27 ก.พ. 2021 เวลา 04:38 • การศึกษา
คนที่ชอบดูถูกเทคนิคการออม มักเป็นคนที่ไม่เคย "ลงมือทำ" จริง
ถ้าพูดถึงเรื่องการออมเงิน เรามักจะเห็นมีคนแนะนำเทคนิคการออมมากมาย อย่างการ หักออมก่อนใช้ 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทุกเดือน, การออมตามวันที่ของปี เช่น วันที่ 1 ออม 1 บาท วันที่ 10 ออม 10 บาท วันที่ 100 ออม 100 บาท หรือ เทคนิคการออมแบบ 10+1 ที่จะทำให้คุณมีเงินเก็บ 7 หมื่นบาท ภายใน 1 ปี
โดยการเก็บเงินทุกวัน เริ่มต้นจากวันละ 10 บาทในวันแรกของปี จากนั้นต้องเพิ่มจำนวนเงินเก็บเข้าไปวันละ 1 บาท เช่น
- วันแรก เก็บ 10 บาท
- วันที่สอง เก็บ 11 บาท
- วันที่สาม เก็บ 12 บาท
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่หยุด
- วันที่ 30 เราจะมีเงินเก็บสะสม 735 บาท
- วันที่ 60 เราจะมีเงินเก็บสะสม 2,370 บาท
- วันที่ 90 เราจะมีเงินเก็บสะสม 4,905 บาท
- วันที่ 120 เราจะมีเงินเก็บสะสม 8,340 บาท
- วันที่ 180 เราจะมีเงินเก็บสะสม 17,910 บาท
และในวันสิ้นปี เราจะมีเงินเก็บสะสม 70,080 บาท
1
อย่างไรก็ตาม ผมมักจะเห็นคนมาแสดงความคิดเห็นกับเทคนิคการออมเงินเหล่านี้ประมาณว่า “วันที่ 180 ต้องเก็บเงิน 170 บาท แล้วคนที่ได้ค่าแรงแค่วันละ 300 บาท ควรเก็บยังไง ในเมื่อต้องเก็บมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินได้”
บ้างก็บอกว่า “เป็นเรื่องมโนทั้งนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ จะเหลือเก็บแบบนี้ต้องรายได้เท่าไรกัน คนที่จะเก็บเงินเฉลี่ยเดือนละประมาณ 6,000 ได้ เงินเดือนไม่ใช่ค่าแรงขั้นต่ำแล้ว”
1
ซึ่งส่วนใหญ่คนที่คิดแบบนี้ มักเป็นคนที่ไม่เคยเริ่มต้นออมเงินเลย ยังไม่ทันได้ลอง “ลงมือทำ” ด้วยตัวเอง ก็ตัดสินไปแล้วว่ามันคือเรื่องมโน
ในทัศนะของผม การออมเงิน ไม่ใช่เเค่เรื่องของ การออมเงิน แต่มันเป็นเรื่องของ “นิสัย” และ “วิธีคิด” เกี่ยวกับเงินต่างหาก
คือ ถ้าเราเก็บได้ทุกวัน นิสัยการใช้เงินจะเปลี่ยนไป วิธีคิดจะกว้างไกลมากขึ้น ในวันที่ 180 คนที่เคยได้ค่าเเรง 300 เขาอาจจะไม่ได้เเค่ 300 แล้วก็ได้ เพราะคนเราพอมีเงินออม สมองมันจะคิดได้มากกว่า ทำงานค่าเเรง 300 นะ
1
จากประสบการณ์ออมเงินผม ผมได้ค้นพบว่า สิ่งที่ยากที่สุดของการออมเงินคือ การ “เริ่มต้น” ออมเงินให้มันได้เป็น “ก้อนแรก” ผมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะเก็บเงิน 10,000 บาท แรกได้
แต่คุณเชื่อไหมว่า พอเราเก็บก้อนแรกได้ เราจะเริ่มเห็นความมหัศจรรย์ของเงิน เราจะเริ่มเห็นว่าเงินมันมีความสามารถในการดึงดูดเงินที่อยู่ใกล้ๆ เข้ามาได้ ยิ่งเงินก้อนนั้นมีจำนวนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้พลังของแรงดึงดูดสูงขึ้นเท่านั้น
คำถาม คือ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ?
คำตอบของผม คือ
1) เมื่อเราออมเงินได้จำนวนหนึ่ง เราจะเห็นความแตกต่างจากเงินที่เคยอยู่อย่างกระจัดกระจาย กลายเป็นเงินก้อนให้เราเห็นชัดเจน และเมื่อมันเป็นก้อน เงินก็จะ “ไหลออก” ยากขึ้น
เหมือนเวลาเรามีแบงค์ 1,000 ในกระเป๋า ถ้าเราไม่ใช้จ่าย มันก็จะยังเป็นแบงค์ 1,000 อยู่ได้เป็นระยะเวลาที่นานบางทีอาจอยู่ได้เป็นเดือน แต่เมื่อไหร่ที่เราแตกแบงค์ 1,000 นั้น จะพบว่าเงินจะไหลออกไปเร็วมากภายในเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง
2
2) เงินก้อนก็เหมือนลูก เราจะอยากเห็นมันเติบโตทุกวัน พอเรามีเงินก้อน วิธีการใช้จ่ายเราจะเริ่มเปลี่ยนไป อะไรที่ไร้สาระเราจะระวังขึ้น หรือ จากแต่ก่อนเวลาเห็นเศษเหรียญเราจะมองข้าม แต่เมื่อเรามีเงินก้อน เราจะเก็บเศษเหรียญนั้นมาเพิ่มในเงินก้อนอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนตัวผมจะมีเงินอยู่บัญชีหนึ่ง ผมตั้งชื่อมันว่าบัญชี “ดูดเงิน” บัญชีนี้ถ้าไม่มีเรื่องคอขาดบาดตาย ผมจะไม่มีทางถอนมันออกมาเด็ดขาดตลอดชีวิต เพราะเงินในบัญชีนี้จะคอยทำหน้าที่ดูดเงินเข้ามา ซึ่งตั้งแต่ผมมีบัญชี ดูดเงิน นี้ ผมก็มีเงินไหลเข้ามาอย่างง่ายดายทุกวัน
3
3) วิธีการใช้เงินของเราจะเริ่มเปลี่ยน คุณจะเริ่มจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ เวลาจะใช้จ่ายเราจะคิดมากขึ้น จากเดิมเวลาจะจ่ายเงินเราจะไม่ค่อยคิดว่าเราจ่ายไปกับอะไร แต่พอเรามีเงินเก็บ เราจะเริ่มคิดแล้วว่า สิ่งที่จ่ายออกไป คือ การบริโภค หรือ การลงทุน
พูดง่ายๆ คือ คิดทุกครั้งว่าจ่ายแล้วคุ้มไหม จ่ายแล้วเงินละลายหายไป หรือ จ่ายแล้วมีโอกาสได้ผลตอบแทนกลับมา
4) มีความมั่นใจมากขึ้น เพราะเวลามีเงินออม เราจะกล้าเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆ จากเดิมตอนไม่มีเงินออม เราจะไม่กล้าไปทำอะไรใหม่ๆ เพราะถ้าเกิดพลาดขึ้นมา เราอาจจะเดือดร้อนได้ แต่เมื่อมีเงินออมเราจะกล้าลองทำงานใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากงานที่เราทำอยู่ปัจจุบันมากขึ้น เพื่อโอกาสในการเพิ่มรายได้
5) นอกจากเราจะกล้าลองทำงานใหม่ๆ แล้ว การเงินออมจะทำให้เรามีต้นทุนในการต่อยอดเพื่อเริ่มต้นทำงานใหม่ที่มีรายได้เพิ่มได้ง่ายขึ้น โอกาสที่เราจะมีรายได้มากกว่าเดิมก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเริ่มมีเงินเก็บสัก 20,000 คุณคงไม่อยากทำงานรับค่าแรง 300 แล้ว คุณจะเริ่มมองหาช่องทางมากขึ้น จากเดิมทำงานเลิก 5 โมง ก็กลับบ้านนอน คุณอาจจะเริ่มมองหางานเสริมโดยการไปซื้อเสื้อผ้าตัวละ 10 บาท จากตลาดนัดมาลองโพสต์ขายในกลุ่มเฟซบุ๊กสักตัวละ 30 บาท หลังเลิกงาน อย่างน้อยก็ได้กำไร 20 บาท ทำให้มีรายได้มากขึ้น
แล้วเมื่อคุณมีกำไรจากการขายของ มันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่คุณจะสามารถขยับไปขายสินค้าที่มีกำไรมากขึ้น เพราะคุณมีต้นทุนที่จะลองทำอะไรใหม่ๆ
ยิ่งเรามีเงินเก็บมากเท่าไหร่ ความเหนื่อยยากในการหาเงินก็ของเราก็จะน้อยลงเท่านั้น
- ถ้าการเก็บเงิน 10,000 บาท เราต้องเหนื่อยระดับ 10
- การเก็บเงินให้ได้ 30,000 บาท ความเหนื่อยเราจะลดลงเหลือระดับ 9
- การเก็บเงินให้ได้ 50,000 บาท ความเหนื่อยเราจะลดลงเหลือระดับ 8
- และ การเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท ความเหนื่อยเราจะลดลงเหลือระดับ 6
ยิ่งมีเงินเก็บ “มากขึ้น” เท่าไหร่ ระดับความยากและความเหน็ดเหนื่อยที่จะหาเงินเพิ่มก็จะ “น้อยลง” เท่านั้น เพราะเงินเก็บที่เรามี จะเป็นต้นทุน และ กำลังเสริมที่ช่วยให้เราหาเงินต่อไป
1
เห็นไหมว่าเมื่อคนเรามีเงินเก็บ จะทำให้เรามี “วิสัยทัศน์” มากขึ้น มองได้ไกลขึ้นว่าเดือนหน้า ปีหน้า เราจะทำอะไรบ้างเพื่อ “พัฒนาชีวิต” ของตัวเอง
แต่ถ้าวันนี้ไม่มีเงินเก็บเลยสักบาท ความคิดของเราก็จะอยู่แค่ “วันนี้ ” จะกินอะไร “พรุ่งนี้” จะทำยังไง ให้ตัวเองยังอยู่รอดก็เท่านั้น ไม่มีทางไกลไปจากนี้
1
ผมถึงบอกว่า ถ้าลองเริ่มต้นออมเงินวันละเล็กละน้อย ในวันที่ 180 คนที่เคยได้ค่าเเรง 300 เขาอาจจะไม่ได้เเค่ 300 แล้วก็ได้นะครับ
2
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่…
- บริหารเงินไม่เป็น จนไม่มีเงินเก็บ
- โดนคนอื่นเอาเปรียบเรื่องเงินเป็นประจำ
- อยากลงทุน แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร
1
หนังสือเล่มนี้ มีคำตอบ “จงคบค้ากับความร่ำรวย”
ราคา 325 บาท รวมส่ง
วิธีการสั่งซื้อ
2.กด “สั่งซื้อ”
3.เลือกจำนวน และ กด “ยืนยันคำสั่งซื้อ”
จากนั้น ชำระเงิน ตามเลขบัญชีที่ให้ไว้ใน Inbox
โฆษณา