Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Machine Logic
•
ติดตาม
3 มี.ค. 2021 เวลา 04:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EP5: สินทรัพย์เพื่อการลงทุน ภาค 1
สินทรัพย์ลงทุน part1
สวัสดีครับทุกท่านหลังจากที่เราอธิบายภาพรวมของการจัดพอร์ทในรูปแบบทีมฟุตบอลกันไปใน
EP4: ก้าวแรกสู่สนามลงทุน มาทำความเข้าใจการจัดพอร์ทลงทุนกัน
https://www.blockdit.com/posts/603251eec25e900bd6f3477d
เชื่อว่าทุกคนคงได้เริ่มเห็นไอเดียการจัดพอร์ทให้เหมาะสมกับวัยของตัวเองแล้ว แต่หลายคนคงอ่านแล้วเริ่มสงสัยว่าเอ๊ะ แล้วเวลาเราจะเปิดพอร์ทซื้อหุ้น หรือกองทุน เราจะบอกเขาว่าเราซื้ออะไร เดี๋ยววันนี้จะมาแนะนำสินทรัพย์การลงทุนผ่านภาพทีมฟุตบอลกันต่อครับ ว่าตัวไหนจัดเป็นผู้รักษาประตู กองหลัง กองกลาง กองหน้า เราขอแบ่งเรื่องนี้ออกเป็น 2 ตอนครับ หลังจากจบทั้ง 2 ตอนนี้ไปแล้วทุกคนน่าจะพอเข้าใจแล้วว่าผู้เล่นแต่ละตำแหน่งของเราแท้จริงแล้วเป็นสินทรัพย์ลงทุนอะไร
จุดประสงค์ของผู้เล่นแตละตำแหน่ง
ทบทวนความเข้าใจจากจุดประสงค์ของแต่ละตำแหน่งกันอีกทีครับ จะเห็นว่าสิ่งที่เราต้องการจริงๆก็คือปกป้องความมั่งคั่งของเรา เงินที่เราอุตส่าหามาได้ ถ้าเหลือจากการดำรงชีวิต และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในเร็ววันแล้ว เราก็อยากให้เงินที่ว่างๆอยู่ออกไปเติบโต นี่จึงเป็นที่มาที่น่าจะต้องแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆตามหน้าที่ของเงินแต่ละกอง เพื่อบรรลุเป้าหมายใหญ่ของเราซึ่งก็คือการไปถึงอิสระภาพการเงิน
สินทรัพย์ลงทุน ในรูปแบบทีมฟุตบอล
มาเริ่มกันที่ผู้รักษาประตูก่อน ผู้รักษาประตูจะเน้นไปที่การ “ปกป้องโอกาสที่เงินของเราจะถูกใช้ไปจนหมด” ผู้เล่นในตำแหน่งนี้ก็คือ ประกัน และเงินสำรอง ทั้งประกันและเงินสำรอง เหมือนกันตรงที่เงินส่วนนี้จะถูกใช้ยามเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เราไม่ได้เตรียมตัว ไม่ได้เผื่อเงินเอาไว้ เป็นเหตุฉุกเฉิน เช่นเราเกิดอุบัติเหตุต้องได้รับการผ่าตัด ถ้าเราไม่มีสวัสดิการ หรือประกันไว้รองรับ เงินสดที่หามาได้ก็มีสิทธิ์ถูกใช้ไปจนหมดกับการรักษาพยาบาล หรือเหตุการณ์อื่นที่เหนือความคาดหมายอีกมากมายเช่น ถูกเลิกจ้างกระทันหัน พ่อแม่ป่วย ลูกต้องใช้เงินฉุกเฉิน ประกันและเงินสำรองจะทำหน้าที่เป็นที่รองรับความเสี่ยงเหล่านี้เอง เปรียบเสมือนผู้รักษาประตูที่คอยเซฟความมั่งคั่งของเราไว้ไม่ให้โดนโจมตีได้ง่ายๆนั่นเอง เราจะไม่พูดส่วนนี้แล้วครับ ลองย้อนไปดู EP2, EP3 และ EP4 ได้เลย
ถัดมาเป็นกองหลัง จะเน้นไปที่ “ความเสี่ยงต่ำแต่ชัวร์” ส่วนใหญ่กองหลังก็จะเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝาก ไม่ว่าจะเป็นออมทรัพย์ ฝากประจำ และตราสารหนี้ เพราะทั้งสองอย่างนี้ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ และมีการบอกล่วงหน้าว่าจะได้รับดอกเบี้ยเท่าไหร่จากเงินดังกล่าวชัดเจน เค้าเรียกว่า fixed income
อ่านมาถึงตรงนี้คงงงว่าตราสารหนี้คืออะไร? จะพูดให้เข้าใจง่ายที่สุด ตราสารหนี้คือ “การปล่อยกู้” นั่นเอง ถ้าเอาเงินของเราให้รัฐกู้ ก็เรียกว่าพันธบัตรรัฐบาล รัฐก็จะบอกว่าพันธบัตรอายุกี่ปี ดอกเบี้ยปีละเท่าไหร่ เราก็มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐ ชื่อตราสารก็จะเป็นพันธบัตรรัฐบาลบ้างหละ ตั๋วเงินคลังบ้างหละ หลากหลายชื่อ ตามแต่เงื่อนไขการให้ดอกเบี้ย และจำนวนอายุของพันธบัตรที่ออกมาแต่ละครั้ง
ตราสารหนี้(bond)
แต่ถ้าเอาเงินของเราไปให้เอกชนกู้ เราก็จะเรียกสิ่งนี้ว่า “หุ้นกู้” นั่นเอง น่าจะเคยได้ยินกันนะครับ เราก็จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทเองชนนั่นเอง แล้วเขาก็จะให้ผลตอบแทนเราเป็นดอกเบี้ยกี่เปอร์เซนต์ก็ว่ากันไป อายุกี่ปีก็ว่ากันไป รวมๆเลยทั้ง พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ เขาเรียกว่า ตราสารหนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า บอนด์(bond)
ความเสี่ยงของตราสารหนี้จริงๆก็มีหลายอย่าง แต่เอา “ความรู้สึก” ที่นักลงทุนมีต่อมันเลยจริงๆก็คือ เสี่ยงน้อยและผลตอบแทนน้อย ยิ่งรัฐเป็นลูกหนี้ก็มีสิทธิ์ผิดชำระหนี้เราน้อย ส่วนถ้าเป็นฝั่งเอกชนเป็นลูกหนี้เรามันก็จะมีหุ้นกู้เกรดต่างๆ ตั้งแต่ AAA, AA, A, BBB, BB, B
บริษัทไหนเครดิตดีก็ หุ้นกู้ก็น่าเชื่อถือ ผลตอบแทนก็อาจจะไม่สูง เพราะบริษัทมีความน่าเชื่อถือ ตรงข้ามกับบริษัทที่เครดิตน่าเชื่อถือรองลงมา ก็อาจจะจูงใจนักลงทุนด้วยผลตอบแทนที่สูงกว่า แลกกับเครดิตบริษัทที่น้อยลง เสี่ยงสุดๆก็คือบริษัทผิดชำระหนี้ ดังนั้นเรื่องนี้ไม่ยากมาก ดูตามเกรดของตราสารหนี้ได้เลย แล้วเลือกตามความเสี่ยงที่เรารับได้ ปกติแล้วผลตอบแทนเจ้าตราสารหนี้ต่อปีก็จะพอๆกับเงินฝาก 1-3% ไปจนถึง 7-8% ได้เลย สำหรับบริษัทที่มีเครดิตน้อย
ทีนี้พอจะเดาออกหรือยังครับว่า “กองทุนรวมตราสารหนี้” เอาเงินเราไปบริหารอย่างไร? ใช่ครับก็เอาเงินของเราไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือซื้อหุ้นกู้เอกชน เพื่อรับผลตอบแทนในรูป fixed income นี่แหละ ถ้าเราเข้าไปซื้อเองก็อาจจะอ่านข้อมูล bond แต่ละตัวเยอะหน่อย แต่ถ้าเราไปซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้เราก็ไม่ต้องเลือก bond เอง ให้กองเขาเลือกให้ อีกอย่างนึงบริษัทเอกชนที่ว่าก็เป็นได้ทั้งบริษัทในประเทศ และต่างประเทศนะครับ
ดังนั้นถ้าไปซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ ก็ให้ดูนโยบายการลงทุนดีดีครับว่าเขาจะ “จัดพอร์ท” ยังไง ความหมายคืออาจมีการผสมซื้อทั้งพันธบัตรและหุ้นกู้ หรือเป็นหุ้นกู้ในประเทศส่วนนึงต่างประเทศอีกส่วนนึง กองทุนแต่ละกองก็กำหนดนโยบายชัดเจนว่าจะลงแต่ละส่วนกี่เปอร์เซนต์ แต่รวมๆแล้วผลตอบแทนก็ไม่หนีไปจากที่บอกไปครับ 3-6% ต่อปีโดยเฉลี่ย
อีกอย่างที่พูดข้ามไปก็คือมีกองทุนอีกประเภทที่เอาเงินเราไปฝากเพื่อกินดอกเบี้ย ก็คือลงทุนในผลิตภัณฑ์เงินฝาก และตราสารหนี้ระยะสั้น(อายุไม่เกิน 1ปี) กองทุนประเภทนี้เรียกว่า “กองทุนรวมตลาดเงิน” ผลตอบแทนคาดหวังต่อปีก็ 1-3% ต่อปี หรือตามดอกเบี้ยนโยบายปีนั้นๆ กองทุนประเภทนี้เหมาะกับการเอาเงินสดไว้พัก เช่นเงินสำรองฉุกเฉิน หรือเงินที่พักรอซื้อหุ้น ดีกว่าการฝากเงินไว้ที่ธนาคารในแง่ที่ว่าดอกเบี้ยเงินฝากปกติเราอาจจะได้รับทุก 6 เดือน แต่ถ้าเอาเงินก้อนนี้ไปซื้อกองทุนรวมตลาดเงินดอกเบี้ยจะขึ้นทุกวัน วันละ 0.xx% ขายวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้รับเงินแล้ว เค้าเรียกว่า สภาพคล่อง T+1 (ขายแล้วได้เงินวันถัดไป)
กองทุนรวมตลาดเงิน(Money Market Fund)
หน้าที่ที่คาดหวังของกองทุนรวมตลาดเงินเลยก็คือ “พักเงินไว้ชดเชยเงินเฟ้อ” เพราะทุกๆวันเงินของเราด้อยค่าลง การนำเงินไปฝากไว้ที่กองทุนรวมตลาดเงินก็เสมือนทำให้เงินของเรา ไม่ด้อยค่าลง หรือด้อยค่าช้าลงนั่นเอง ไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้ทำกำไรแต่อย่างได เมื่อเงินก้อนนั้นมีเหตุต้องใช้ก็จะไม่ถูกเงินเฟ้อกัดกินค่าให้ด้อยลง
เอาหละครับวันนี้ตัดจบกันแค่นี้ก่อนดีกว่า เพราะบทความยาวมาก สรุปเลยว่า
วันนี้เราได้รู้จักผู้รักษาประตู ก็คือ “ประกันและเงินสำรอง” มีไว้กันเหนียว
เราก็รู้จักกองหลังซึ่งมีหน้าที่แค่พักเงินอย่าง “กองทุนรวมตลาดเงิน”
หรือผลตอบแทนสูงขึ้นมาอีกนิดก็เป็นการเอาเงินไปปล่อยกู้ให้ทั้งรัฐหรือเอกชนซึ่งเราเรียกว่า “ตราสารหนี้” จริงๆแล้วตราสารหนี้ระยะสั้น(ไม่เกิน 3 ปี) ก็เริ่มเป็นกองกลางตัวรับแล้ว และตราสารหนี้ระยะยาวก็จะเริ่มเป็นกองกลางตัวรุกเพราะให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ
หวังว่าวันนี้จะไม่หัวบวมกันไปซะก่อนนะครับ ไว้ตอนหน้าเรามารู้จักกองกลางอย่างหุ้น และกองหน้าตัวอื่นๆต่อ ซึ่งจริงๆแอบสปอยไปในรูปแล้วแต่เดี๋ยวมาอธิบายให้ชัดๆกันอีกต่อนึงครับ
สำหรับคำถามในสัปดาห์ที่แล้วที่ถามทิ้งไว้ว่าสำหรับ cryptocurrency อยู่ในหมวดกองหน้า กองกลาง กองหลัง หรือผู้รักษาประตู ขอสปอยตอบก่อนเลยว่า “ตามความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เราเห็น” เรามองว่า cryptocurrency เป็นกองหน้าครับ เหตุผลเดี๋ยวมาว่ากันตอนหน้า แล้วเจอกันครับ กด like กด ติดตามรอบทความสร้าง wealth กันได้เลย
“May the Wealth be with You”
— Machine Logic —
https://www.facebook.com/machinelogics
บันทึก
2
6
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย