Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คิด อย่าง สถาปนิก
•
ติดตาม
3 มี.ค. 2021 เวลา 02:09 • ศิลปะ & ออกแบบ
ที่นี่..สะอาด สว่าง สงบ
ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่เว้นแม้กระทั่งสมณะเจ้า
แล้วสถานที่พักของเพศบรรพชิตเช่นนี้ควรเป็นเช่นไร?
การใช้ความรู้ทางสถาปัตยกรรมให้แก่ผู้ใช้อาคารได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำเป็นกับพระเณรหรือไม่?
แค่ไหนคือเกินเลย?
แค่ไหนคือจำเป็น?
คำถามเหล่านี้วนเวียนอยู่ในความคิดของ สการ จัยวัฒน์ สถาปนิกผู้ที่ถูกชักชวนให้มารับหน้าที่ออกแบบสร้างหอพักให้กับกลุ่มเณรจำนวน 40 รูปที่มาบวชเรียนกับวัดป่าพุทธนิมิต อำเภอกุดชุม อุดรธานี
1
“ผมเคยคิดตั้งแต่เด็กแล้วว่า สถาปัตยกรรมที่ดีควรรับใช้คนทุกรูปแบบ หัวใจของสถาปัตยกรรมที่ดีคืออะไร?
ก็คือพื้นที่ แสง ลม อากาศ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติที่เราต้องกักเก็บไว้ในสถาปัตยกรรมของเราให้ได้ ไม่ว่าจะใช้วัสดุราคาแพงหรือราคาถูก”
เมื่อตกลงรับงาน เขาตัดสินใจชักชวนเพื่อนอีกสองคนคือ 'วิธี วิสุทธิอัมพร' และ 'รินะ ชินโด' มาร่วมงานที่น่าสนใจนี้
จากการสำรวจพื้นที่ ทั้งสามมีความเห็นว่า
เพื่อประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้าง อาคารเก็บของร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสามารถที่จะนำมาปรับปรุงทำเป็นหอพักได้
ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้อาคารร้างที่มีสภาพทึบอับให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการจำวัดของพระเณร
ทั้งสามเริ่มจากการสำรวจความคิดเห็นของพระเณรที่เป็นผู้ใช้สอย และเมื่อได้ข้อสรุป ก็นำไปสู่รูปแบบการปรับปรุงอาคาร
ผู้ออกแบบสร้างกำแพงสีขาวขึ้นเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้แก่หอพัก โดยใช้วัสดุเป็นอิฐบล็อกช่องลมที่บิดมุมเล็กน้อยเพื่อบังสายตาแต่อากาศยังสามารถ่ายเทได้
1
ผนังที่ทึบตันในตำแหน่งของทิศทางลมเปลี่ยนเป็นช่องหน้าต่าง ยกหลังคาให้สูงขึ้นเกิดเป็นที่ว่างที่โปร่งโล่ง หลังคาใสถูกใส่ลงในตำแหน่งที่ผ่านการคิดคำนวนให้เกิดเป็นแสงที่พอเหมาะ
เปลี่ยนสภาพอาคารเดิมที่ทึบอับเป็นที่พักอาศัยที่โปร่ง มีแสงสว่างที่เหมาะสม และอากาศถ่ายเทได้ดี
เงินงบประมาณที่เหลือ นำไปสร้างเป็นอาคารหอสมุดด้านข้างกับอาคารที่เหล่าเณรใช้เป็นที่เล่าเรียนหนังสือ พื้นอาคารหอสมุดถูกยกระดับขึ้นให้เท่ากับอาคารเรียนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการใช้งาน
1
ข้อดีของการยกพื้นทำให้อากาศที่พัดผ่านใต้ถุน ช่วยระบายความร้อนให้กับพื้นที่อีกทั้งยังป้องกันปลวกได้ง่ายขึ้น
ช่องแสงด้านข้างถูกออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่รับแสงที่ตกกระทบจากอาคารข้างเคียง ทำให้แสงที่ส่องเข้ามาเป็นแสงที่นวลตาและไม่ส่งผลกระทบการเก็บรักษาหนังสือ
การออกแบบที่พยายามให้สอดคล้องกับการใช้งานโดยที่คำนึงถึงสุขภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ก่อให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย
ความเรียบง่ายก่อให้เกิดเป็นความงาม เป็นความงามในเนื้อหา ในการใช้งาน
เมื่อตัดสิ่งรุงรังเกินเลยออกไป จึงเกิดเป็นความสะอาด
เมื่อทลายสิ่งทึบตันติดขัด จึงเกิดเป็นความสว่าง
และเมื่อไม่จำเป็นดิ้นรนเสาะหา จึงเกิดเป็นความสงบ
บางครั้ง ชีวิต ก็ง่ายๆเช่นนี้ ...
ขอบคุณภาพจาก
designboom.com
archdaily.com
readthecloud.co
***********************************
สำหรับเพื่อนๆ Blockdit ที่สนใจแนวอื่น ผมมีเขียนลงอีก 2 เพจคือ
๏ 'Bear's Books' = ข้อคิดดีๆที่ได้จากการอ่าน
https://www.blockdit.com/pages/5f0722648a4fb21c7cad9c7c
๏ 'Bear's Blog' = ภาพถ่ายกับมุมมองของชีวิต ในรูปของ บทกลอน เรื่องสั้น หรือ ไฮกุ และ คอลัมน์ การ์ตูนกวนเมือง
https://www.blockdit.com/pages/5df75e4addcb921b7b39da1d
ขอเชิญชวนให้เข้าไปแวะชมนะครับ
เผื่อจะมีบางข้อเขียนที่อาจถูกใจ
ฝากติดตาม หรือ แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ครับ
หรือใครสนใจเฉพาะภาพถ่าย
ลองเข้าไปดูและกดติดตามได้ใน
ig : khanaad_photo นะครับ
แล้วพบกันนะครับ
4 บันทึก
25
5
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คิดแบบ ไท้ไทย
4
25
5
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย