19 มี.ค. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
เรืออาหรับ1200ปีปรากฎที่สมุทรสาครบ่งบอกอะไร
ที่มาของแหล่งค้นพบ
เดือนกันยายน ปี พ.ศ.2556 ที่ดินของนายสุรินทร์
และนางพนม ศรีงามดี ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 6
ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร
ระหว่างการขุดดินเพื่อปรับพื้นที่เตรียมการสำหรับ
ทำบ่อเลี้ยงกุ้ง ระหว่างการปรับพื้นที่ได้พบเรือไม้
ขนาดใหญ่ความยาวกว่า 20 เมตร จมอยู่ในดินเลน
ด้วยลักษณะพลิกตะแคงสร้างความแปลกใจ
เป็นอย่างมาก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่ม
ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลถึง 7.5 กิโลเมตร
โดยลักษณะของเรือมีความแตกต่างจาก
เรือประมงทั่วไปจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
ทางท้องถิ่นจึงได้แจ้งให้กรมศิลปากรเข้าทำการสำรวจ
เมื่อกรมศิลปากรทำการขุดค้นปรากฎว่าเป็นเรือโบราณ
ทางเจ้าของที่ดินที่ยกที่ดินบริเวณดังกล่าวให้กับทาง
กรมศิลปากรเพื่อทำการขุดค้นและสำรวจต่อไป
ทางกรมศิลปากรจึงตั้งชื่อแหล่งที่พบเรือนี้ตามชื่อ
ของเจ้าของที่ดินเพื่อเป็นอนุสรณ์จึงตั้งชื่อแหล่งขุดค้น
นี้ว่า "พนมสุรินทร์" (แหล่งเรือจมวัดสุทธิวราวาส)
1
ตามประวัติและการขุดค้นพบ เรือโบราณพนม-สุรินทร์
อายุราว พ.ศ. 1200-1300 ขุดพบในนากุ้ง
ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
นับเป็นหลักฐานแหล่งเรือจมมีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่
เคยมีการค้นพบแหล่งเรือจมในประเทศไทย
และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นลักษณะเรือสำเภาขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ลักษณะ
เรือเป็นเรือที่เคยมีการค้นพบมาก่อนซึ่งมีลักษณะเรือ
แบบเดียวกันที่แหล่งเรือโบราณควนธานี อำเภอกันตัง
จังหวัดตรัง
1
"ทำไหมจึงเป็นเรือสินค้า"
เนื่องจากการขุดค้นภายในบริเวณที่พบเรือยังพบ
สิ่งของเครื่องใช้สอยต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือภาชนะ
ดินเผาลักษณะคล้ายไหก้นแหลมเรียกว่า
"แอมฟอร่า" อย่างที่ชาวโรมันใช้สำหรับบรรจุสินค้าของเหลว เช่น ไวน์ หรือน้ำมัน นอกจากนั้นยังพบเครื่องถ้วยจีนและภาชนะดินเผาสมัยทวารวดีอีกเป็นจำนวนมากมีการวางเรียงซ้อนโดยเครื่องถ้วยดังกล่าวปรากฎอักษรอาหรับบนชิ้นส่วนภาชนะดินเผาโดยรูปแบบภาชนะดินเผาที่พบมีทั้งรูปแบบและอักษรที่มีแหล่งแหล่งผลิตจากจีน และตะวันออกกลางรวมไปถึงภาชนะในท้องถิ่นจึงเชื่อได้ว่าน่าจะเป็นเรือสำหรับขนส่งสินค้าเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนในภูมิภาคแถบนี้เมื่อ1200ปีมาก่อน
ข้อสันนิษฐาน "เรือนี้เดินทางมาจากไหน"
ถ้าดูจากลักษณะการต่อเรือโดยดูจากหลักฐานที่พบ
ผลการขุดค้นทางโบราณคดีเบื้องต้นพบไม้ทับกระดูกงูกลางลำเรือมีความยาว 17.65 เมตร ด้านล่างบากเป็นร่องสลับกัน สำหรับวางทับกงเรือ ชิ้นส่วนไม้บนตัวเรือใช้เชือกสีดำผูกร้อยยึดแผ่นไม้ให้ติดกันแทนการใช้ลิ่มหรือน็อต
บางแผ่นเจาะรูตรงกลางแผ่นเพื่อร้อยเชือก
เพิ่มความแข็งแรง พบเสากระโดงเรือ 2 เสา เสาแรกพบอยู่ทางทิศตะวันตกของเรือมีความยาว 17.37 เมตร
ตรงหัวเสาเจาะช่องสี่เหลี่ยม ด้านในมีรอกกลมทำด้วยไม้ติดอยู่ ส่วนโคนเสาบากเป็นแท่งสี่เหลี่ยม สันนิษฐานว่าเป็นเดือยใช้สำหรับติดตั้งบนฐานเสาเรือ
เสากระโดงเรืออีกเสาพบอยู่นอกตัวเรือทางทิศตะวันออก โคนเสาด้านหนึ่งบากเป็นสี่เหลี่ยม อีกด้านหนึ่งเป็นครึ่งวงกลม ทั้งยังพบเชือกหวายขนาดยาวพันอยู่ที่โคนเสาด้วยซึ่งเป็นเทคโนโลยีการต่อเรือแบบโบราณของชาวอาหรับ
แสดงหลักฐานการเดินทางข้ามทวีปจากตะวันออกกลาง
ผ่านอินเดียมายังภูมิภาคเเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง
ต้นพุทธศตวรรษที่11ซึ่งหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่า
บริเวณที่พบเรือในสมัยเมื่อพันปีก่อนเป็น
แม่น้ำท่าจีนโบราณที่ยังเชื่อมเป็นทางน้ำเดียวกันกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการที่เรือหันหัวเรือไปทางใต้ แสดงให้เห็นว่าได้เกิดอุบัติเหตุอับปางลงในขากลับออกจากการค้าขายในเมืองท่าสมัยทวารวดีแล้วถูกทับถมจากดินตะกอนเนิ่นนานนับพันปีก่อนจะถูกค้นพบในปัจจุบัน
ข้อยืนยันถึงความเจริญและการตั้งถิ่นฐานของคนใน
ภูมิภาคแถบนี้มีมากว่า 1200ปีแสดงว่าย่านนี้เป็น
ย่านการค้ามาตั้งแต่โบราณก่อนที่ระดับนํ้าทะเลจะถอย
จนกลายเป็นแผ่นดินในปัจจุบันอาจจะกินพื้นที่ถึง 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาครและสมุทรสงครามโดยตามข้อมูลบางแหล่งก็ว่าอาจจะลึก
ไปถึงนครปฐม เนื่องจากมีการค้นพบซากเรืออาหรับในยุคสมัยเดียวกันกับเรือพนมสุรินทร์ที่ ต.ธรรมศาลา อ.เมือง จังหวัดนครปฐม
เครดิตข้อมูลและภาพถ่าย
ศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563
เรือโบราณพนม-สุรินทร์ "เก่าแก่ที่สุดในไทยและ
อุษาคเนย์"อายุพันกว่าปีมาแล้ว
อนุสาร อ.ส.ท. เผยแพร่ 23 เมษายน พศ.2557
MGR online เผยแพร่: 22 มิ.ย. 2558
ตะลึงพบซากชิ้นส่วนเรือโบราณยุคอาหรับอายุ 1 พันปี จม "ก้นบึงกุ่ม-บึงบางช้าง" ในนครปฐ
โฆษณา