1 มี.ค. 2021 เวลา 12:04 • ความคิดเห็น
ตายดี ตอนที่ 2
จากที่โพสต์ไปครั้งก่อน ตามนี้
เลยจะมาเล่าให้ฟังต่อ ว่าจะทำอย่างไรถึงจะ"ตายดี" ได้ ถ้าใครยังไม่อ่านโพสต์แรก อยากให้กลับไปอ่านกันก่อนนะคะ
4
การตายดี เป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ละคนจะมีนิยามของตัวเอง (แม้มันจะดูมีหลักการคร่าวๆ อย่างที่บอกไว้โพสต์แรกก็ตาม)
1
เพราะอะไร ถึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว เพราะทุกคน "ไม่เหมือนกัน" นั่นเอง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อ ของแต่ละคน
ดังนั้น ถ้าเราต้องเตรียมตัวตาย เราจะต้องคิดเรื่องอะไรบ้าง มาตามอ่านกันในโพสต์นี้ค่ะ
สิ่งแรกที่จะแนะนำคือ การทำ Advance care plan หรือการวางแผนไว้ดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า สำหรับวันหนึ่งที่เราไม่สามารถบอกได้แล้วว่าการรักษาอะไรโอเคสำหรับเรา และการรักษาอะไร ที่ไม่โอเคสำหรับเรา
3
สิ่งนี้ ทำได้ตั้งแต่วันนี้ ที่เรายังแข็งแรงอยู่ และควรทำในวันนี้ด้วย เพราะอะไรหรอคะ....เพราะเราไม่รู้หรอก ว่า พรุ่งนี้กับชาติหน้า อะไรจะมาถึงก่อน จริงมั้ยคะ
2
การวางแผนนี้ จริงๆเป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างเรา กับ ครอบครัว หรือ เรากับคนที่เราไว้ใจให้เป็นตัวแทนทางด้านสุขภาพของเรา หรือ เรียกว่า proxy (อาจจะเป็นคู่ชีวิต พ่อหรือแม่ พี่ หรือ น้อง หรือ เพื่อน ก็ได้ ดังนั้น LGBTQ ก็ไม่ต้องกังวล สามารถมอบหมายให้คนคนนี้ของเราได้) แต่คีย์สำคัญคือ proxy คนนี้ของเรา จะต้องรู้ตัวเองว่าเป็น proxy ของเรา แล้วในกรณีที่เค้าไม่มีความสัมพันธ์ทางกฏหมายกับเรา หรือเป็นคนนอกครอบครัว ต้องบอกให้คนในครอบครัวเรารู้ด้วย ว่าถึงเวลานั้นขึ้นมา ต้องรับฟังคนนี้นะ ไม่งั้น มีโอกาสสูงที่ proxy ของเราคนนี้จะไม่ได้ทำหน้าที่แทนเราจริงๆ แถมจะพา proxy ซวยโดนด่าอีก ก็มี
5
ถ้าจะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็อาจจะทำให้ proxy สบายใจขึ้น แต่จะไม่เขียนก็ได้ ถ้าคิดว่าคนในครอบครัวเรา จะฟังเสียง proxy คนนี้
ความเข้มข้น ซับซ้อนของการวางแผนสุขภาพนี้ ขึ้นกับว่า เราเป็นคนแข็งแรง เป็นคนป่วยระยะท้าย หรือเป็นคนที่กำลังอยู่ในสภาวะที่กำลังถดถอย เช่น เราเป็นอัลไซเมอร์ ที่รู้ว่าในวันหนึ่ง เราจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นต้น
3
ถ้าเราเป็นคนแข็งแรงอยู่ เราอาจจะคุยง่ายๆ แค่ว่า ถ้าวันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เรานอนไม่รู้เรื่อง เราอยากให้แพทย์ดูแลเรายังไง อยากให้ใส่เครื่องช่วยหายใจ เจาะคอ ใส่สายให้อาหารไปเรื่อยๆหรือไม่
ถ้าคำตอบเป็น"ไม่อยาก" นี่สิ การวางแผนจึงสำคัญมาก เพราะจะไม่มีใครกล้าที่จะ "ไม่ทำอะไร" ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเราแน่เลย
ตัวอย่างของหมอเอง... ถ้าวันหนึ่งอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถสื่อสารได้ ไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ และไม่มีทางดีขึ้นไปกว่านี้ หมอเอง ไม่ประสงค์ที่จะได้รับการรักษาที่ยื้อชีวิตแบบนั้นออกไป สามารถยุติการใช้อุปกรณ์พยุงชีพได้เลย
3
ถ้าหมอไม่บอกไว้ก่อน .....ใครจะกล้าทำ จริงมั้ยคะ
2
แล้วถ้าไม่บอกคนในครอบครัวไว้ ว่าใครคือ proxy มีหวังได้ทะเลาะกันในครอบครัวแน่เลย และแน่นอน คนที่กำลังจะตาย ย่อมไม่ต้องการให้มีเรื่องทะเลาะกันเกิดขึ้น
แต่ถ้าเราเป็นคนป่วย เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เราอาจจะคุยว่า ถ้าวันนึงมะเร็งรุกรานมากๆ แล้ว รักษาไม่ไหวแล้ว ก็ถ้าเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ต้องปั๊มหัวใจ ไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่ต้องฟอกไต เป็นต้น
1
แต่ถ้าเราเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีแต่จะแย่ลงทุกวันๆ เช่น อัลไซเมอร์ ก็อาจต้องคุยละเอียดกับแพทย์ เช่น ถ้าวันนึง เรากินข้าวเองไม่ได้ เราอยากให้ใส่สายให้อาหารมั้ย (ส่วนมากวันนั้น ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มักจะบอกความต้องการเองไม่ได้แล้ว)
หรือ ถ้าวันนึง เรานอนติดเตียง ขับเสมหะไม่ได้ เป็นปอดอักเสบ เราอยากให้หมอเจาะคอเพื่อระบายเสมหะ ให้เรามั้ย เป็นต้น
ซึ่งต้องคุยกับแพทย์ที่มีความรู้ทางตัวโรค เพื่อที่จะอธิบายให้เข้าใจ ว่าการรักษาอะไรบ้าง ที่อาจจะเกิดขึ้น ในวันที่เราไม่สามารถตัดสินใจเองได้
ซึ่งจากประสบการณ์ที่ทำงานตรงนี้มา คนไทยไม่ชอบพูดถึงเรื่องนี้ เพราะคิดว่า เป็นลางไม่ดี เพราะคิดว่าอีกนานกว่าจะถึง เพราะคิดว่า ถึงวันนั้นค่อยว่ากันอีกที หรือแม้แต่คิดว่าลูกหลานน่าจะดูแลเราได้
1
ซึ่งไม่ผิดเลยค่ะ จะคิดแบบนี้ก็ไม่ผิด แต่ก็ต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น อาม่าแก่มากๆแล้ว นอนติดเตียงมานาน 10 ปี ลูกหลานก็มีเงิน รักมากมาย ใส่ท่อช่วยหายใจ แล้วก็เจาะคอนอนลืมตา ไม่แต่สื่อสารแล้ว.... เราก็ต้องยอมรับว่า เป็นผลจากการที่เราเชื่อใจลูกหลานนะคะ
โดยมากที่เจอ ทุกการตัดสินใจ ตัดสินใจบนพื้นฐานความรักหมดแหละค่ะ เพียงแต่ถูกใจคนคนนั้นมั้ย ไม่รู้เลยจริงๆ
2
ดังนั้น เหตุการณ์ที่เราจะวางแผน ก็ขึ้นกับว่า เราเป็นคนกลุ่มไหน มีตรงไหนสงสัยก็ปรึกษาแพทย์ได้ โดยเฉพาะแพทย์ palliative care ที่จะมีการอบรมเรื่องนี้มาแล้ว (เรื่องการวางแผนสุขภาพ อาจจะไม่ใช่แพทย์ทุกคนทำเป็น เพราะมันละเอียดอ่อน แล้วก็ใช้เวลาเยอะ) ลองปรึกษาหาแผนก palliative care ที่รพ.ท่านได้
1
ถัดมา คือ เราต้องสื่อสารบอกความต้องการของเรา ให้กับ proxy ของเรา
ใครได้รับบทเป็น proxy ก็อย่าลืมถามให้ชัดเจนว่าอะไรบ้าง ที่ไม่อยากได้ อะไรบ้างที่ยังโอเคอยู่
ย้ำอีกครั้ง อย่าลืมบอกครอบครัว ว่าเราอยากให้ครอบครัว ฟัง proxy ของเราด้วย
1
ที่เหลือ เป็นหน้าที่ของแพทย์ ที่จะอธิบายว่าการรักษาแต่ละอย่าง ผลการรักษานั้น จะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วมันจะ match กับความต้องการของคนคนนั้นหรือไม่ โดยผู้ตัดสินใจ ถ้าให้ดีก็ควรจะเป็น proxy และ ครอบครัว เข้าร่วมพูดคุยกับแพทย์พร้อมๆกัน
หลายคนอาจจะคิดว่า ที่พูดมานี้คือ living will หรือ พินัยกรรมชีวิต ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่นะคะ คนละอย่างกัน
1
advance care plan เป็นแค่บทสนทนา เป็นแค่การพูดคุยให้รู้ความต้องการกัน มิใช่กฎหมาย มิใช่ข้อบังคับ
แต่ living will เป็นกฏหมาย มาตรา 12 (ซึ่งจะกล่าวต่อไปครั้งหน้า) เป็นกม.ที่มาปกป้องแพทย์ ว่าถ้าทำตาม living will จะไม่ผิด
ดังนั้น living will มองง่ายๆอาจจะเป็น subset ของ advance care plan นั่นเอง
1
สรุป
1. แนะนำว่า ทุกคน ควรมีการวางแผน advance care plan ไว้บ้าง ตามสภาวะของตน
2. advance care plan เป็น process ของบทสนทนา ไม่ใช่กฎหมาย
3. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
4. proxy เป็นคนที่คิดว่ารู้จักเราดีที่สุด และเข้าใจความต้องการของเรามากที่สุด
5. ถ้า proxy คือคนในครอบครัว ก็แนะนำให้คนอื่นๆรู้ ว่าคนนี้คือ proxy ของเรา
ถ้า proxy เป็นคนอื่น ยิ่งต้องแนะนำให้ทุกคนรู้ว่า ใครคือ proxy ของเรา ถ้าเป็นไปได้ ก็เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้
3
ไว้ครั้งหน้ามาต่อ เรื่อง living will นะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา