1 มี.ค. 2021 เวลา 01:11 • นิยาย เรื่องสั้น
ทำไมวันทองจึงถูกสั่งประหาร?
ทำไมวันทองถึงถูกสั่งประหาร?
ทำไมต้องฆ่าวันทอง? ความลังเลใจเลือกไม่ได้ไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เธอต้องตายเพราะอะไรกัน
คำตอบพื้นๆ คือ นางวันทองสองใจ เพราะไม่อาจตัดสินใจ หรือไม่ตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร ระหว่างขุนข้างหรือขุนแผน เมื่อพระพันวษารับสั่งให้นางตัดสินใจให้เด็ดขาด แล้วเลือกระหว่างขุนช้างกับขุนแผนแต่นี่คือเหตุผลที่แท้จริงหรือป่าว
2
เค้าเรื่องเดิมของเสภา มุ่งไปที่ความสัมพันธ์ของชายกับหญิงเริ่มต้นที่การแข่งขันกันระหว่างยาจก (ขุนแผน) กับเศรษฐี (ขุนช้าง) เมื่อเรื่องราวดำเนินไปก็ทวีความซับซ้อนขึ้นเกี่ยวกับบทบาทหรือบริการที่ชายสามารถให้กับหญิงได้ ขุนแผนสนองอารมณ์ความรัก ความเสน่หา จนมีลูกสืบทอด แต่ไม่อาจให้ความคุ้มครอง (เหมือนร่มโพธิ์ร่มไทร) เพราะมักต้องจากไป เดินทัพ ไปป่าหรือไม่ก็ถูกราชอาญาจองจำในคุก แต่กับขุนช้าง นางได้ครองเรือน มีทรัพย์สมบัติ และได้รับการคุ้มครอง แต่อยู่ด้วยกันโดยไม่มีลูก
3
ในเรื่องของโทษทัณฑ์นั้น
นางวันทองทำผิดอะไรถึงต้องถูกประหาร? หรือเป็นความลังเลใจตัดสินใจไม่ได้ แต่ไม่ใช่ความผิดทางอาญา ตามกฎหมายตราสามดวงแล้ว หญิงที่ถูกพบว่าเป็นชู้ หรือมีสองชาย มีโทษถูกประจานไปตามถนน มีคนตีกลองเดินนำหน้า หญิงคบชู้มีป้ายติดที่หน้าผาก ทัดดอกชบา และพวงมาลาบนศีรษะ กฎหมายอนุญาตให้ผัวฆ่าเมียที่มีชู้ได้ แต่ต้องฆ่าชายชู้เสียก่อน
ในเสภาได้กล่าวเอาไว้ว่า นางวันทองวิตกกังวลว่าอาจถูกตราหน้าว่าเป็นหญิงสองใจ นางกลัวถูกนินทา กลัววงศ์ตระกูลเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่นางไม่ได้กลัวว่าจะถูกลงโทษตามกฎหมายแต่อย่างใด
เช่นนั้นแล้ว บทลงโทษมาจากไหน?
ก่อนที่จะทรงตัดสินลงทัณฑ์นางวันทอง พระพันวษาได้พูดคุยกับนางวันทอง
นางวันทองให้การว่าขุนช้างใช้กำลังชิงตัวนางเมื่อหลายปีที่ผ่านมา และขุนช้างอ้างว่าเขากระทำไปเพราะมีพระบรมราชโองการสั่งมา ทำให้พระพันวษาทรงพระพิโรธหนัก
ส่วนขุนช้างก็ได้กราบทูลพระพันวษาไปว่านั้นเป็นเพราะพระไวย(ที่เป็นลูกชายนางวันทองกับขุนแผน)ลักพานางวันทองมาจากเรือนของตน ทำให้พระพันวษาทรงพิโรธหนักกว่าเดิมไปอีกเพราะเห็นว่าพระไวยนั้นทำเหมือนบ้านเมืองไม่ทีกฏหมายจึงคิดจะลักพาตัวใครก็ได้
และตามเสภาแบบฉบับที่ได้มีการกล่าวเอาไว้ของหอพระสมุดวชิรญาณเล่น 3 ได้บอกเอาไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าการกระทำของพระไวยนั้นเป็นการท้าทายอำนาจของพระองค์และเป็นอันตรายกับความมีระเบียบเรียบร้อยของสังคม
1
ฉากนี้ สำแสดงให้เห็นความวิตกกังวลของพระมหากษัตริย์ แต่ใครเป็นขบถ? มีตัวละครสำคัญ 4 ตัว ซึ่งปรากฏหน้าพระพักตร์ (นางวันทอง ขุนช้าง ขุนแผน พระไวย) แต่ขุนแผน เป็นผู้เดียวซึ่งพระพันวษาไม่ได้ทรงพระพิโรธ
ขุนช้างได้ใช้เส้นสายที่มีในพระราชสำนักเพื่อช่วยให้ตัวเองได้เปรียบเหนือขุนแผนและกล่าวโทษว่าขุนแผนเป็นขบถ ผลก็คือขุนแผนไม่ใช่เป็นเพียงคู่แข่งกับขุนช้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องแข่งกับอำนาจของพระมหากษัตริย์ด้วย ขุนแผนกลายเป็นคนนอกกฎหมาย ร่อนเร่ไปอยู่ซ่องโจรของหมื่นหาญ
3
เมื่อเวลาผ่านไปขุนแผนก็ยอมกลับมามอบตัว เพื่อสู้คดีความ เขามั่นใจว่าเขาจะรอดตัว เพราะเขามีวิชา
ขุนแผนกลายเป็นผู้มีอำนาจพิเศษยิ่ง เขาแข่งกับอำนาจรัฐ และโดยนัยแข่งกับอำนาจพระมหากษัตริย์ ดูเหมือนว่าพระองค์จะรู้สึกได้ถึงสภาพการณ์นี้
ตามแบบฉบับของวัดเกาะ เล่มที่ 23 ตอนที่ 35 มีประเด็นหลักคืออำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกท้าทายหรือไม่? เริ่มแรกพระพันวษาทรงกล่าวโทษว่าขุนช้างท้าทายพระองค์ ต่อมาทรงกล่าวโทษพระไวยเช่นเดียวกัน และคนต่อไปที่จะถูกกล่าวโทษนี้ก็น่าจะเป็นคนที่อยู่หน้าพระพักตร์คนที่ 3 คือขุนแผน
โครงสร้างของเค้าเรื่องเดิม ฉากนี้ก็น่าจะเริ่มจากเรื่องราวของขุนแผนในฐานะเป็นคนนอกกฎหมาย ประเด็นที่ว่า ขุนแผนมีความสามารถที่จะท้าทาย บังอาจขัดอำนาจของพระองค์ หรือเป็นอุปสรรคต่อพระมหากษัตริย์หรือไม่ปรากฏอยู่แต่อย่างใดแต่ ณ จุดวิกฤตนี้ พระพันวษาไม่ได้ทรงเผชิญหน้ากับขุนแผนกลับทรงหันไปที่นางวันทองแทน กล่าวว่า มันเกิดเหตุนี้เพราะหญิง จึงหึงหวงช่วงชิง
ในฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เล่ม 3 ตอนที่ 35 กล่าวว่า
จากจุดหักเหนี้ ความตายของนางวันทอง จึงเป็นการบูชายัญ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าระหว่างขุนแผนกับพระพันวษา ในแง่ของพล็อตเรื่อง ฆ่านางวันทอง จึงเป็นบทอวสานของเสภาที่โศกสุดๆ และจับใจมาก ในแง่ของเนื้อหาว่าด้วยอำนาจและการกบถ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของเรื่องมาโดยตลอด บทอวสานนี้ทิ้งท้ายประเด็นไว้ โดยไม่มีคำตอบชัดเจน เพราะว่าจริงๆ แล้ว ตอบไม่ได้
โฆษณา