Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thairath Online - ไทยรัฐออนไลน์
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2021 เวลา 11:06 • ยานยนต์
เรื่องของลมยาง วิ่งทางไกล ทำยังไงไม่ให้ยางระเบิด!
- ข้อแนะนำการดูแลยางรถยนต์เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
- ระยะของการเปลี่ยนยางใหม่ คือ 40,000 กิโลเมตร
2
- แถมเคล็บลับการดูแลยางอะไหล่ ถ้าไม่ดูแลมันบ้าง ก็ไม่ต่างกับแบกไปให้หนักท้ายรถฟรีๆ
ข้อแนะนำสำหรับความปลอดภัยในการใช้งานรถยนต์ อุปกรณ์สำคัญที่ต้องรับหน้าที่หนักหนาสาหัสก็คือยาง ซึ่งต้องแบกรับน้ำหนักของรถที่กดทับ การวิ่ง เลี้ยว และเบรก ผ่านถนนที่มีความหลากหลาย รวมถึงการรับภารกรรมหนักหน่วงท่ามกลางอุณหภูมิร้อนชื้นของประเทศไทย ยางเป็นอุปกรณ์สำคัญในการขับเคลื่อนรถยนต์ ถือเป็นหัวใจในการใช้รถยนต์เพื่อความปลอดภัยและถึงจุดหมายตามที่ต้องการ
บริษัทรถยนต์มักจะเลือกใช้ยางที่เหมาะสมกับการใช้งานในรถแต่ละประเภท ซึ่งมีสมรรถนะที่แตกต่างกัน การเช็กลมยางรถยนต์ ควรตรวจสอบลมยางอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตอนที่ยางรถยนต์มีอุณหภูมิปกติ หรือยังเย็นอยู่ หากวิ่งใช้งานจะทำให้ลมยางขยายตัวจากความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อขับใช้งาน เมื่อตรวจวัดลมยางในขณะที่ยางรถยนต์มีอุณหภูมิสูง จะทำให้ได้ค่าที่ตรวจเช็กได้มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริง ควรเช็กและเติมลมเมื่อยางยังมีอุณหภูมิไม่สูงมาก หรือเช็กลมยางตอนเช้าก่อนขับออกจากบ้าน หากลมยางอ่อนกว่ากำหนดก็ควรใช้ความเร็วต่ำแล้วรีบหาจุดเติมลมยาง ไม่ควรขับรถทางไกลในขณะที่ลมยางมีค่าแรงดันต่ำกว่าตัวเลขที่ระบุในคู่มือประจำรถ
3
ยางที่สดใหม่ พร้อมแรงดันลมยางที่ถูกต้อง ปลอดภัยกว่ายางที่ผ่านการใช้งานมานานและไม่ค่อยมีการตรวจเช็กแรงดันลมยาง ระยะของการเปลี่ยนยางใหม่ คือ 40,000 กิโลเมตร หรือแล้วแต่สภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ในการใช้รถยนต์ เมื่อเห็นว่ายางหมดสภาพการใช้งานก็ควรเปลี่ยนยางใหม่ทันที
ตรวจสอบสภาพดอกยางและแก้มยาง หากพบว่าแก้มยางมีรอยแตกปริ บวมพอง ก็ไม่ควรใช้งานยางเส้นนั้นอีกต่อไป ยางที่มีแก้มชำรุดเสียหายเสี่ยงต่อการระเบิด แรงดันลมยางมีผลกับการขับขี่โดยตรง ทั้งการทรงตัว อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ลมยางอ่อนเกินไปทำให้ยางร้อนอย่างรวดเร็ว และเสี่ยงต่อการระเบิด เมื่อขับในย่านความเร็วสูง ลมยางที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน หรืออาจมีการรั่วซึมอยู่แล้ว จะทำให้รถกินน้ำมันและแก้มยางจะสึกหรออย่างรวดเร็ว และเสี่ยงต่ออาการแก้มยางฉีกจากอุณหภูมิของยางที่มีลมอ่อนสูงเกินไปเมื่อวิ่งเร็วๆ เมื่อวิ่งหรือเลี้ยว ยางที่มีลมอ่อนจะทำให้แก้มยางบิดเบี้ยวเสียรูปทรงขณะเลี้ยว อุณหภูมิของยางจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนระเบิดแตกออกเป็นชิ้นๆ
