5 มี.ค. 2021 เวลา 02:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
[สรุป Clubhouse] ความ Fail ของระบบตลาดทุนไทย โดย คุณวิเชฐ ตันติวานิช
2
วันนี้ผมมีโอกาสได้เข้าไปฟัง Clubhouse ห้องของ Super Brains สมองเทพ : Fail u(niverse) จะเป็นห้องที่มีธีมหลักเป็นการแบ่งกันมาเล่าเรื่อง Fail ของแต่ละคน ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้เราเรียนรู้ถึงความล้มเหลวของแต่ละคนและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตของตัวเองได้ด้วยครับ ผมชอบห้องนี้มากๆเพราะจะมีแต่คนเก๋าในวัย 50-60 มาแชร์ประสบการณ์ต่างให้ฟังเยอะมาก
2
โดยเรื่องแรกที่นำมาพูดคุยกันคือ ความ Fail ในการหาบริษัทมาเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยคุณวิเชฐ ตันติวานิช อดีตรองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารอยู่ในหลากหลายบริษัท เปิดประวัติท่านดูจะพบว่ารายชื่อตำแหน่งยาวพอๆกับบทความนี้เลยครับ 🤣
3
*** และคุณวิเชฐหรือ พี่เว้ นี่แหละครับคือเหตุผลที่ผมกดเข้าไปฟังห้องนี้ เพราะนอกจากความสามารถที่โดดเด่นของเค้าแล้ว เค้ายังเป็นรุ่นพี่ที่โรงเรียนและเป็นรุ่นพี่ที่คุณพ่อผมให้ความนับถือมากที่สุดคนนึงด้วยครับ
3
ซึ่งพอฟังจบแล้วต้องบอกว่าหน้าชาไปชั่วคราวเลย เพราะเรื่องราวที่ได้ฟังนั้นคือเรื่องราวที่สะท้อนปัญหาในสังคมและตลาดทุนไทยได้ชัดเจนมากๆ และจำเป็นต้องถูกแก้ไขอย่างเร่งด่วน
1
เลยอยากจะนำมาเล่าให้หลายๆคนได้ฟัง เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของปัญหาตลาดทุนมากขึ้น รวมถึงถ้าเป็นหนึ่งในโพสต์ที่ช่วยกระตุ้นให้คนที่มีอำนาจเห็นปัญหาได้ก็จะดีครับ
1
*** อาจจะไม่ถูกต้องตามที่คุณวิเชฐพูดไว้เป๊ะๆนะครับ เพราะเป็นการเข้ามาฟังแบบไม่ได้เตรียมตัวสรุปใดๆเลย แต่ประทับใจจนอยากนำมาเล่าให้ฟังกัน ถ้าขาดตกอะไรไปสามารถ Comment เพิ่มเติมได้นะครับ
ความ Fail ของคุณวิเชฐ คือความ Fail ในการหาบริษัทมาเข้าตลาดหลักทรัพย์ในสมัยที่ท่านทำงานในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครับ
คุณวิเชฐเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า ในประเทศไทยนั้นมีบริษัทจดทะเบียนอยู่หลายล้านบริษัท แต่ทำไมถึงมีคนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพียงไม่กี่พันแห่ง ?? ทั้งๆที่การระดมทุนผ่านช่องนี้คือการเพิ่มทุนที่จะช่วยให้บริษัทเติบโตได้เร็วที่สุดช่องทางนึง
4
จากมุมมองของคุณวิเชฐที่ทำหน้าที่ในการหาคนมาเข้าตลาด ณ เวลานั้น เค้ามองปัญหาออกมาหลักๆแบ่งออกเป็น 3 ข้อดังนี้ครับ
2
ข้อแรก - ประสิทธิภาพของการเก็บภาษี และความเชื่อของการหลบภาษี
4
การเก็บภาษีของประเทศไทยนั้นต้องเรียกว่ามีประสิทธิภาพไม่สูงนัก เพราะยังมีการหลบภาษีกันอยู่มากมาย ซึ่งเทคนิคหลักๆคือทำให้กำไรน้อยลงกว่าที่ทำได้จริง จะได้เสียภาษีน้อย วิธีการทำนั้นมีเยอะมาก ขอไม่พูดถึงในส่วนนี้นะครับ
