4 มี.ค. 2021 เวลา 16:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมเด็กทารกเมื่อคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้วถึงต้องร้องไห้ก่อนที่จะเริ่มหายใจตามปกติ และทำไมเสียงร้องไห้ของทารกนี้คือเสียงที่ทุกคนในห้องทำคลอดต้องการได้ยิน??
เมื่อนักวิจัยสามารถเก็บภาพและรายละเอียดรูปแบบการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิดได้
เสียงร้องไห้ของทารกแรกคลอดคือเสียงสวรรค์ของทีมแพทย์
เคยได้ยินกันใช่ไหมครับว่าเสียงร้องของทารกแรกคลอดคือเสียงสวรรค์ที่ทีมทำคลอดต้องการจะได้ยิน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
3
วันนี้ทีมนักวิจัยจาก Melbourne's Murdoch Children's Research Institute (MRCI) ในออสเตรเลียสามารถเก็บภาพรายละเอียดของลมหายใจและเสียงร้องแรกของทารกแรกเกิดได้
2
โดยทีมวิจัยได้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า electrical impedance tomography (EIT) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักการวัดแรงต้านทานการนำไฟฟ้ากระแสสลับของเนื้อเยื่อร่างกายที่ต่างกันภายในช่องอก จากการที่มีแก๊สเข้าออกในปอด
ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบกับทารกเพราะไม่มีการแผ่รังสีหรืออุปกรณ์ที่ต้องใส่เข้าไปในตัวทารกแต่อย่างใด
อุปกรณ์มีแค่เข็มขัดห่อด้วยผ้าเท่านั้น
ด้วยการใช้ข้อมูลประกอบกันทั้งภาพและเสียงจากวีดีโอรวมกับข้อมูลที่วัดได้จาก EIT ทีมจึงสามารถรู้ถึงรายละเอียดของรูปแบบการการหายใจปกติและการหายใจในการร้องไห้ในครั้งแรกที่ออกมาสู่โลกกว้างของทารกได้
รวมข้อมูล 3 อย่างและประมวลผล
ซึ่งผลการศึกษาจะเห็นได้ถึงรายละเอียดรูปแบบที่แตกต่างกันระหว่างการหายใจตามปกติกับการหายใจหระหว่างการร้องไห้ในช่วงแรก
เปรียบเทียบลักษณะการหายใจปกติและการหายใจระหว่างการร้องไห้
สำหรับการหายใจปกตินั้นการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของปอดจะสัมพันธ์กับจังหวะการหายใจ
แต่กับหายใจระหว่างการร้องไห้ครั้งแรกนั้นทีมงานพบว่ามีช่วงจังหวะระหว่างที่หายใจออกซึ่งปริมาตรภายในปอดมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วย
1
ช่วงที่วงนี้แหละปริมาตรอากาศในปอดกลับเพิ่มขึ้นระหว่างหายใจออก
ซึ่งยิ่งร้องและหายใจไปหลาย ๆ ครั้งก็จะทำให้ปอดของทารกนั้นมี Functional residual capacity (FRC) เพิ่มขึ้นด้วย
Functional residual capacity เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากการร้องไห้
แล้วทำไมเป็นเช่นนั้น ร่างการของทารกมีกลไกในการกระตุ้นการทำงานของปอดอย่างไร??
ก่อนอธิบายต่อ รู้ไหมครับว่า 10% ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้นจะมีปัญหาไม่ร้องหลังจากคลอดซึ่งทำให้ทีมแพทย์ต้องทำการช่วยชีวิตฉุกเฉิน
ทั้งนี้ในปอดของทารกเมื่อคลอดออกมาจากครรภ์มารดานั้นยังเต็มไปด้วยของเหลว ถึงแม้จะหายใจเข้าไปแต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่น้ำจะท่วมปอดได้อยู่ดีเพราะปอดยังแข็งแรงไม่พอ
งั้นเรามาดูขั้นตอนของการบริหารปอดเป็นครั้งแรกของทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติกัน
หายใจเข้าเฮือกแรกก่อนเปล่งเสียงร้อง
ในตอนแรกปอดของทารกจะเต็มไปด้วยของเหลว แต่การหายใจเข้าเฮือกแรกนั้นอากาศจะเข้าไปไล่ของเหลวออกไปจากทางเดินหายใจและถุงลม
จังหวะหายใจออก
แต่ในจังหวะหายใจออกนั้น แรงดันอากาศภายใจปอดก็จะลดลงทำให้ของเหลวไหลกลับเข้ามาในถุงลมปอดบริเวณปอดส่วนบนได้อีก
จังหวะเบรคเพื่อผ่อนลมหายใจออก
เพื่อแก้ปัญหานี้จึงมีการผ่อนลมหายใจออก (สังเกตตำแหน่งกระบังลมที่ดันตัวน้อยลง) และกล่องเสียงจะบีบตัวเพื่อให้อากาศไหลออกจากปอดได้ยากขึ้น ทำให้แรงดันอากาศในปอดสูงขึ้นและดันของเหลวออกจากถุงลมปอดส่วนบนได้
ซึ่งด้วยจังหวะการหายใจแบบนี้เองจึงทำให้เสียงร้องของทารกแรกเกิดนั้นจะมีเสียงร้องเป็นห้วง ๆ นั่นเอง
หายใจออกได้เต็มที่ ไม่มีน้ำท่วมปอด
หลังจากการหายใจและร้องไห้ซ้ำ ๆ ในรูปแบบนี้ก็จะทำให้ปอดขยายตัวเต็มที่และในไม่กี่นาทีหลังจากนั้นก็จะสามารถหายเป็นปกติได้
1
ด้วยวิธีการตรวจเช็ครูปแบบการหายใจของทารกแรกเกิดนี้(แม้จะไม่ร้องไห้เสียงดัง) จะช่วยให้ทีมแพทย์สามารถประเมินสภาพของทารกและตัดสินใจทำการช่วยเหลือได้รวดเร็วขึ้นหากพบความผิดปกติ
แล้วเราก็ได้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการหายใจครั้งแรกของทารก และเทคนิคการตรวจเช็คทารกแรกเกิดแบบใหม่ที่ปลอดภัยกับทารกนี้น่าจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดขีวิตของทารกได้มากขึ้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา