3 มี.ค. 2021 เวลา 04:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มาตรฐานการเชื่อมเหล็กที่ดีเป็นอย่างไร
งานไม้ งานปูน งานเหล็ก ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างชนิดไหนๆ งานฝีมือที่กว่าจะฝึกฝนจนชำนาญนั้นยากเสมอ โดยเฉพาะงานเหล็ก อันมาพร้อมกับงานท้าทายที่สุดที่คงหนีไม่พ้นงานเชื่อม ซึ่งนอกจากจะต้องใช้การทำบ่อยๆ จนมีเทคนิคเฉพาะตัว ความชำนาญกับการใช้เครื่องมือ จนถึงความคุ้นเคยกับธรรมชาติของเหล็ก และการลงมือเชื่อมให้ได้ระยะที่พอดีต่อเนื่องโดยไม่ผิดพลาด (เพราะเป็นงานที่ไม่อาจกลับไปแก้ไขได้อีก) ซึ่งกล่าวได้ว่า ท้าทายช่างเหล็กอยู่เสมอในทุกๆ ครั้งที่ทำงาน
รูปแบบการเชื่อม
โดยสัญลักษณ์ที่ว่านี้ มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ไว้ใช้สื่อสารข้อมูลที่ต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องของฝีมือแล้ว งานเชื่อมเหล็กยังมีมาตรฐาน สื่อสารผ่านสัญลักษณ์ที่จะปรากฏในแบบก่อสร้าง เป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะช่วยสร้างมาตรฐานให้กับการทำงาน ซึ่งผู้รับเหมาหรือช่างสามารถยึดถือสัญลักษณ์และวิธีการเหล่านี้เป็นเครื่องมือเดียวกันในการสื่อสารได้ เพื่อนำงานเชื่อมไปสู่มาตรฐานที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
1 ) สัญลักษณ์ทางงานเชื่อม
เป็นสัญลักษณ์อ้างอิงมาตรฐานการเชื่อมจากอเมริกา (American Welding Society หรือ AWS) โดยเป็นสัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนงานเหล็ก หรือเชื่อมอุด แบ่งเป็นการต่อชนทั้งสิ้น 12 แบบ
1
2 ) ตำแหน่งการเชื่อม (Welding Position)
แบ่งออกเป็น 4 ตำแหน่ง
ตำแหน่งทางราบ
ท่าราบ (Flat Position)
เป็นท่าเชื่อมมาตรฐานที่ง่ายที่สุด โดยเป็นการเชื่อมชิ้นงานซึ่งวางราบขนานอยู่บนพื้น
ท่าขนานนอน (Horizontal Position)
เป็นท่าเชื่อมแนวนอน ของงานที่วางขนานบนแนวตั้ง หรือเป็นผนัง ข้อควรระวังคือแรงดึงดูดของโลกจะทำให้เกิดรอยแหว่ง (Undercut) บริเวณขอบด้านบนของรอยเชื่อมท่าขนานนอน (Horizontal Position)
ท่าตั้ง (Vertical Position)
คล้ายกับท่าขนานนอน แต่เป็นท่าเชื่อมแนวดิ่ง ของงานที่วางขนานบนแนวตั้ง หรือเป็นผนัง แรงดึงดูดของโลกจะทำให้เกิดรอยแหว่งได้เช่นกันตามทิศทางการเชื่อม ลง หรือ ขึ้น
ท่าเหนือศีรษะ (Overhead Position)
เป็นท่าเชื่อมชิ้นงานที่อยู่เหนือศีรษะ ซึ่งท้าทายที่สุดในบรรดางานเชื่อมทั้งหมด นอกจากข้อผิดพลาดหรือรอยแหว่งจะเกิดขึ้นได้ง่าย ยังอาจเกิดอันตรายจากสะเก็ดไฟและเหล็กที่หลอมละลายอีกด้วย
3 ) สัญลักษณ์งานเชื่อมอื่นๆ
เป็นสัญลักษณ์สื่อสารถึงพื้นผิวเชื่อมแบบต่างๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นบนชิ้นงาน เช่น ต้องการให้เป็นรอยแบบราบเรียบ หรือนูน หรือเว้า รวมถึงรูปแบบการแต่งผิวรอยเชื่อมที่ต้องการ ได้แก่ M ใช่เครื่องจักร G ใช้หินเจีย C ใช้สกัด F ใช้เปลวไฟ
นอกจากนั้น การดูแลเตรียมผิวเหล็กก่อนทำงานเชื่อมก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มมาตรฐานของงานเชื่อมเหล็กให้มีมากขึ้น โดยควรทำพื้นผิวให้สะอาด ทำความสะอาดน้ำมันกันสนิมหรือจาระบีออกให้หมดก่อนทำงาน ขัดผิวเหล็กให้เรียบ และควรทาสีรองพื้นก่อนเชื่อมโดยเฉพาะในส่วนที่จะเกิดมุมอับที่จะทาสีหลังเชื่อมไม่ได้อีก
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัญหาที่หน้างาน สามารถเลือกสินค้าเหล็กที่ทำพื้นผิวและทำสีป้องกันสนิมมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ เหล็ก SYS PRIMERBOND(เอส-วาย-เอส ไพรเมอร์บอนด์) เหล็กที่ถูกพัฒนามาเพื่อลดเวลาและกระบวนการเตรียมเหล็กหน้างานที่อาจไม่ได้มาตรฐาน โดยเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนที่เตรียมผิวและทำสีป้องกันสนิมมาเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน ซึ่งผู้ใช้งานจะได้เหล็กที่มีมาตรฐานในการทำสี โดยมีให้เลือก 3 รุ่น ตามสภาวะแวดล้อมของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง  ซึ่งเหล็ก SYS PRIMERBONDจะช่วยลดปัญหาจากฝีมือคนได้อีกขั้นหนึ่ง
#SYSH-Beam #SYSเหล็กดีที่คุณไว้ใจ #เลือกที่มั่นใจ
1
TAG :
บริการงานโครงสร้างเหล็ก, งานออกแบบโครงสร้างเหล็ก, งานแปรรูปเหล็ก, งานติดตั้งโครงสร้างเหล็ก, SYS PRIMERBOND, Coated Sheet Pile, Galvanized Steel, Coating Steel Services, Parking Solution, Carpark Solution, Underground Work Solution, Steel Solution Projects, Steel Solution Contact
เครดิต​ SIAM​ YAMATO.STEEL
โฆษณา