1
หากเติมลมยางมากเกินไป หรือเติมสูงกว่าที่กำหนด จะทำให้การขับขี่มีอาการแข็งกระด้าง และจะทำให้ดอกยางสึกหรออย่างเร็วเช่นกัน โดยเฉพาะตรงกลางของหน้ายาง ยางอาจระเบิดเนื่องจากบรรทุกหนักมาก วิ่งท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือขับด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการบรรทุกน้ำหนักเกินมากๆ เมื่อบรรทุกของมากจนเกินไป ทำให้ยางต้องรับภารกรรมหนักหน่วง ส่งผลไปถึงอายุการใช้งานที่หดสั้นลง
2
เติมลมยางรถยนต์น้อยเกินไป ส่งผลเสียต่อยางอย่างร้ายแรงและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการระเบิดเมื่อลมอ่อนแล้วยังขับเร็ว ลมยางน้อยไปทำให้ยางมีอายุการใช้งานน้อยลงตามไปด้วย! เพราะเมื่อขับด้วยความเร็ว แก้มยางจะร้อนและบวมล่อน หรือระเบิดได้ง่ายกว่าปกติ ลมยางอ่อนทำให้ดอกยางสึกเร็วมาก ดอกยางบริเวณไหล่ยางจะสึกเร็วกว่าบริเวณกลางยาง หรือขอบยางด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านจะสึกเร็วกว่าปกติ แถมยังสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าลมยางที่อยู่ในเกณฑ์กำหนด
ความลึกของดอกยางเป็นตัวแปรของการยึดเกาะ โดยเฉพาะการขับขี่ในสภาวะฝนตก ยางหัวโล้นนั้นจะอันตรายมากๆ นอกจากจะไม่มีดอกยางเพื่อรีดน้ำแล้ว ยางหัวโล้นยังง่ายต่ออาการลื่นไถลเสี่ยงต่อการหมุนตกถนนหรือเบรกไม่อยู่เมื่อขับท่ามกลางฝนตก
เปลี่ยนยางใหม่ทันทีที่ดอกเหลือน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร หรือเมื่อวิ่งจนครบระยะทาง 40,000 กิโลเมตร ขับรถด้วยความระมัดระวังเมื่อพบกับผิวถนนที่ขรุขระ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของล้อและยาง โดยเฉพาะล้อขอบ 19-20 นิ้ว หากขับแบบเร็ววิ่งบดลงไปบนผิวถนนที่ไม่เรียบ อาจสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างของยางหรือขอบล้อ
2
ยางอะไหล่ในรถ การเก็บรักษาก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานยางรถยนต์ให้ยาวนานขึ้น ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน แสงแดด ลม ฝนและความชื้น ตรวจเช็กและเติมลมยางอะไหล่เผื่อไว้ก่อนออกเดินทางเสมอ หากยางแตกหรือโดนตะปูจนลมรั่วกลางทาง ยางอะไหล่ที่ไม่มีลมก็ไม่ต่างอะไรกับสากกะเบือล่ะครับ.
ผู้เขียน : อาคม รวมสุวรรณ
👇อ่านบทความต้นฉบับ👇
1
thairath.co.th
เรื่องของลมยาง วิ่งทางไกล ทำยังไงไม่ให้ยางระเบิด!
ลมยางมีความสำคัญในการใช้รถ อ่านวิธีดูแลตรวจสอบ และเติมลมยางให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์
17 บันทึก
24
25
17
24
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย