3 มี.ค. 2021 เวลา 11:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก Reflation หนึ่งในปัจจัย ที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น
1
การระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้
สร้างความบอบช้ำอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
แต่หลายคนคงแปลกใจว่า เศรษฐกิจไม่ดีแต่ทำไม ราคาสินทรัพย์หลายอย่างทั่วโลกกลับพุ่งสูงขึ้นทำลายสถิติกันเป็นว่าเล่น
2
ถ้าลองมาดูราคาและดัชนีเหล่านี้ เทียบกับช่วงต้นปี 2019
- ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้นประมาณ 23%
- ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นประมาณ 47%
- ราคาทองคำ เพิ่มขึ้นประมาณ 18%
- ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นประมาณ 400%
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เราสามารถหยิบเอาปรากฏการณ์ “Reflation” ขึ้นมาใช้อธิบายได้
1
Reflation คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์หลายอย่างนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปกติแล้ว ถ้าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้า
หรือที่เรียกว่า การเกิดภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)
แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ อย่างเช่นวิกฤติโควิด 19 ในตอนนี้
ที่ทำให้ต่างคนต่างไม่กล้าใช้เงินเหมือนเดิม
สิ่งที่เราเห็นกันคือ ผู้คนเริ่มระมัดระวังเรื่องการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
หรือภาคธุรกิจไม่กล้าลงทุน เพราะต้องการถือเงินสดเอาไว้
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ตามมาด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ลดต่ำลง
จนบางครั้งเงินเฟ้ออาจติดลบ หรือที่เรียกว่าเกิดภาวะเงินฝืด (Deflation)
ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจโลกไม่เติบโต หรือเติบโตได้ช้าลง
3
เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ หน้าที่ของธนาคารกลางทั่วโลก
คือต้องออกมาตรการกระตุ้น เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว และกลับมาเติบโตต่อไปได้
1
โดยสิ่งที่ธนาคารกลางทำได้ก็คือ
1. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจ
2. ทำการอัดฉีดเงินมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า การทำ Quantitative Easing (QE)
3
ช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นธนาคารกลางทั่วโลก
ต่างลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจนเข้าใกล้ระดับ 0%
เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจ
และลดผลตอบแทนเงินฝาก เพื่อกระตุ้นให้คนนำเงินไปใช้กันให้มากขึ้น
3
ที่สำคัญที่สุดคือการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ
หรือที่เรียกว่า การทำ Quantitative Easing (QE)
ที่ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังทำกันอย่างหนัก
1
ลองมาดูการทำ QE ของธนาคารกลาง 4 รายใหญ่ของโลกในช่วงระหว่างปี 2020
ซึ่งเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19
ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ทำ QE เพิ่มขึ้น 93 ล้านล้านบาท
ธนาคารกลางยุโรปทำ QE เพิ่มขึ้น 87 ล้านล้านบาท
ธนาคารกลางญี่ปุ่นทำ QE เพิ่มขึ้น 39 ล้านล้านบาท
ธนาคารกลางอังกฤษทำ QE เพิ่มขึ้น 9 ล้านล้านบาท
Cr. Bloomberg
โดยวิธีการดังกล่าว ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐและเอกชน
แล้วหน่วยงานเหล่านั้น ก็จะนำเงินไปกระตุ้นภาคเศรษฐกิจจริงต่อไป
เพื่อหวังให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้น และการจ้างงานเพิ่มขึ้น ในระบบเศรษฐกิจ
การกระทำทั้งหมดที่ว่ามานี้
ก็เพื่อเร่งให้เศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อกลับเข้าไปสู่เส้นทางการเติบโตระยะยาว
1
ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้น
เพราะการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก
เพื่อหวังให้เศรษฐกิจกลับสู่การเติบโตในระยะยาวแบบนี้
ก็คือความหมายของการเกิด “Reflation” นั่นเอง
7
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า เงินที่อัดฉีดทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ในภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) เพราะเงินจำนวนไม่น้อยกลับไหลเข้าไปยังสินทรัพย์ทั่วโลกมากขึ้น
4
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า การอัดฉีดเงินเข้าระบบจำนวนมาก
ทำให้ค่าของเงินสกุลนั้นอ่อนค่าลง
1
อย่างเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการทำ QE ในปริมาณมหาศาล
เมื่อรวมกับ การที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้มาตรการทางการคลัง
ด้วยการอัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19
3
จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงไปอย่างมาก จากต้นปี 2019 เมื่อไปเทียบกับเงินสกุลเงินสำคัญต่างๆ ของโลก
ประเด็นก็คือ ในปัจจุบันมีคนถือเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่จำนวนมาก
เพราะดอลลาร์สหรัฐถือเป็นเงินสกุลหลักของโลก
ซึ่งการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนที่ถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ เสมือนกำลังถือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง
4
พอเรื่องเป็นแบบนี้ นักลงทุนจึงต้องมองหาสินทรัพย์อื่น
ที่จะเอาเงินไปลงทุน เพื่อชดเชยกับการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นอ่อนค่าลง
ซึ่งสินทรัพย์อื่นที่ว่านั้น ก็อย่างเช่น หุ้น, ทองคำ หรือแม้กระทั่ง Bitcoin
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้สินทรัพย์เหล่านี้ มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั่นเอง
1
- ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้นประมาณ 23%
- ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นประมาณ 47%
- ราคาทองคำ เพิ่มขึ้นประมาณ 18%
- ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นประมาณ 400%
3
Cr. finnovationa
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้
แม้จะเห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาสินทรัพย์เหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อเนื่อง
แต่คำถามสำคัญคือ การปรับตัวขึ้นของสินทรัพย์เหล่านั้น
มาจากปัจจัยพื้นฐาน หรือผลประกอบการที่แท้จริงมากแค่ไหน
หรือว่าจริงๆ แล้ว มันเกิดจากสภาพคล่องที่ล้นตลาดจากการอัดฉีดเงินเข้าระบบ
เพราะถ้าวันหนึ่ง ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
รัฐบาลหลายประเทศจะต้องลดการใช้จ่ายเงินลง
และธนาคารกลางหลายประเทศก็จะต้องหยุดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ
1
เมื่อเวลานั้นมาถึง ก็น่าติดตามเหมือนกันว่า
ในตอนนั้น ราคาสินทรัพย์เหล่านี้
จะยังสามารถปรับตัวสูงขึ้นเหมือนช่วงที่ผ่านมา ได้หรือไม่ ? ..
3
โฆษณา