28 ก.พ. 2021 เวลา 09:27 • สุขภาพ
เตรียมรับมือหลังโควิด-19
โดย
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
https://www.scmp.com/week-asia/economics/article/3104289/golden-week-ghost-town-thailands-pattaya-party-zone-struggles
หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ข่าวเรื่องนักธุรกิจอินเดียและจีนที่มีตัวแทนอยู่ในเมืองไทยวิ่งซื้อโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ตามทำเลทองในราคาที่ถูกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต เกาะช้าง เกาะสมุย ฯลฯ
2
ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำย่ำแย่ทั้งจากฝีมือการบริหารผสมกับวิกฤติโควิด-19 ทำให้ทรัพย์สมบัติของคนไทยที่ใช้เวลาสะสมกันมานับชั่วอายุคน ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มทุนต่างชาติในราคาแสนถูก
5
หลังวิกฤติโควิด-19 เมื่อการท่องเที่ยวฟื้นแล้ว เงินจากการท่องเที่ยวแม้ว่าจะมีมาก แต่ก็มากเพียงตัวเลขที่รัฐบาลเอาไปใช้คุยโม้โอ้อวด ทว่าเม็ดเงินจำนวนมากเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในมือคนไทยเหมือนกับที่รัฐเคยโม้ว่าไทยเป็นประเทศผลิตรถยนต์เบอร์ต้นของโลก โดยแท้ที่จริง เจ้าของบริษัทผลิตรถยนต์เหล่านั้นไม่ใช่คนไทย แต่เป็นบริษัทญี่ปุ่น เราได้เพียงค่าแรงงานประมาณร้อยละ 10 และภาษีอีกเล็กน้อย ส่วนเงินที่เหลือก็เข้ากระเป๋านายทุนต่างชาติ
5
ถ้าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอยู่ในมือของนายทุนต่างชาติ เราเป็นแค่สถานที่รองรับ เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ เจ้าของเกาะ ทะเล หาดทราย น้ำตก ฯลฯ นายทุนข้ามชาติไม่ต้องลงทุนทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านี้เลย แต่สามารถเข้ามาใช้ได้อย่างเสรี นอกจากนั้นยังใช้ต้นทุนชื่อเสียงทางด้านการท่องเที่ยวของไทยในการทำธุรกิจ ได้เงินแล้วก็โกยออกไป
2
ไทยเราอาจจะได้ค่าแรงคนขับรถ คนทำความสะอาด พ่อครัว บริกร ฯลฯ รวมกันแล้วไม่กี่สิบเปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างในโลกนี้เมื่อใช้แล้วก็มีค่าสึกหรอ รวมทั้งทรัพยากรการท่องเที่ยวและต้นทุนชื่อเสียงของประเทศ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะคุ้มหรือไม่
2
หากโรงแรม รีสอร์ต คอนโดมีเนียม และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเป็นของคนไทย (เหมือนสถานการณ์ก่อนโควิด-19) ก็คุ้มครับ เพราะอย่างไรเงินก็หมุนอยู่ในประเทศไทย
1
เท่าที่ผมฟังเสียงโอดโอยโหยหวนของเจ้าของโรงแรมและรีสอร์ต ส่วนใหญ่น้อยใจรัฐบาล และธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ช่วยเหลืออย่างจริงใจ ใช้มาตรการทางกฎหมายฟ้องร้องและยึดสินทรัพย์ ทำให้เจ้าของคนไทยต้องรีบปล่อยขายในราคาถูก
3
https://www.pattayamail.com/featured/for-sale-signs-pop-up-as-happy-hour-ends-in-pattaya-288946
หากตามอ่านการแก้ปัญหาที่เกิดจากวิกฤติโควิด-19 ของประเทศต่างๆ รัฐบาลและธนาคารของหลายประเทศร่วมกันกระโจนลงมาช่วยผู้ประกอบการอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู บริหารจัดการเหมือนอยู่ในภาวะสงครามที่ช่วยกันรบอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการล้มหายตายจาก เขียนให้เข้าใจง่ายก็คือ เพื่อไม่ให้เสียเมือง ถ้าข้าศึกเข้ามาโจมตียึดเมืองได้เมื่อใด ทุกคนก็อยู่ในภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด ไม่มีที่ทำกินและต่อมาก็จะกลายเป็นภาระของสังคม
หลายประเทศแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19   ได้อย่างไวและมีประสิทธิภาพ มีการรีบฉีดวัคซีนให้ประชากรของตนอย่างเร็ว เมื่อฉีดได้ครอบคลุมคนจำนวนมากแล้ว รัฐบาลก็รีบแถลงนโยบายโรดแมปฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น
1
ข้อมูลจากเว็บไซต์เอาร์เวิลด์อินดาตา 22 กุมภาพันธ์ 2564 ชาวอิสราเอล 100 คนได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 87.06 คน แต่เดิม สถานที่ต่างๆ ในอิสราเอลถูกล็อกดาวน์ถึง 3 ครั้ง ทำให้เศรษฐกิจเงียบชะงักงัน พอประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 โดสแล้ว รัฐบาลอิสราเอลก็รีบเปิดสถานที่ต่างๆ โดยมีมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดกวดขันที่สุด
คนอิสราเอลที่ฉีดวัคซีนแล้วก็จะมี green badge หรือ  ‘สัญญลักษณ์เขียว’ ซึ่งทำหน้าที่เป็น ‘พาสปอร์ตวัคซีน’ ในรูปแบบแอพลิเคชั่นเป็นเอกสารรับรองว่าบุคคลนั้นได้ฉีดวัคซีนครบถ้วนหรือมีภูมิคุ้มกันเพราะเคยติดเชื้อและรักษาหายแล้ว แต่ละสถานที่ที่เปิดจะรับเฉพาะคนที่มีพาสปอร์ตวัคซีน โดยหน่วยงานท้องถิ่นของแต่ละเมืองเป็นผู้ตัดสินใจ ว่าสถานที่ใดต้องใช้ตราเขียว
1
นี่คือความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ฟื้นฟูโดยให้ทุกอย่างกลับมาเปิดดำเนินกิจการได้ตามปกติอย่างเร็วที่สุด
วันเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป วิกฤติโควิด-19 พัดผ่านไปแล้ว โรงแรม รีสอร์ต อาคารบ้านช่องในแผ่นดินอิสราเอลยังอยู่กับคนอิสราเอลเหมือนเดิม.
1
โฆษณา