2 มี.ค. 2021 เวลา 19:09 • ความคิดเห็น
วันนี้ตั้งแต่เช้า clubhouse ที่เมืองไทยปรับตารางกันให้วุ่น พยายามเลี่ยงไม่ให้เวลาไปคาบเกี่ยวตรงกับช่วง 21.30 ซึ่งเป็นเวลาที่พี่ Tony จะมาให้คำปรึกษากับ SMEs
3
ห้องใน clubhouse รับได้แค่ 8 พันคนต่อห้อง เต็มก่อนที่จะเริ่มงานเสียอีก จึงมีห้องถ่ายทอดเสริมเพิ่มอีก 3 ห้อง เต็มทุกห้อง บ่งบอกให้รู้ว่าผู้คนตื่นเต้นกันขนาดไหน นี่เป็นการโผล่บน Clubhouse ครั้งที่สองของพี่โทนี่
1
แต่เมื่อเวลาผ่านไปชั่วโมงเดียว คนในห้องสำรองบางห้องก็ค่อย ๆ leave quietly จนโหรงเหรง... ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น??
❌ยืด - ย้วย - และไม่มีอะไรใหม่❌
คือคำจำกัดความสำหรับการ “ทน” ฟังตลอด 2 ชั่วโมง
30-40 นาทีแรกพี่โทนี่ร่ายยาวเกี่ยวกับประวัติการสร้างเนื้อสร้างตัวจากศูนย์จนกลายเป็นเศรษฐีหมื่นล้าน ซึ่งว่ากันตามจริง ชีวประวัติพี่โทนี่ เราผ่านตามาจากทั้งหนังสือและการสัมภาษณ์มาไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยครั้งแล้ว ผู้คนคาดหวังว่าพี่โทนี่จะพุ่งมุ่งตรงมาให้คำปรึกษากับ SMEs ไทย มากกว่าที่จะมานั่งรำลึกความหลัง PR ตัวเอง ทั้ง ๆ ที่เรารู้กันอยู่แล้ว
ต่อมาพี่โทนี่วิเคราะห์เทรนด์โลกจะไปในทิศทางไหน Health Tech กำลังมาบลา ๆๆ ซึ่งถ้าได้อ่าน content เกี่ยวกับธุรกิจ กลยุทธ์ วิสัยทัศน์โลก บน FB / BD อยู่ประจำ หรือแม้แต่ฟัง Podcast ช่อง Mission to the moon อยู่ทุกวัน ก็จะรู้เลยว่า ที่พี่โทนี่พูดมานั้นไม่มีอะไรใหม่
สรุปแล้ว ผ่านไปหนึ่งชั่วโมงกว่าจับได้สองประเด็น
ถ้าอยากให้ประเทศไทยมี SMEs หรือ Startup ที่สู้ชาวโลกได้
3
1. ควรส่งเสริมด้าน Creativity economy และ เกษตรกรรมที่นำเทคโนโลยีมาใช้
2.ควรหาพื้นที่ให้เด็กหรือคนรุ่นใหม่ได้สุมหัว Brain strom ได้มากกว่านี้ หรือสนับสนุนให้ทุนกับกลุ่มอาจารย์และศิษย์ประดิษฐ์นวตกรรมใหม่ขึ้นมา อ้อ พี่โทนี่ยังบอกอีกว่า ควรให้เด็กหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่ ป 5 ป 6 (อันนี้เห็นด้วย)
3
พอมาถึงช่วงให้ผู้ฟังยกมือ เพื่อขอคำปรึกษาในฐานะ SMEs แต่ที่น่าผิดหวังก็คือ Moderator ที่เป็นผู้คุมการสนทนากลับเลือกนักข่าวขึ้นมาถามเสีย 80% อีก 20% ถึงจะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก
2
นั่นไม่ใช่เรื่องน่าผิดหวังมากนัก แต่คำตอบของพี่โทนี่ต่างหาก ที่ยังไม่คม ไม่ตรงประเด็น ไม่เข้าเป้า หนักไปทางการกล่าวอ้างย้อนหลังกลับไปยังผลงานเก่า ๆ ของตนเอง (หรือของอดีตนายกยิ่งลักษณ์) ด้วยการพูดยืดเยื้อ ยืดย้วยน่าเบื่อ