5
ซึ่งปัญหาใหญ่นั้นไม่ได้อยู่ที่การหลบภาษี แต่อยู่ที่ #ความเชื่อในการหลบภาษี ของคนมากกว่าครับ เพราะเมื่อคนเรามีความเชื่ออยู่แบบนี้ก็จะทำให้การโน้มน้าวให้คนเหล่านี้นำบริษัทมาเข้าตลาดฯนั้นทำได้ยากขึ้นมากๆ เพราะ แน่นอนว่าการจดทะเบียนเข้าตลาดฯ นั้นจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด และเสียภาษีอย่างถูกกฎหมาย
1
สมมุติว่าคุณไปเชิญชวนให้เจ้าของธุรกิจคนนึงนำบริษัทเข้าตลาดฯ ถึงแม้ว่าบริษัทของเค้าจะดีมากขนาดไหน แต่ถ้าบัญชีที่เค้ายื่นสรรพากรอยู่ในทุกๆปีมีการหลบหลีกภาษีอยู่ มีกำไรที่น้อยกว่าปกติ พอจะทำการ “แต่งตัว” เพื่อยื่นเข้าตลาดฯ ก็จะใช้เวลาที่นานขึ้น เพราะข้อกำหนดคือต้องดูงบย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี
2
ตรงนี้จึงเหตุผลแรกที่ทำให้กระบวนการระดมทุนผ่านตลาดทุนในไทยนั้นยังไม่สามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็จะมีดีเลย์ 2 ปีนั่นเอง
***ผมเคยทำงานเป็น Investment Banker อยู่ช่วงนึงก่อนไปเรียนต่อโทครับ ตอนนั้นมีลูกค้าบริษัทนึงที่ผมดูแลอยู่ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม ไม่สามารถเข้าตลาดได้เพราะต้องรอให้งบปีล่าสุดหลุดไปก่อน จนถึงปัจจุบันนี้เท่าที่ผมตามข่าวดูก็ยังไม่ได้เข้าตลาดเลยครับ ซึ่งก็ผ่านมา 6 ปีได้แล้ว 🤣
5
ข้อที่สอง - การเก็บภาษีย้อนหลังของบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลให้กับ ก.ล.ต.
อีกปัจจัยนึงที่ทำให้คนไม่กล้าเข้าตลาดฯ ถึงแม้ว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (20%) จะเสียภาษีน้อยกว่าบริษัททั่วไป (30%) นั่นคือถึงแม้จะแต่งตัวจนผ่านกระบวนการเข้าตลาดไปได้แล้ว แต่ถ้ากำไรที่เปิดเผยเพื่อเข้าตลาด เมื่อเทียบกับกำไรย้อนหลังแล้วมันแตกต่างกันมากจนเกินไป ก็จะเกิดข้อสงสัยในตัวเลข และอาจส่งผลให้เกิดการตรวจสอบย้อนหลังได้
ซึ่งเมื่อเกิดการเก็บภาษีย้อนหลังที่สูงมากๆ เพราะต้องคิดในอัตราเดิม 30% ก็ทำให้ธุรกิจต่างๆไม่กล้าที่จะนำบริษัทมาเข้าตลาดฯ เพราะกลัวโดนตรวจสอบและต้องสูญเงินเยอะกว่าการธุรกิจไปตามปกติของตัวเอง
2
ตรงนี้คุณวิเชฐได้แสดงข้อคิดเห็นไว้ดีมากๆครับ ว่าถ้าเรามองในภาพรวมของทั้งระบบ การเก็บภาษีย้อนหลังคือสิ่งที่น่าจะถูกยกเลิกไปด้วย 2 เหตุผลดังนี้
1
1 - การตรวจสอบย้อนหลังทำได้ยาก
5
เพราะเอกสารที่ยื่นในอดีตนั้นเป็นเอกสารที่ถูกต้อง ถึงแม้จะไม่ตรงกับตัวเลขจริงๆ แต่สรรพากรเองก็ไม่มีหลักฐานที่จะไปบ่งชี้ได้ว่ากำไรที่แท้จริงเป็นเท่าไหร่ เป็นการเปลืองทรัพยากรมนุษย์ในการตรวจสอบมากกว่า
3
2 - แค่เก็บภาษีหลังเข้าตลาดตามปกติ 20% โดยไม่ต้องไปคิดย้อนหลังก็ถือว่าคุ้มแล้ว
1
เพราะถ้าเรามองกันแบบเป็นกลาง การที่บริษัทเข้าตลาดมาเพื่อเสียภาษีอย่างถูกกฎหมายนั่นคือรายได้ของรัฐบาบที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนอยู่แล้ว
ลองคิดง่ายๆว่า ถ้ากำไรจริงๆของบริษัทคือ 5,000,000 บาท แต่การหลบหลีกทำให้มีกำไรเหลือเพียง 2,000,000 บาท ทำให้เสียภาษี 30% = 600,000 บาทต่อปี
1
แต่ถ้าเค้านำบริษัทเข้าตลาดฯ แล้วรายงานผลประกอบการตามจริงที่กำไร 5,000,000 บาท ก็จะเสียภาษี 20% = 1,000,000 บาทต่อปี
แค่นี้ก็ถือว่ารัฐสามารถหารายได้เข้าประเทศได้มากกว่าเดิมถึงปีละ 400,000 แล้ว โดยยังไม่นับว่าพอเข้าตลาดแล้วได้เงินทุนก้อนใหญ่เพื่อไปขยายธุรกิจและมีกำไรเพิ่มอีกนะครับ
3
ดังนั้นจะไปตรวจย้อนหลังเพื่อเก็บภาษีเพิ่มกับบริษัทเดิมทำไม ?? กลับกันถ้าเลือกที่จะไม่เก็บ แล้วหันมาสร้างความมั่นใจให้เจ้าของกิจการรายอื่นๆเอาบริษัทมาเข้าตลาดฯกันมากขึ้น ก็จะทำให้รัฐสามารถหารายได้ได้มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว
1
ถ้าเป็นแบบนี้จะไม่ดีกว่าหรอ ??
ข้อที่สาม - ความเชื่อในเรื่องของการแสวงหากำไร มากกว่าการเติบโตที่ยั่งยืน
2
ข้อสุดท้ายเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยอันนึงเลยครับ นั่นคือการคาดหวังกับกำไรของบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียน นั่นคือถ้าบริษัทไม่มีกำไรในช่วง 2 ปีหลัง ก็จะไม่ให้เข้าตลาดฯ
ฟังดูเผินๆก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรนะครับ เพราะบริษัทที่จะเข้าตลาดฯก็ควรมีกำไรอยู่แล้ว
แต่บางธุรกิจนั้นจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมากๆ ต้องใช้การ Research & Development ที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ถ้าสำเร็จก็จะสามารถทำรายได้ได้เป็นกอบเป็นกำ
1
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ Vaccine 💉
ทุกคนทราบดีจากปัญหาของ COVID-19 ที่จำเป็นต้องหาวัคซีนเพื่อมาฉีดให้กับประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินในการลงทุนที่สูงมาก และใช้ระยะเวลาในการวิจัยที่นานเป็นปีๆ
ธุรกิจแบบนี้ไม่สามารถเข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้นไทยได้เลยครับ เพราะไม่มีกำไรในงบ ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ต้องควักเนื้อใช้เงินของตัวเอง หรือคนใกล้ตัวที่มีอุดมการณ์คล้ายกัน ซึ่งบางธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงก็อาจจะมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้เราไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพของตลาดทุนได้อย่างเต็มที่ และเสียโอกาสในการมีบริษัทเหล่านี้ในตลาดหุ้นไทยครับ
1
*** นี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลนึงที่ตลาดหุ้นไทยนั้นไม่ค่อยมีธุรกิจ Tech ที่มีเทคโนโลยีล้ำๆเท่าไหร่ เพราะประสิทธิภาพของตลาดทุนเรายังอ่อน และมองภาพเพียงระยะสั้นเท่านั้นครับ รวมไปถึงการสนับสนุนจากภาครัฐที่น้อยด้วย (อันนี้ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ)
2
จากทั้งหมด 3 ข้อนี้ จึงทำให้เรามองเห็นว่าปัญหาของตลาดทุนไทยนั้นอยู่ที่ระบบพื้นฐานของมันเลย
ซึ่งถ้าต้องการที่จะเปลี่ยนหรือแก้ไขนั้นจำเป็นต้องให้รัฐบาลที่มีอำนาจในภาพรวมนั้นมองเห็นถึงปัญหาตรงนี้แล้วลงมือแก้อย่างจริงจัง นอกจากจะช่วยพัฒนาตลาดทุนไทยได้แล้ว ยังช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ และความเชื่อมั่นของการลงทุนในประเทศไทยได้อีกด้วยครับ
1
และนี่คือสรุปคร่าวๆจากความ Fail ของคุณวิเชฐนะครับ ฟังแล้วผมประทับใจและมองเห็นภาพรวมของปัญหาตลาดทุนไทยขึ้นอย่างมาก
นั่นหมายความว่าตราบใดที่เรายังไม่สามารถกำจัดความเชื่อเรื่องนี้ออกไป เราก็จะยังมีจำนวนหุ้นในตลาดที่น้อย และไม่สามารถใช้ศักยภาพของตลาดทุนได้อย่างเต็มที่ ลองคิดดูนะครับว่าถ้าเราสามารถใช้ศักยภาพตรงนี้ได้อย่างเต็มที่ จะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในบริษัทที่เติบโตขึ้นในประเทศไทยมากขนาดไหน
ไม่ต้องพูดถึงพวกตัวเลขอย่าง GDP หรือการจ้างงานในประเทศเลยครับ เพราะมันจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน และจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมากอีกด้วย
*** ในส่วนของ Speaker ท่านอื่นผมไม่ได้สรุปมานะครับ เพราะพอฟังของคุณวิเชฐแล้วผมรีบระลึกสิ่งที่ได้ฟังแล้วพยายามเขียนออกมาให้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จำได้ เลยทำให้ผมไม่ได้ตั้งใจฟังท่านอื่นเท่าไหร่ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ และบางส่วนในบทความได้มีการใส่ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนตัวของผมผสมเข้าไปด้วยนะครับ
1
สำหรับใครที่สนใจรายการของ Superbrain ที่จัดโดย Moderator หลักทั้งสามท่านก็สามารถไปติดตามกันได้บน Clubhouse เลยนะครับ โดยจะมีรายการทุกวันจันทร์ - พุธ - ศุกร์ เลยครับผม
1
พี่เว้ - คุณวิเชฐ ตันติวานิช @vichate.t
พี่บอม - คุณโอฬาร วีระนนท์ @bomolarn
พี่ปุย - คุณประกาศิต ทิตาราม @waveriders
สำหรับวันนี้จบเพียงเท่านี้ครับ
ถ้าใครชอบเนื้อหาเน้นๆตามสไตล์เพจ “เล่า” ของผมก็สามารถกด Like เพจเพื่อติดตามเนื้อหาใหม่ๆของทางเพจได้นะครับ จะมีมาเล่าให้ในหลายๆเรื่องเลย ตามเพจเล่าไม่มีเบื่อแน่นอน เพราะแอดมินขี้โม้ หามาเล่าได้ทุกเรื่องครับ 😂😂
อยากให้เล่าเรื่องไหน รีเควสได้ ถ้าไม่นอกเหนือความสามารถก็จะไปหามาให้ครับ 😎😎
1
ติดตามเรื่อง “เล่า” ผ่านช่องทางต่างๆได้ดังนี้
Facebook “เล่า” : https://www.facebook.com/lao.unfold
Blockdit “เล่า” : https://www.blockdit.com/unfold
Instagram “เล่า” @withptns : https://instagram.com/withptns
Twitter “เล่า” @withptns : https://twitter.com/withptns
ติดต่อโฆษณา ฝากลิ้งค์สั่งหนังสือ หรือ ติดต่อร่วมงานกับเพจ “เล่า” ได้ที่อีเมล์ ptns81@gmail.com ครับ
#เล่า #เล่าหนังสือ #เล่าความรู้ #unfold #ส่งเสริมการอ่าน #ส่งเสริมการเรียนรู้
โฆษณา