3 มี.ค. 2021 เวลา 10:52 • สุขภาพ
การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง
[๑๔๕] ดูกรราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้.
เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสาได้.
เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้.
เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้.
เธอจงเจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้.
เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้.
อานาปานสติภาวนา
[๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่.
ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร?
ทำให้มากอย่างไร?
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?
ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว.
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า, ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจเข้า,
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจออก.
ดูกรราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะ(ลมเข้า)
ลมปัสสาสะ(ลมออก)
อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป
หาเป็นอันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติ
ไม่ทราบชัดแล้วดับไป ไม่ได้ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๖
ข้อที่ ๑๔๕-๑๔๖
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
bn8185.
🀄💎📚📕🌸💕💞
๕. จูฬราหุโลวาทสูตร (๑๔๗)
[๗๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับอยู่ในที่รโหฐาน ได้เกิดพระปริวิตกทางพระหฤทัยขึ้นอย่างนี้ว่า ราหุลมีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้วแล ถ้ากระไร เราพึงแนะนำราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด ฯ
[๗๙๖] ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองสบง ทรงบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า
ดูกรราหุล เธอจงถือผ้ารองนั่ง เราจักเข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวันกัน ท่านพระราหุลทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
แล้วจึงถือผ้ารองนั่งติดตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ก็สมัยนั้นแล เทวดาหลายพันตนได้ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยทราบว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าถึงป่าอันธวันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่ท่านพระราหุลแต่งตั้ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระราหุลก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๗๙๗] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๗๙๘] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๗๙๙] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? จักษุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๐] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? จักษุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๑] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๒] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เสียง เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? โสตวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? โสตสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ฆานะเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? กลิ่น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ฆานวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ฆานสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ชิวหาเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? รส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ชิวหาวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ชิวหาสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? โผฏฐัพพะ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? กายวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? กายสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๓] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? มโนเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๔] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๕] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๖] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๗] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๐๘] พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
[๘๐๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลจึงชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลายพันตนนั้นได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบ จูฬราหุโลวาทสูตร ที่ ๕
💞💕🌸📕📚💎🀄
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๘๑-๓๘๕
ข้อที่ ๗๙๕-๘๐๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
bn8185.
โฆษณา