิวเตอร์พัฒนาไปมากกว่าการเจาะบัตรเพื่อวิเคราะห์ผล ทำให้การพัฒนาโปรแกรมเมอร์ใช้เวลาทำงานแบบแบ่งปันเวลา ได้ผลลัพธ์ออกมาให้เห็นตามเวลาท่ีต้องการ เขาเกิดหลงไหลการเป็นโปรแกรมเมอร์ในขณะท่ีมหาลัยมิชิแกนมีศักยภาพเพียงพอท่ีจะให้คน100 คนเขียนโปรแกรมพร้อมๆกัน และวิเคราะห์ผลลัพธ์แบบเรียลไทม์
“คุณรู้หรือเปล่าว่าระบบแบบบัตรเจาะรูกับระบบแบบแบ่งปันเวลาแตกต่างกันอย่างไร มันก็เหมือนกับการเล่นหมากรุกทางไปรษณีย์กับการเล่นหมากรุกแบบสดๆนั่นแหละ การเขียนโปรแกรมมันจึงมาพร้อมกับความสนุกสนาน” บิลจอยกล่าว
“ศูนย์คอมพิวเตอร์ก็อยู่ที่เขตเหนือด้วย ผมใช้เวลาอยู่ที่นั่นมากเท่าไหร่ น่ะ หรือ ? นานสุดๆเลย มันเปิดตลอด 24 ชั่วโมงผมก็อยู่ที่นั่นตลอดทั้งคืนและเดินกลับบ้านในตอนเช้าในแต่ละสัปดาห์ผมใช้เวลาอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์มากกว่าในชั้นเรียนด้วยซ้ำ จนลืมเวลาลงทะเบียนอีกต่างหาก
“ผมเขียนโปรแกรมอย่างเอาจริงเอาจังตอนอยู่ปีสอง” “งั้นถ้ารวมแล้วน่าจะประมาณ 10,000 ชั่วโมง เขากล่าวขึ้นมา ในที่สุด” ไม่ว่าจะเป็นบิล จอย เขาได้ทำการศึกษาประวัติของ บิล เกตุ นักร้องชื่อดังวงเดอะบิสเทิล
◦ พวกแปลกแยกทั้งหมดที่ได้ผ่านตาเรามาจนถึงตอนนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากโอกาสที่ไม่ธรรมดา ความโชคดีที่บังเอิญผ่านเข้ามาในชีวิตของอภิมหาเศรษฐีด้านซอฟต์แวร์วงดนตรีร็อค หรือนักกีฬาชื่อดัง
◦ ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นเพียงข้อยกเว้นแต่มันดูเหมือนเป็นกฎมากกว่า พวกแปลกแยกได้รับประโยชน์จากโอกาสที่ซ่อนเร้นที่เข้ามาในจังหวะที่พอดี
◦ ถ้าเดือนมกราคมปี 1975 เป็นจุดเริ่มต้นของยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้วคำถามก็คือใครจะอยู่ในสถานะที่ดีที่สุดที่จะได้รับประโยชน์จากมันหลักการที่นำมาใช้กับยุคดังกล่าวก็คือหลักการเดียวกันกับที่ใช้ในยุคของจอห์น ล็อคกี้ เฟลเลอร์และแอนดิว คาร์เนกี้ ความหมายก็คือถ้าคุณมีอายุมากเกินไป ในปี 1975 เช่นได้ทำงานที่ไอบีเอ็มไปแล้วหลังเรียนจบเมื่อเริ่มทำงาน ความยากลำบากในการปรับตัวเองสู่โลกใหม่ก็ยากเพราะไอบีเอ็มใช้เครื่องเมนเฟรมถ้าคุณเป็นส่วนหนึ่งของมันคุณก็จะคิดว่าทำไมต้องไปวุ่นวายกับคอมพิวเตอร์เล็กๆที่น่าสมเพชจึงถูกปิดกั้นปิดหูปิดตา เพราะเชื่อว่าเมนเฟรมเป็นเพียงอนาคตเดียวของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์พวกเขาจึงคิดเพียงความเป็นอยู่ที่ดีก็เพียงพอเพียงแต่ไม่มีโอกาสกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับโลกใบนี้
ในขณะเดียวกันถ้าคุณเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ช่วงต้นของขบวนการในปี 1975 พูดง่ายๆ ก็คือเมื่อถึงปี 1975 อายุเหมาะสมที่สุดที่จะต้องแก่พอที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติซึ่งกำลังจะมาถึงแต่ต้องไม่แก่จนพลาดโอกาสนั้นไป ถ้าจะให้ดีที่สุดคุณต้องมีอายุ 20 ถึง 21 หรือพูดอีกอย่างก็คือคุณจะต้องเกิดในปี 1954 ถึง 1955 นั่นเอง
วิธีง่ายๆที่จะทดสอบว่า ทฤษฎีนี้ใช้ได้ผลไหมก็ลองดูปีเกิดของบิล เกตุ เขาเกิดปี 1955
นี่เป็นวันเดือนปีเกิดที่เหมาะเหม็งเลยเปรียบเสมือนนักฮอกกี้ที่เกิดวันที่ 1 มกราคมพอดีเพื่อนซี้ของบิล เกต คือพอล อัลเลน เค้าเองก็ไปขลุกอยู่กับเกต ที่ห้องคอมพิวเตอร์และยังใช้เวลาช่วงหลังเลิกเรียนอันยาวนานร่วมกันที่ไอเอสไอและ ซีคิว แล้วจากนั้นอัลเลนยังเดินหน้าก่อตั้ง Microsoft ร่วมกับบิล เกด ด้วยปีเกิด 1953
สติป จ๊อกเกิด 24 กุมภาพันธ์ 1955 หนังสืออัตชีวประวัติ ในช่วงวัยเด็กเขามีประสบการณ์ในการทำงานมาเกิน 1 หมื่นชั่วโมง ประกอบกับจังหวะท่ีเขาได้งานเกี่ยวกับประกอบคอมพิวเตอร์และเขาถึงกับหลงไหลอย่างมากจนออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง
จะเห็นได้ว่า. ความสำเร็จ ต้องเกิดจากการบ่มเพาะในเรื่องนั้นๆให้นานเพียงพอและทุกๆคนก็ผ่านกฎ 10,000ชั่วโมงในเรื่องนั้นๆ มาเช่นเดียวกัน รู้แล้วใช่ไหมว่า ความลับของคนสำเร็จ คือการผ่านกฎการทำซ้ำและลับคมของประสาทสัมผัสด้วยการฝึกฝนอย่างล้ำลึกให้นานเพียงพอนั่นเอง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย