28 ก.พ. 2021 เวลา 05:19 • ความคิดเห็น
2/5 ความคิดดีดีมีให้รวยได้ง่ายๆตอนที่ 5 เรื่อง”ปัญหาของคนไอคิวสูงบั้นปลายชีวิตเหมือนกากน้ำตาลที่เน่าเสีย”
 
เมื่อพูดถึงความฉลาดเราจะนึกถึงคนที่ตอบคำถามได้เก่งจาศ ชาญฉลาดมีไอคิวสูงประเภทอัจฉริยะนั้นเองแล้วเราก็ยอมรับนับถือว่าคนพวกนี้เก่งสุดยอดยอมรับนับถือและให้เกียรติยกย่อง
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วคนที่ประสบความสำเร็จไม่ได้เก่งแค่เรื่องไอคิวอย่างเดียว องค์ประกอบของความสำเร็จที่แท้จริงมีทั้งหมดสี่ความฉลาดคือ
ความฉลาดทางสติปัญญาเรียกว่าไอคิว(IQ)
ความฉลาดทางอารมณ์นึกว่าอีคิว(EQ)
ความฉลาดทางกายเรียกว่าพีคิว(PQ)และ
ความฉลาดทางจิตวิญญาณหรือมโนธรรมเรียกว่าเอสคิว(SQ)
มนุษย์ที่เกิดมาทุกคน สวรรค์จะให้ของขวัญความฉลาดทั้งสี่อย่างมาเหมือนๆ กัน การนำทั้ง4 ความฉลาดมาใช้ ต้องสมดุลย์และเหมาะสมกับแต่ละเรื่องและสภาพข้อเท็จจริง
จากงานวิจัยพบว่าบุคคลที่มีความฉลาดทางอีคิวมากกว่าอย่างอื่นจะประสบความสำเร็จอย่างสูง
ในขณะเดียวกันบุคคลที่มีความฉลาดทางไอคิวสูงกว่าอย่างอื่นมักจะล้มเหลวในบั้นปลาย
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่มีลักษณะไอคิวสูง จึงกลายเป็นสีธนญชัยและล้มเหลวในชีวิตในบั้นปลาย เรามาดูตัวอย่างของตัวแปลกแยกของคนที่ฉลาดกว่า อัลเบิร์ต ไอสไตล์
เขาคือ คริสโตเฟอร์ แลงแกน กับอัจฉริยะสุดขั้วอย่าง โรเบิร์ต ออพเพนเฮเมอร์
 
ประมาณ 10 ปีที่แล้วมีรายการหนึ่งที่โด่งดังที่สุดในอเมริกาชื่อรายการ “หนึ่งต่อ 100 “ เป็นรายการของเกมเศรษฐีในแต่ละสัปดาห์จะมีคนธรรมดา 100 คนมาสวมบทบาทเรียกว่าฝูงชนและประชันไหวพริบ มีแขกรับเชิญหนึ่งคนโดยมีเดิมพันเงิน 1,000,000 ดอลลาร์แขกรับเชิญต้องฉลาดพอที่จะตอบคำถามได้ถูกต้องในจำนวนครั้งละ100 คนและดูเหมือนจะมีไม่กี่คนที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยม เท่ากับ คริสโตเฟอร์ แลงเกน
คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 100 ส่วนไอสไตล์มีไอคิว 150 ส่วนแลงเกนเขามีไอคิวสูงถึง 195
แลงเกน มีชื่อเสียงขึ้นมาในแบบที่แปลกประหลาด เขาเป็นอัจฉริยะบุคคลที่คนอเมริกันรู้จักเขาดี เขาเป็นตัวแปลกแยกที่โด่งดังที่สุดจนรายการโทรทัศน์ต้องจ้างนักประสาทวิทยามาตรวจวัดไอคิวซึ่งไอคิวที่สูงจนน่าประหลาดใจ
เขาเริ่มพูดได้เมื่ออายุ 5 เดือน พอ 3 ขวบเขาฟังวิทยุท่ีโฆษกอ่านการ์ตูนให้ฟัง เขาจะพลิกหน้าการ์ตูนไปด้วย
ท่ีโรงเรียน แลงเกนสามารถทำข้อสอบวิชาต่างๆโดยท่ีไม่ต้องเรียนแม้แต่วิชาเดียว ถ้ามีเวลาสัก2-3 นาทีเขาอาจจะพลิกตำราดูคร่าวๆก่อนเข้าห้องสอบ เพียงแค่นี้เขาก็สามารถทำข้อสอบได้แล้ว พอเริ่ม 10 กว่าขวบ เขาเริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์เชิงทฤษฎีอย่างจริงจัง พอ อายุ 16 เขาสามารถอ่านหนังสือ Principa Mathematicia ท่ีเข้าใจยากของรัสเซลส์ เป็น10อันดับหนังสือเปลี่ยนโลกได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในแวดวงฟิสิกส์ เขียนโดยไอแซก นิวตัน เป็นเรื่องมหัศจรรย์ทางปัญญา เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่มนุษย์ฝันบ่อยที่สุดคืออะไร และเหตุใดเขาจึงฝันเช่นนั้น?