เคน นครินทร์ จาก The Standard ได้มีโอกาสยกมือถามคำถามที่อยู่ในใจใครหลาย ๆ คนว่า เราจะแก้ไขวงจรปลาใหญ่กินปลาเล็ก ช่องว่างทางโอกาสของบริษัทเล็กกับบริษัทใหญ่ได้อย่างไร
2
พี่โทนี่ตอบว่า มันเป็นธรรมชาติของการแข่งขันในระบบทุนนิยม ไม่ใช่แค่ในเมืองไทย แต่เป็นทั้งโลก สิ่งที่จะทำได้คือ รัฐบาลต้องควบคุมปกป้อง สมัยที่เคยดำรงตำแหน่งนายกพี่โทนี่เคยทำมาก่อน โดยการต้องเดินทางไปนู่นไปนี่ ไปต่อรองกับประเทศนู้นประเทศนี้ บลา บลา บลา ... โอเค้ ... (ไม่รู้เคนได้อะไรกลับไปหรือไม่)
7
แล้วก็มีคนยกมือถามหาไอเดีย หรือขอแนวทางในการเปิดบริษัท ว่าควรมุ่งทางไหนดี อันนี้น่าขัดใจ ไม่ใช่ขัดใจพี่โทนี่นะ แต่ขัดใจคนถามนั่นแหละ
2
ฟังมาตั้งนานยังไม่รู้อีกหรือว่าหน้าที่คุณคือคิดไอเดีย แล้วมาถามพี่โทนี่ว่าโอเคมั้ย ไม่ใช่มาถามขอไอเดีย เฮ้ออออ เสียเวลา จนจบ 2 ชั่วโมงยังไม่เห็นคำถามประเภทนั้นเลย
1
สรุปว่าการเสวนาครั้งนี้ไม่สมกับหัวข้อที่ว่า "​SMEs มีปัญหาปรึกษาพี่โทนี่"
1
เพราะ SMEs แทบไม่ได้ปรึกษา
และพี่โทนี่ก็แทบจะช่วยอะไรไม่ได้เลย ตอบคำถามแต่ละครั้งก็แสดงแต่วิสัยทัศน์อันจับต้องยาก หรือประสบการณ์ในอดีต ที่คนฟังแทบจะเอาไปทำอะไรต่อไม่ได้ แถมตัวแกเองก็ย้ำอยู่ตลอดว่า อยู่ไกลไม่มีอำนาจ อายุเยอะแล้ว
6
แต่ถ้ามองในมุม PR ก็ถือว่าครั้งที่ 2 ในการปรากฎตัวขึ้นมาบน Clubhouse นั้น ได้ใจมวลชนในแง่ วิสัยทัศน์จากผู้ที่อยู่ในระดับเคยปกครองประเทศ แบบที่เราไม่เคยได้ยินจากผู้นำคนปัจจุบัน ภาพลักษณ์ที่ใกล้ชิดกันได้ จับต้องกันได้ แถมใช้ศัพท์แสงวัยรุ่นอย่างคำว่า "ขิง" อยู่สามสี่ครั้ง
2
แม้คนฟังจะแทบไม่ได้อะไร และต้องอดทนฟังเผื่อว่าอาจจะได้อะไร (แต่ก็ไม่) จนจบสองชั่วโมงครึ่ง แต่คนที่ได้แน่ ๆ ก็คือพี่โทนี่ ที่มีโอกาสได้ประชาสัมพันธ์ทั้งผลงานเก่า และผลงานใหม่ (ที่ลงทุนทางด้าน healthtech) และดึงสปอร์ตไลท์ให้ส่องมาที่ตนเองหลังจากที่เงียบหายไปเสียนาน
2
เฮ้ออออ
ดีว่ากิมจิที่หมักไว้เมื่อสองวันก่อนได้ที่แล้ว วันนี้จึงหยิบรามยอนรสกิมจิขึ้นมาปรุงรอ ใส่เบคอนลงไปเขย่า ๆ ในน้ำซุปเดือด ตักผักกาดขาวดองที่หมักจนได้รสดี หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ตักน้ำหมักกิมจิและผักซอยดองอื่น ๆ ลงไป อื้มมมมม อร่อยเหมือนไปนั่งกินกับจุงกิ 🍜
4
แม้พี่โทนี่จะทำให้ฉันเซ็งแค่ไหน รามยอนกิมจิก็ช่วยทำให้เวลาสองชั่วโมงนั้นไม่แย่จนเกินไปนัก หวังมากว่าคณะทีมภาพพจน์ของพี่โทนี่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นในคราวต่อไป (เข้าใจว่าคงบ่นกันหนาหูทั้งใน Twitter และใน Facebook)
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา