8 มี.ค. 2021 เวลา 00:42 • กีฬา
การตลาดของ ดอร์ทมุน ความเจ็บปวดเข้าเส้นที่ทำให้ค้นพบแนวทาง
ล่าสุดเป็นอีกครั้งที่ ดอร์ทมุนด์ สามารถคว้าตัวนักเตะดาวรุ่งที่มีทีมยักษ์ใหญ่แย่งกันทั่วยุโรปอย่าง เออร์ลิง ฮาลันด์ ได้สำเร็จ น่าแปลกที่ก่อนที่การย้ายทีมจะสิ้นสุด มีข่าวว่า แมนฯ ยูไนเต็ด พร้อมให้ค่าเหนื่อยดาวยิงวัย 19 ปีชาว นอร์เวย์ ถึงสัปดาห์ละ 150,000 ปอนด์ ขณะที่ มิโน ไรโอลา เอเย่นต์ของนักเตะก็บอกว่า ยูไนเต็ด คือทีมที่มีโอกาสได้คุยกับนักเตะมากที่สุด แต่ทำไมสุดท้าย ดอร์ทมุนด์ จึงคว้าตัว ฮาลันด์ ปาดหน้าทีมอื่นได้ ?
นับตั้งแต่การเข้ามาบริหารของ ฮันส์ โยอาคิม วัตซ์เค่ ในปี 2005 ดอร์ทมุนด์ เริ่มต้นด้วยการเป็นหนี้ 120 ล้านยูโร และต้องเสียเงินปีละ 17 ล้านยูโรโดยประมาณเพื่อเป็นค่าเช่าสนามของพวกเขาเองที่ได้เอาไปจำนองไว้ นั่นจึงทำให้ช่วงแรกๆ ดอร์ทมุนด์ไม่มีเงินซื้อนักเตะชื่อดัง ทว่าสิ่งเหล่านี้แก้ไขได้
วัตซ์เค่ พลิกวิกฤติทางการเงินจนทีมกลับมาซื้อสนามคืนได้อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้น และเริ่มนำเงินไปใช้ทำในสิ่งที่เพิ่มความมั่นคงระยะยาวทั้งศูนย์ฝึกที่ทันสมัยและพัฒนาระบบอะคาเดมี่ที่ยอดเยี่ยม
"หลังจากที่เราได้สร้างรากฐานกันใหม่เหมือนกับกดปุ่มรีเซ็ต เราเริ่มตั้งเป้าหมายกันว่าสิ่งสำคัญที่สุดหลังจากนี้คือความสำเร็จในด้านการแข่งขันโดยทีเราไม่ต้องเป็นหนี้ เราจะไม่ใช้เงินเยอะ แต่เราจะใช้มันอย่างชาญฉลาด" วัตซ์เค่ กล่าว
ทุกวันนี้ก็เป็นอย่างที่เห็น ดอร์ทมุนด์ ประสบความสำเร็จเท่าที่พวกเขาจะคาดหวังได้ด้วยกำลังทรัพย์ที่มี ขณะที่ในแง่ของธุรกิจตอนนี้ หุ้นของ ดอร์ทมุนด์ ที่เคยมีราคาไม่ถึง 1 ยูโรต่อหุ้น กลับเพิ่มเป็นเกือบ 10 ยูโรต่อหุ้น
มากที่สุดในรอบหลายปี ซึ่งการมีแฟนบอลเป็นส่วนหนึ่งของผู้ถือหุ้นมันยิ่งทำให้เสียงของแฟนบอลมีความหมาย พวกเขาสามารถคานเสียงของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ อย่างเช่นในบางกรณีที่ความเห็นไม่ตรงกัน อาทิ ผู้ถือหุ้นที่เป็นแฟนบอลอยากนำกำไรที่สโมสรได้ไปซื้อนักเตะดังๆ แต่ผู้ถือหุ้นที่เป็นห้างร้านรายใหญ่กลับคิดว่าการซื้อตัวนักเตะดังๆ เก่งๆ เป็นความเสี่ยง ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้ดอร์ทมุนด์มีสมดุลในเรื่องดุลย์อำนาจด้วย
ว่ากันว่าบทเรียนที่ดีที่สุด ไม่ใช่การเรียนรู้จากหลักสูตรใดหรืออาจารย์คนไหน หากแต่คือการที่เราได้รู้จักเจ็บด้วยตัวเอง ... และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการเจ็บก็คือ เราจะจำมันอย่างแม่นยำ และรู้ว่าต้องทำอย่างไรที่จะไม่ให้เรื่องราวที่ผิดพลาดแบบนี้เกิดขึ้นอีกครั้งกับชีวิต
โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คือหนึ่งในสโมสรที่ได้รับบทเรียนนั้น เมื่อวันหนึ่งพวกเขากลายเป็นนกน้อยที่หวังจะสร้างรังที่เทียบเท่ากับพญาอินทรี ... พวกเขาแหงนหน้าขึ้นมองทีมที่อยู่เหนือขึ้นไปอย่าง บาเยิร์น มิวนิค มหาอำนาจของแท้และดั้งเดิมแห่งวงการลูกหนังแดนอินทรีเหล็ก และเชื่อว่าสามารถก้าวข้ามจุดนั้นได้ด้วยการ "ทุ่มทุน" สำหรับนักเตะระดับคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ทันที
"เราเกือบจะล้มละลายแล้วจริง ๆ ในเวลานั้น มันใกล้เคียงกับคำนั้นมาก ๆ" มิชาเอล ซอร์ก ผอ.กีฬาของดอร์ทมุนด์ ที่ครั้งหนึ่งคือตำนานนักเตะของทีมว่าไว้ในช่วงปี 2004
ณ เวลานั้นมูลค่าหุ้นของ ดอร์ทมุนด์ ตกลงถึงร้อยละ 80 จากผลงานที่ย่ำแย่และผลประกอบการที่เสียมากกว่าได้ จนทำให้ผู้ถือหุ้นกว่า 400 คนต้องจัดประชุมฉุกเฉินเพื่อหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ยุทธวิธีแรกคือ นักเตะดอร์ทมุนด์ในตอนนั้นต้องยอมลดค่าเหนือยลงมาร้อยละ 20 จากที่เคยได้ นอกจากนี้เสือเหลือง ต้องขายชื่อสนาม เวสต์ฟาเลน สตาดิโอน เปลี่ยนเป็น ซิกนัล อิดูนา พาร์ค ตามชื่อบริษัทประกันท้องถิ่นที่เข้ามาสนับสนุนการเงินของสโมสร ...
"สถานการณ์ทางการเงินของเราในเวลานี้ นับเป็นเรื่องคุกคามต่อการอยู่รอดของพวกเรา" บอร์ดบริหารของดอร์ทมุนด์แถลงในช่วงเดือน กุมพาพันธ์ ปี 2005 ณ เวลานั้นพวกเขาติดหนี้อีก 27 ล้านยูโร หลังจากนั้นเทศกาลเทกระจาดขายนักเตะก็เริ่มขึ้น
นักเตะที่พอขายได้เงินก้อนก็โดนปล่อยออกจากทีมไป เช่นเดียวกับนักเตะที่ค่าเหนื่อยสูง ที่เมื่อหมดสัญญาก็จะถูกปล่อยออกจากทีมไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ จนสุดท้ายดอร์ทมุนด์ก็กลายเป็นยักษ์หลับอยู่หลายปี ... ทั้งหมดนี้คือบทเรียนที่ทำให้พวกเขาต้องเปลี่ยนการเดินหมากครั้งใหม่ เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนกว่าที่เคยเป็นให้ได้
ชายชื่อว่า เยอร์เกน คล็อปป์
คล็อปป์ เข้ามาคุมดอร์ทมุนด์ในฤดูกาล 2008-09 หลังจากการปลดกุนซือชื่อ โทมัส โดล ที่ทำทีมได้อันดับ 13 ในฤดูกาลก่อนหน้านี้ การเข้ามาของ คล็อปป์ คือจุดเปลี่ยนอย่างแท้จริง แค่ปีแรกเขาปล่อยนักเตะออกจากทีมไปถึง 17 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเตะอายุเยอะอย่าง โรเบิร์ต โควัช รวมถึงอีกหลาย ๆ คนที่สามารถพอขายทำเงินได้ เพื่อเอามาบวกเพิ่มกับงบเดิมที่มี
คล็อปป์ ค่อย ๆ ประกอบทีมทีละนิด ๆ นำเงินจากการขายนักเตะเก่ามาซื้อดาวรุ่งโนเนม ณ เวลานั้นอย่าง เนเวน ซูโบติช, สเวน เบนเดอร์, มัทส์ ฮุมเมิลส์ ผสมผสานกับดาวรุ่งที่ปั้นมาเองอย่าง นูริ ซาฮิน ... นักเตะเหล่านี้ถึงแม้จะเด็กและมีราคาถูก แต่ทุกคนล้วนเป็นนักเตะที่คล็อปป์เชื่อมั่นในศักยภาพ และเด็ก ๆ เหล่านี้มีสิ่งที่ซูเปอร์สตาร์ไม่มี นั่นคือความมุ่งมั่น, ปราศจากอีโก้ และพร้อมทำตามคำสั่งของ คล็อปป์ อย่างไม่มีเงื่อนไข
ดอร์ทมุนด์ กลายเป็นทีมที่ดีขึ้น จากการจบอันดับเกินที่ 10 พวกเขาเริ่มขยับเข้ามาใกล้เป็นที่ 6 และที่ 5 จนสุดท้ายในฤดูกาล 2010-11 ก็หักปากกาเซียนด้วยการคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา ได้สำเร็จและเป็นคว้าแชมป์ครั้งแรกในรอบ 9 ปี ...
สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ นอกจากจะทำให้บอร์ดบริหารมั่นใจในแนวทางการสร้างทีมแบบเน้นแข้งดาวรุ่งมีศักยภาพแล้ว ดอร์ทมุนด์ ได้ส่งสัญญาณไปยังดาวรุ่งทั่วโลกว่า หากคุณดีจริง ไม่ว่าคุณจะซ่อนตัวอยู่ในลีกที่ไกลแค่ไหน ที่ ดอร์ทมุนด์ มีโอกาสมอบให้คุณเสมอ ... ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้น ชินจิ คางาวะ นักเตะวัย 20 ปี ที่เดิมทีเล่นในลีกระดับดิวิชั่น 2 ของ ญี่ปุ่น อย่าง เซเรโซ โอซากา แต่สุดท้าย คางาวะ ก็กลายเป็นตัวหลักในทีมดอร์ทมุนด์ได้อย่างไร้ที่ติ ด้วยราคาแค่เพียง 350,000 ปอนด์เท่านั้น
"การเซ็นสัญญานักเตะอายุน้อย ๆ หมายความว่าคุณจะยังไม่ได้นักเตะที่สมบูรณ์แบบรอบด้าน คุณต้องทำใจไว้ก่อนเลย พวกเขาจะต้องแสดงความผิดพลาดออกมาให้เห็นในบางเกม แต่คุณก็ต้องชั่งน้ำหนักเอา ประเมินหาความสมดุลและเส้นทางการพัฒนาพวกเขา ทุกการเสี่ยงมีรางวัลรออยู่ข้างหน้าเสมอ" มาร์คุส ปิลาวา หัวหน้าแมวมองของทีมกล่าวถึง DNA ของ ดอร์ทมุนด์ ยุคนี้
"เป่าหูคนสนิท” หลักการง่ายๆที่ได้ผลที่สุด
ว่ากันว่าในดีลการคว้า เจดอน ซานโช จาก แมนฯ ซิตี้ เมื่อฤดูกาล 2017-18 นั้นทำให้ เป๊ป กวาร์ดิโอลา หัวเสียเป็นอย่างมาก เพราะตัวของเขาต้องการให้นักเตะอยู่กับทีมต่อไปและบอกให้บอร์ดสโมสรยื่นข้อเสนอค่าเหนื่อยกว่า 30,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นค่าจ้างแพงสุดสำหรับนักเตะระดับเยาวชน ซึ่งตอนแรกนั้น ซานโช ตกลงเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะเซ็นสัญญาฉบับนี้ แต่สุดท้ายคดีก็พลิกไปอีกตลบจากการยุแยงโดยเอเย่นต์ของตัวนักเตะเอง
ศัตรูที่รัก ทำไมต้องขายให้บาเยิร์น
หตุผลแรกที่ โบรุสซีย ดอร์ทมุนด์ ขายนักเตะแก่ บาเยิร์น มิวนิค ในราคาถูกจนน่าตกใจ มาจากการซื้อขายนักเตะส่วนมากในบุนเดสลีกา ไม่ได้มีราคาแพงเหมือนลีกอื่น เช่น พรีเมียร์ลีก หรือ ลาลีกา เนื่องจากสโมสรในเยอรมันถูกควบคุมโดยกฎ 50+1 ปราศจากนายทุน หรือเศรษฐีจากตะวันออกกลาง เข้ามาเป็นนายทุนหนุนหลัง
การย้ายทีมของ มาริโอ เกิทเซ่ และ มัตส์ ฮุมเมิลส์ ด้วยราคาไม่ถึง 40 ล้านยูโร จึงถือเป็น "บิ๊กดีล" สำหรับการซื้อขายนักเตะภายในบุนเดสลีกา เนื่องจาก ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ต่างไม่ใช่ทีมเงินถุงเงินถัง จึงเป็นที่รู้กันว่า ในฟุตบอลเยอรมันจะไม่มีการโก่งราคานักเตะเกินจริง
อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ และ บาเยิร์น มิวนิค ซื้อขายนักเตะกันในราคาถูก มาจากความสัมพันธ์อันดีของผู้บริหารทั้งสองฝ่าย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นจากวันอันมืดหม่นของทีมดังจากแคว้นนอร์ทไรน์-เวสท์ฟาเลิน
ย้อนกลับไปในช่วงหน้าหนาวของฤดูกาล 2004-05 โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เสี่ยงต่อภาวะล้มละลาย หลังหุ้นของสโมสรมูลค่าตก 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการใช้เงินเกินตัว โดยหวังรายได้ตอบแทนจากค่าลิขสิทธิ์บอลยุโรป แต่การพลาดตั๋วยูฟ่า แชมป์เปียนส์ลีก ฤดูกาล 2003-04 ทำให้สโมสรติดหนี้มหาศาล
1
หนึ่งทีมที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ยามยาก คือ บาเยิร์น มิวนิค สโมสรจากแคว้นบาวาเรีย ที่เสนอเงินจำนวน 2 ล้านยูโร ให้ทัพเสือเหลืองนำไปยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อนำไปจ่ายค่าเหนื่อยนักเตะ ซึ่งเป็นภาระใหญ่ของสโมสร
นับแต่นั้น ความสัมพันธ์ของ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ และบาเยิร์น มิวนิค ดำเนินมาด้วยดีตลอด แม้ในวันที่ทั้งสองทีมก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งแย่งแชมป์บุนเดสลีกา ตลอดทศวรรษ 2010s ผู้บริหารทั้ง 2 สโมสร ยังคงทำงานร่วมกันในหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาฟุตบอลลีกเยอรมันอย่างยั่งยืน
และเป้าหมายที่ต้องการเห็นฟุตบอลเยอรมันแข็งแกร่ง นำมาสู่การซื้อขายแบบไม่เก็งกำไร ไม่โก่งราคา ระหว่าง โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ กัย บาเยิร์น มิวนิค ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลดีต่อใครที่ไหน หากไม่ใช่ 2 สโมสรแห่งนี้ ที่ต้องการพัฒนาสโมสรให้เดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืน
บทความ BY อู๋ FL
โฆษณา