แลงเกน สอบได้คะแนนเต็มในการวัดความถนัดทางการเรียน(SAT)
น้องชายเขาเล่าว่า แลงเกนฝึกทำโจทย์เลขนานวันละ 1 ชั่วโมง จากนั้นก็อ่านหนังสือฝรั่งเศษ 1 ชั่งโมง ภาษารัสเซีย และปรัชญา เขาปฎิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดทุกๆ วัน
เขาสามารถเขียนภาพแบบเล่นๆแต่เหมือนจริง เขาเล่นกีตาร์ได้เหมือนจิมมี่ เฮนคริกซ์ ไม่ผิดเพี้ยน เขาสามารถอ่านตำราเรียนทั้งเทอมได้ภายในแค่สองวัน ทำให้เขาทำในสิ่งที่อยากทำอะไรก็ได้ที่เขาทำค้างไว้ในตอนแรก
 
เขาไม่เคยพูดวกวน ไม่เคยพูดว่า เอ่อ อ่า หรือใช้รูปแบบอื่นเพื่อดึงจังหวะ
จนการเล่มเกมส์หนึ่งในร้อยเงินรางวัลเขาพุ่งสูงถึง 250,000 ดอลล่าห์ เขาตัดสินใจหยุดเกมและขอรับเงิน
เทอร์แมนนักจิตวิทยา ได้ทำการทบสอบความฉลาดของคนทั่วโลกนับล้านคนด้วยแบบทดสอบชื่อสแตนส์ฟอร์ด บิเนส์
เทอร์แมนทดสอบนักเรียนมากกว่า 250,000 คนทั่วประเทศและสามารถระบุตัวนักเรียนที่ไอคิวเกิน 140 ได้ถึง 1470 คน ถือว่าฉลาดที่สุดในเวลาต่อมา อัจฉริยะตัวน้อยกลุ่มนี้จะถูกตั้งชื่อว่า”เทอร์ไมต์” เขาจะเก็บตัวอย่าง กลุ่มเทอร์ไมต์ ไปตลอดชีวิตตั้งแต่แม่ไก่เลี้ยงลูกเจียบ จนการทำงานและชีวิตแต่งงาน โดยทำเป็นบันทึกการค้นพบตัวเองลงในหนังสือชื่อ Genetic study of Genius
เขาค้นพบว่า สำหรับตัวบุคคลแล้วไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับไอคิว เช่น นักวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การดนตรี การประพันธ์ นักปกครอง ดูเหมือนมันก็น่าจะเป็นเช่นนั้น
เดี๋ยว ๆ ๆ ฟังต่อให้จบก่อน งานวิจัยของเทอรแมน ทำผิดพลาดอย่าง
มหรรษ์ ทุกสถาบันได้นำแนวทางของเขามาใช้อย่างกว้างขวาง เขาคิดผิดถนัดกับตัวอย่างท่ีเขาเก็บจาก
เทอร์ไมต์ของเขา ถ้าเขาบังเอิญไปพบกับแลงเกนกำลังอ่านหนังสือ Matthematica เขาก็คงคิดผิดเกี่ยวกับแลงเกนเช่นเดียวกัน และพวกเราส่วนใหญ่ก็คงไม่เข้าใจ และคิดว่าคนท่ีมีไอคิวสูงคือคนประสบความสำเร็จจวบจนปัจจุบันนี้
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาแบบทดสอบจำนวนมากมายมหาศาลเกี่ยวกับไอคิวซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงกับความสำเร็จในชีวิตอย่างไร ผู้ที่ได้คะแนนที่มีไอคิวต่ำกว่า 70 ซึ่งถือว่ามีสติปัญญาบกพร่อง 100 ขึ้นไปถือว่าปกติ
แต่ โปรดจำหลักการของหนังสือเล่มนี้อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่บทแรกจนถึงตัวหนังสือที่พิมพ์หรือฟัง ในประโยคนี้อีกครั้งหนึ่ง โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง !!
“เราได้เห็นว่าการประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้นเป็นผลมาจากโอกาสมากกว่าความสามารถใดๆ”
แต่ ในขณะเดียวกันคุณ อาจต้องมีไอคิวระดับหนึ่ง เช่น 115 เพื่อจะได้มีโอกาสเข้าเรียน และประสบความสำเร็จ ระดับปริญาญา
และโดยส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าคนท่ีมีไอคิวสูงเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งได้รับการศึกษาสูงเท่านั้น รวมทั้งมีแนวโน้มท่ีจะหาเงินได้มากขึ้น
แต่ก็มีประเด็นอีกประการหนึ่งท่ีต้องเข้าใจใหม่คือ
“ความสำเร็จและไอคิวมีความเชื่อมโยงกันจนถึงจุดหนึ่งเท่านั้นการมี จนมีไอคิวสูงขึ้นเรื่อยๆจนถึง 120 มักจะไม่ได้ช่วยให้เกิดข้อได้เปรียบใดๆ
เลียม ฮัดสัน นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เปรียบเทียบว่า ไอคิวเปรียบได้เท่ากับส่วนสูงของนักกีฬาบาสเกตบอล คุณต้องมีส่วนสูงระดับหนึ่งถึงจะเล่นได้ดีและเมื่อสูงเกินไปส่วนสูงนั้นไม่มีความสำคัญอีกต่อไป นักกีฬาบาสจำเป็นต้องมีความสูงเพียงพอเท่านั้นเอง ความฉลาดก็เช่นกัน มันมีเกณฑ์ขั้นต่ำของมันอยู่เพียงระดับหนึ่ง
เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้เกี่ยวกับความฉลาดแล้ว แนวคิดที่ว่าเราสามารถจัดอันดับสถาบันแบบเดียวกันกับที่จัดอันดับนักวิ่งในการแข่งขันได้ถือว่าไม่สมเหตุสมผลและนักศึกษาจอร์จทาวน์อาจไม่ฉลาดเท่ากับนักศึกษาของฮาร์วาร์ดเมื่อเทียบกับมาตรวัด
จากการเก็บสถิติผลสำเร็จของนักศึกษา หลายๆสถาบันกับ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่โดดเด่นและโด่งดังที่สุด เห็นได้ชัดว่าจากข้อมูลพวกเขาทั้งหมดล้วนฉลาดเพียงพอและผู้ชนะรางวัลโนเบลในอีกหลายๆคนก็มาจากสถาบันจอร์จทาวน์และอื่นๆที่ด้อยกว่า สถาบันฮาราวาร์ด
เช่น มหาวิทยาลัยมิชิแกนอนุญาตให้ชนกลุ่มน้อยเข้าเรียนได้ถึง 10%โดยไม่ต้องสอบ และผลจากการติดตามว่ากลุ่มนี้จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากน้อยเพียงใด
ริชาร์ด แลมเพิตได้ทำการวิจัย
“เราคาดกันว่าพวกเขาส่วนใหญ่คงไม่ประสบความสำเร็จเท่าพวกนักศึกษาผิวขาว แต่พวกเขาจำนวนมากประสบความสำเร็จไม่น้อยเลย และไม่เห็นความแตกต่างระหว่างนักศึกษา2 กลุ่มเลย
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นละ “ ถึงแม้ผลการเรียนของชนกลุ่มน้อยจะไม่ดีแต่คุณภาพของนักศึกษาทุกคนก็สูงพอที่จะอยู่เหนือระดับเกณฑ์ขั้นต่ำก็คือฉลาดเพียงพอกันทุกคนดังนั้นการได้คะแนนสอบมากกว่าจึงแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย”
ถ้าความฉลาดมีจุดอิ่มตัว แล้วสิ่งสำคัญท่ีมีความสำคัญสำหรับความสำเร็จมันคืออะไร?
สมมติว่า แทนท่ีจะวัดเพียง iQ ต่อไปนี้ จงเขียนประโยชน์ใช้สอยต่างๆให้มากท่ีสุดของ
1.ก้อนอิฐ
2.ผ้าห่ม
นี่คือแบบทดสอบความคิดท่ีหลากหลาย ซึ่งขอให้คุณวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทั้งหมดแล้วค่อยรวบยอดหาคำตอบที่ถูกต้องคุณจำเป็นต้องใช้จินตนาการและความคิดไปในทิศทางที่หลากหลายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
 
แบบทดสอบวัดความคิดที่หลากหลายไม่ได้มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว แต่ดูว่าคุณคิดจะหาคำตอบได้มากน้อยแค่ไหน คำตอบของคุณมีเอกลักษณ์มากเพียงใด สิ่งที่แบบทดสอบนี้ต้องการวัดไม่ใช่ความคิดในการวิเคราะห์. แต่เป็นบางสิ่งบางอย่างที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมันคือสิ่งที่ใกล้เคียงกับความคิดสร้างสรรค์มากว่าแบบทดสอบไอคิว
 
เรามาดูนักเรียนสองคนอีกคนหนึ่งมีไอคิวสูงอีกคนหนึ่งไม่ได้มีไอคิวสูง
ฟอร์เรนเป็นเด็กอัจฉริยะและเป็นนักเรียนคนหนึ่งที่มีไอคิวสูงสุดในมหาวิทยาลัยคำตอบคือ
ก้อนอิฐใช้ :1.สร้างบ้าน 2.ขว้างปา
ผ้าห่มใช้ : 1.ให้ความอบอุ่น 2 ดับไฟ 3.ผูกกับต้นไม้เพื่อใช้นอน 4 ทำเป็นเปลหาผู้ป่วย
อีกคนหนึ่งชื่อพูล
ก้อนอิฐใช้ ขว้างกระจกหน้าต่างเพื่อขโมยของ,ใช้ยึดตัวบ้านทั้งหลังไว้ด้วยกัน,ใช้เล่นเกมแบบรัสเซียรรูเรท,ใช้ยึดผ้านวมไว้กับเตียงด้วยการวางอิฐไว้แต่ละมุม,ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับทำลวดลายโคคา-โคล่า
ผ้าห่มใช้ : บนเตียง, กำบังสำหรับมีเพศสัมพันธ์ ,ใช้ทำเป็นเต้น,ใช้เผาเพื่อส่งสัญญาณควัน,ใช้เป็นผ้าใบสำหรับรับลมของเรือ,ใช้ลากรถ,ลากเลื่อน ,ใช้แทนผ้าเช็ดตัว,ใช้เป็นเป้าซ้อมยิงสำหรับคนสายตาสั่น,ใช้รองรับคนกระโดดจากตึกสูง
พอนึกออกใช่ไหมว่าความคิดของคนทั้ง 2 แตกต่างกันอย่างไร ? ในเวลาเท่าๆกันกับคำตอบ มันกำลังบ่งบอกอะไรในอนาคตของทั้ง 2 คนบ้างล่ะ พอนึกภาพออกแล่วใช่ไหมว่า
ถ้าทั้ง 2 คนต้องผจญกับเหตุการณ์
เหมือนๆกันในอนาคตท่ียากลำบาก อะไรจะเกิดขึ้นกับอัฉริยะแบบฟอร์เรน
ขณะเดียวกันฮัดสัน ก็ทำแบบทดสอบ กับเด็อัจฉริยะอีกคนหนึ่งท่ีมีไอคิวสูงสุดเช่นเดียวกัน
ผลออกมาคือเป็นแบบเดียว กับฟอเรนส์
จินตนาการของคนอัจฉริยะหายไปไหน แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า นักเรียนทั้งสองคนมีไอคิวเหนือกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ สิ่งที่เขาสนใจยิ่งกว่าก็คือความคิดของทั้งสองแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
เทอร์แมน ได้ออกหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดGenetic Studes of Genius คำว่า”อัจฉริยะ”จึงอันตรธานหายไปหมด
เธอร์แมนสรุปด้วยความผิดหวังอย่างแรงว่า
“เราได้เห็นแล้วว่าความฉลาดและการประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์แบบเลย”
จริงอยู่ระดับอัจฉริยะของคริส แลงเกน เค้ามีมันสมองล้ำเลิศชนิดที่หนึ่งล้านคนจะมีสักหนึ่งคน และเขามีความสามารถอ่านหนังสือที่ยากที่สุดได้ตั้งแต่อายุ 16 ปีและจริงอยู่ที่ถ้อยคำของเขาพรั่งพรูออกมา ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าทั้งสละสลวยคมคายราวกับกองทหารในขบวนสวนสนามก็ไม่ปาน
แต่แล้ว อย่างไรล่ะครับ แนวโน้มที่จะกลายเป็นตัวแปลกแยกอย่างแท้จริงมากแค่ไหน เรามาดูชีวิตบั้นสุดท้ายของอัจฉริยะ ที่เราอ่านแล้วก็เหลือเชื่อแบบไม่น่าเชื่อจริงๆ ทำไมชีวิตบั้นปลายของอัจฉริยะอย่างคริส แลงเกน ถึงตกต่ำร้ายแรงยิ่งกว่ากากน้ำตาลที่เน่าเสีย ซะอะไรปานนั้น
โฆษณา