Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Ginny Bunyo
•
ติดตาม
7 มี.ค. 2021 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"กลูเตน" คืออะไร ทำไมบางคนทานเข้าไปแล้วแพ้
2
กลูเตน (Gluten) เป็นไกลโคโปรตีนที่พบในส่วนที่เป็นเอนโดสเปอร์มของธัญพืชบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เล่ย์ ส่วนมากพบเจอในเบเกอรี่ต่างๆ และยังพบเจอได้ในอาหารอื่นๆ ที่มีแป้งสาลี รวมถึงข้าวไรย์ และข้าวบาร์เล่ย์เป็นส่วนผสม โดยกลูเตนมีประโยชน์ต่อร่างกายในเรื่องของการให้พลังงาน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอเหมือนกับโปรตีนชนิดอื่นๆ ทั่วไป
แต่ในคนที่แพ้กลูเตน หากทานอาหารที่มีกลูเตนเข้าไปจะแสดงอาการออกมา คือ ท้องเสีย ซึ่งเป็นอาการที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ปวดท้อง ปวดเกร็งในช่องท้อง มีผื่นขึ้น ปวดข้อ ปวดตามตัว ปวดศีรษะ ถ้าเป็นในเด็ก เด็กอาจโตช้า สมองมึนงง มีอาการขาดสารอาหาร เนื่องจากในคนที่แพ้กลูเต็น จะมีการดูดซึมอาหารผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เล็กมีปัญหา
3
กลูเตนเกิดจากการรวมตัวของโปรตีนกลูเตนิน และไกลอะดิน ในสัดส่วนเท่า ๆกัน โดยจะสร้างพันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) ทำให้กลูเตนมีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่น ไม่ละลายในน้ำ
โดยทั่วไปกลูเตนสามารถสกัดได้จากการนำแป้งข้าวสาลีมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสม ทำให้เกิดโด (dough) แล้วนำโดที่ได้มาล้างด้วยน้ำ มีส่วนประกอบหลักเป็นโปรตีนในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
4
กลูเตนสามารถเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตขึ้นโดยยีสต์หรือผงฟูเอาไว้ได้ ทำให้รักษารูปทรงของผลิตภัณฑ์ได้ เช่น ขนมปัง โดนัท ขนมเค้ก เป็นต้น และกลูเตนยังนิยมใช้เป็นส่วนประกอบแทนเนื้อสัตว์ในอาหารเจและอาหารมังสวิรัติอีกด้วย
2
#การตอบสนองของร่างกาย เมื่อกลูเตนเข้าสู่ร่างกาย
เมื่อผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตนทานอาหารที่มีกลูเตนเข้าไป กลูเตนที่ผ่านลำไส้เข้าไปจะถูกคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงถูกกิน โดยมาโครฟาจ (macrophage)
2
และมาโครฟาจ จะส่งสัญญานไปหาเซลล์เม็ดเลือดขาว T-เซลล์
จากนั้น T-เซลล์ จะปล่อยไซโตไคน์ ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้น B-เซลล์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ส่งผลข้างเคียง คือ วิลไลในลำไส้ (villi) ถูกทำลาย ลำไส้อักเสบ ดูดซึมอาหารได้น้อยลง
3
และ B-เซลล์ ที่ถูกกระตุ้นโดย T-เซลล์ จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาจับกับกลูเต็นเพื่อทำลาย
** วิลไล (villi) คือ เยื่อบุผนังลำไส้เล็กที่มีลักษณะเป็นแผ่นพับไปพับมาคล้ายนิ้วมือ ทำให้มีบริเวณพื้นที่ผิวมาก มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด
2
สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคแพ้กลูเตน สามารถศึกษาได้ตาม Reference ด้านล่างได้เลยค่ะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ😊🙏
References :
1.
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0351/gluten-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%99
2.
https://issuu.com/bemediafocus/docs/foodfocusthailand_no.104_november_1/39
3.
https://bit.ly/2Pz1IMl
19 บันทึก
30
10
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าแบบวิทย์ๆ
19
30
10
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย