Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นี่ บล็อก กู
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2021 เวลา 07:15 • สุขภาพ
เมื่อรู้สึกว่าตัวเอง "ไร้ค่า" คิดว่าตัวเองไม่เก่งจริง มักรู้สึกว่าทำอะไรก็ไม่สำเร็จ
หนุ่มสาววัยทำงานโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศเมื่อทำงานไปสักพัก และมีผลงานที่ดีด้วย แต่เมื่อถูกมอบหมายงานสำคัญให้ทำ บางคนอาจจะรู้สึกประหม่า กังวล จนคิดว่าตนเองทำไม่ได้ รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอ ไร้ความสามารถ และรู้สึกว่าทำงานนั้นไม่สำเร็จแน่ๆ นั่นแปลว่าคุณอาจกำลังเข้าข่ายป่วยเป็นโรค Impostor Syndrome หรือภาวะที่รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งอยู่ตลอดเวลา
นักจิตวิทยา Pauline Clance และ Suzanne Imes ระบุอาการของโรค Impostor เป็นครั้งแรกในปี 1970 โดยอธิบายอาการของโรคนี้ไว้ว่า เป็นความรู้สึกสงสัยและความไม่มั่นคงเกี่ยวกับความสำเร็จของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง รวมถึงการไม่สามารถกำหนดความสำเร็จของตัวเองได้และกลัวว่าจะถูก "เปิดเผย" ในฐานะคนที่เก่งไม่จริง คนไร้ความสามารถ รู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตัวเองทำอะไรก็กลัวจะไม่สำเร็จ โดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานหรือกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เคยทำมาเป็นครั้งแรก เช่น การรับบทบาทหรือความท้าทายใหม่ๆ ในสายงาน
อย่างไรก็ตาม หากมีความรู้สึกนี้ขึ้นมาแล้วไม่สามารถหยุดยั้งมันได้ ยังปล่อยให้ความคิดนั้นครอบงำตัวเองอยู่เสมอ ก็จะส่งผลเสียทำให้ยึดติดอยู่กับความรู้สึกด้านลบ อาจเป็นอุปสรรคต่ออาชีพของคุณ (เช่น การวางแผนอาชีพ การมุ่งมั่นในอาชีพ และแรงจูงใจในการเป็นผู้นำ) รวมถึงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ โรควิตกกังวล เป็นต้น
แล้วจะแก้ไขภาวะ Impostor Syndrome ได้ยังไง?
1. ตระหนักว่าความรู้สึกนั้น มันก็ "แค่ความคิด"
ความรู้สึกที่ว่า "ตัวเองเก่งไม่จริง" มักจะนำไปสู่วงจรความคิดด้านลบที่เลวร้ายหากคุณปล่อยให้มันวนเวียนอยู่ในสมองตลอดเวลา สิ่งสำคัญที่ต้องแก้ไขอันดับแรกคือ ปรับความคิดใหม่ ตระหนักไว้ว่าสิ่งที่กำลังคิดหรือรู้สึกนั้น มันก็แค่ความรู้สึก มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ ซะหน่อย และพยายามพาตัวเองออกจากความคิดนั้นให้ได้โดยเร็ว
2. ตั้งรับให้ดีในทุกสถานการณ์
บางครั้งหากคุณเป็นคนส่วนน้อยที่มีความแตกต่างจากผู้คนส่วนใหญ่ในที่ทำงาน (เช่น เชื้อชาติ, อายุ, เพศ, การเป็นเด็กใหม่) สถานการณ์แบบนี้อาจทำให้ความรู้สึก "คิดว่าตัวเองไร้ความสามารถ" เพิ่มสูงขึ้นได้
3. แชร์ความรู้สึกกับคนใกล้ตัว
การแบ่งปันความกลัวและความอ่อนแอของคุณกับคนใกล้ตัว เช่น ครอบครัว แฟน หรือเพื่อนสนิท สามารถลดความวิตกกังวลและความคิดในแง่ลบเหล่านั้นได้ ในความเป็นจริงคุณอาจตระหนักว่าหลายคนรอบตัวคุณรู้สึกแบบเดียวกัน และอาจมีเคล็ดลับดีๆ ในการก้าวข้ามความรู้สึกเหล่านั้นมาแชร์ให้คุณได้ด้วย
4. อยู่ท่ามกลางบุคคลที่พร้อมจะ Cheer Up!
พาตัวเองออกจากมุมมืด และไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจได้ว่าพวกเขาจะสนับสนุนและสามารถยกระดับจิตใจของคุณให้สดใสมากขึ้น หรือช่วย Cheer Up คุณในทุกๆ แอคชั่นเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ จากการศึกษาในปี 2558 พบว่าการสนับสนุนทางสังคมในที่ทำงาน เช่น การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ และการฝึกสอน ช่วยลดผลกระทบด้านลบของกลุ่มโรคร้่ายได้
5. รู้จักเฉลิมฉลองความสำเร็จซะบ้าง!
คนที่ประสบกับโรค Impostor Syndrome มักจะเป็นคนที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง อดทน และมักจะขัดเกลาตนเองเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จอยู่เสมอ ลองใช้เวลาสักครู่เพื่อระลึกถึงความสำเร็จทั้งหมดของคุณ สิ่งนี้สามารถให้กำลังใจคุณและเตือนคุณว่าคุณทำได้ดีแล้ว
5 บันทึก
11
7
8
5
11
7
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย