Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sherlock B.
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2021 เวลา 23:24 • หนังสือ
Beyond Order : 12 More Rules for Life by Jordan Peterson : Summary
สวัสดีครับทุกคน วันนี้มารีวิวและสรุปหนังสือใหม่สั้นๆ กันสักนิดหน่อย เป็นภาคต่อของ 12 Rules for Life หรือ 12 กฏที่ใช้ตลอดชีวิต นั่น คือ Beyond Order : 12 More Rules for Life แปลไทยผมก็ขอแปลว่า 12 กฏ เพิ่มเติม รวมเป็น 24 กฏ ที่ใช้ตลอดชีวิต พอได้ไหมครับ 5555
ตอนแรกว่าจะเข้าเลย แต่ผมมีอะไรจะให้ทำความเข้าใจนิดหน่อย ว่า ที่ผมมา review หรือ summary บางคำหรือประโยคมันอาจจะไม่เหมือนในหนังสือมากนักนะครับ โดยเฉพาะ ภาษาไทย ผมแค่เขียน fact ไว้คร่าวๆ กับลำดับเรื่อง ในตอนอ่าน แล้วก็นำออกมาเขียนเป็นโพสต์จากความจำนะครับ แต่ทุกคนไม่ต้องห่วง ในส่วน fact ผมพยายามใส่ไว้ครบนะครับ ถ้าจำไม่ได้ผมก็เปิดดูถ้าเป็น fact ที่เหลือ ก็เป็นความเข้าใจของผมล้วนๆ ok นะครับ ไปเริ่มกันเลย
เริ่มจากในเล่มนี้ ก็คือๆ กับ เล่มก่อนหน้านี้ ที่จะแนะคำ ข้อคิดหรือที่อาจจะเรียกว่ากฏ ที่จะมาช่วยให้ชีวิตของเราสบายๆ มากขึ้น ซึ่งที่เขาเรียกว่ากฏก็เพราะว่า มันคือ ความจริงของโลกใบนี้ครับ ไม่ว่าจะเวลาผ่านไปเท่าไร กฏก็คือกฏ ในโทนสีที่ดูทึมๆ มากกว่าเล่มที่แล้วที่ดูมีไหวพริบ ความสว่างไสว มันบอกอะไรเรา ? ทั้งสองเล่ม คือ หยินและหยาง ซึ่งเป็นเล่มแรกมันจัดการกับเส้นทางที่ปราศจากความสับสนวุ่นวายมากเกินไป ส่วนเล่มนี้เป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายโดยธรรมชาติของการนิ่งนอนใจเกินไปหรือกลัวการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเรา สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือคราวนี้กฎเป็นไปอย่างจริงจัง ไม่มีความขี้เล่นที่น่าสนใจของ 12 Rules for life อย่างหยุดเพื่อลูบแมวเมื่อที่เจอตามข้างถนน อาจจะเพราะชีวิตช่วงที่ผ่านมาลุงแกเครียดมากขึ้นรึเปล่าก็อาจเป็นไปได้ครับ เขาได้นำเสนอ กฏใหม่ 12 ข้อเพื่อนำทางให้ชีวิตเรา กล้าหาญ อยู่กับความเป็นจริง และ มีความหมายมากขึ้นครับ ผมคิดว่าจริงแล้วมันคือๆ กับ กฏ 40 หรือ 42 ข้อ ของเขาหรือเปล่านะ ซึ่งผมอ่านไปบางอันผมก็ยังตีความได้งงๆ อยู่เหมือนกันครับ 555 เล่าให้ฟังตามที่เข้าใจคร่าวๆ ละกันนะครับไว้อ่านอีกสัก 2-3 รอบ ถ้ามันพูดง่ายขึ้น หรือ มีอะไรเปลี่ยนไป จะมาเล่าให้ฟังใหม่ครับ
1
มาพูดถึงเรื่อง กฏ แต่ละข้อคร่าวๆ กันเลยครับ
กฎข้อที่ 1 - อย่าสบประมาทเกี่ยวกับ สถาบันทางสังคม หรือ ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่ใส่ใจ (Rule I - Do not carelessly denigrate social institutions or creative achievement)
! ผมขอเตือนก่อนว่าเปิดใจในการรับรู้นะครับ ซึ่งเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ เรียนรู้ครับ !
สถาบันทางสังคมน่าจะเป็นเรื่องที่มันเกี่ยวกับ กฏระเบียบ หรือ วัฒนธรรมนะครับ กฏข้อนี้เลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความมีสติทางสัมคมมากขึ้น หรือ การ Balance กัน ในช่วงต้นมันก็จะเกี่ยวกับพวกการเมือง หรืออะไรพวกนั้น ส่วนนี้ผมขอไม่เล่าดีกว่านะครับ ไม่อยากโยง หรือ ทำให้เกิดปัญหากันในโพสต์นี้ ถ้าอยากจะรู้ลองหาอ่านดูครับ มันอาจไม่ได้เลวร้ายหรอกแต่ผมไม่อยากสื่อความตามที่ผมเข้าใจในเรื่องนั้นออกมา 555 เขาพูดถึงลำดับชั้นจากล่างขึ้นบนความจำเป็นของความเท่าเทียมกันความจำเป็นของความสมดุล สมดุลของอะไร ? ผมจับใจความได้ว่า 2 ขั้วหลักๆ คือ เสรีนิยม vs อนุรักษ์นิยม ครับ
เขาบอกว่าพวกเสรีนิยม มักจะหมิ่นสถาบันทางสังคมที่พวกเขา ต้องการค้นหาข้อผิดพลาดที่มันเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้พยายามเปลี่ยนแปลงมัน เพราะ ในสายตาของพวกเขาระบบนี้ไม่ยุติธรรมจำเป็นต้องเปลี่ยน หรือ แก้ไข แต่ถ้าหากเราอยู่ในส่วนของ อนุรักษ์นิยม เราก็อาจวิจารณ์ความคิดสร้างสรรค์ ของคนอื่นในเชิงที่ไม่ดีได้ เพราะสิ่งๆ นั้น มันอาจจะเป็นของที่ใหม่ และเราอาจตามไม่ทัน เลยกลัวที่อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นหากเราเดินไปในทางที่ผิดจากคนอื่นๆ แล้ว สมดุลของเรื่องนี้คืออะไร ที่จริงสังคมทั่วไป ต้องการทั้งอนุรักษ์นิยม และ สังคมเสรีนิยม ครับ โดยเสรีนิยมจะมีส่วนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น และ สังคมก็ต้องการอนุรักษ์นิยมเช่นกัน เพราะ ต้องระมัดระวังในความพยายามสร้างสรรค์ที่หลุดโลกไปหน่อย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และพวกเขายึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ จากอดีตที่ดีจริง แถมเขายังสามารถทำนายหลายๆ อย่างเกี่ยวกับสิ่งที่เสรีนิยมกำลังจะทำได้พอควรครับ ในขณะที่ที่พวกเสรีนิยมนั้นความสนใจอย่างมากในความคิดที่เกี่ยวข้องกัน และ ชอบคิดที่จะข้ามจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งมันทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แต่พวกเขาไม่ถนัดในการนำไปใช้ซึ่งพวกอนุรักษ์นิยมนำรายละเอียดไปใช้งานได้ดีมาก ยังบอกอีกว่า นักอนุรักษ์นิยมจำเป็นต้องมีเสรีนิยมเพื่อเริ่มต้น บริษัท และสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ถึงแม้ว่าความคิดเหล่านั้นจำนวนมากจะไม่ดี แต่พวกเสรีนิยมต้องการคนอนุรักษ์นิยมเพื่อบริหาร บริษัท ดังนั้น เราต้องสำรวจว่าเราคือแบบไหน ถ้าเราหัวโบราณหรืออนุรักษนิยม เราต้องหัดฟังพวกเสรีนิยม เพราะ มีเขาบางสิ่งที่จะบอกเรา และในขณะเดียวกันพวกเสรีนิยมต้องเรียนรู้ที่จะควบคุม ฟังคนหัวโบราณ เพราะพวกอนุรักษ์นิยมยึดสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันและทำให้สิ่งต่างๆ มีเสถียรภาพได้ ดังนั้นการพูดอย่างเสรีมีความสำคัญมากก็ เพราะว่าพวกเสรีนิยม และ พวกอนุรักษ์นิยมต้องสื่อสารกันเพื่อหาสมดุลแล้วทำให้สังคมดำเนินต่อไป และ ตรงการสื่อสารนี่แหละครับ ที่ต้องเป็นอิสระ ครับ
กฎข้อที่ 2 - ลองนึกดูว่าคุณเป็นใคร แล้วตั้งเป้าหมายมุ่งตรงไปที่สิ่งนั้น (Rule II - Imagine who you could be and then aim single-mindedly at that)
คุณเป็นใคร? เรามีความซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด ในกฎนี้เขาพูดถึงสิ่งที่จิตใจและร่างกายของเราสามารถจะมีผลต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตที่ทำให้เราทำอะไรได้มากขึ้น เขาพูดถึงสิ่งที่เราสามารถจินตนาการได้ และจากนั้นก็แสดงออกถึงสิ่งที่ไม่เคยเห็น หรืออาจไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งกฏข้อนี้เขาจะบอกแนวๆ ว่า คนส่วนมากกำลังทรมานจากการขาดจุดมุ่งหมายในชีวิต มันทำให้เกิดพวกการฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าต่างๆ มากขึ้น อย่างที่เห็น ดังนั้นเราต้องตั้งเป้าหมายแค่เลือกบางสิ่งบางอย่างก็ได้ไม่จำเป็นต้องใหญ่มาก มันอาจเป็นสิ่งที่เราชอบเป็นพิเศษ หรือสิ่งที่เราสามารถทำได้ดีขึ้นโดยการฝึกฝน มันจะทำให้เราเห็นผลได้ดี เมื่อไรที่เราผิดหวังหรือล้ม ถ้าเราสามารถตั้งเป้าหมายแล้วลุกขึ้นไปต่อได้ จิตใจเราจะเข้มแข็งขึ้น มันทำให้เราควบคุมทิศทางที่จะเดินไปได้
กฎข้อที่ 3 - อย่าซ่อนสิ่งที่ไม่ต้องการไว้ในหมอก (Rule III - Do not hide unwanted things in the fog)
โดยพื้นฐานแล้วแนวคิดในที่นี้ คือ อย่าหลีกเลี่ยงปัญหาที่เรามี อย่าเอามันไปแอบไว้ โดยหวังว่ามันจะหายไป เพราะ มันจะไม่ทำให้เราต้องเผชิญหน้ากับปัญหา และ แก้ปัญหาก่อนที่มันจะสะสม และ ทำให้ชีวิตของเราแย่ลงไปมาก เขาเปรียบที่ซ่อนนั่นคือหมอง การจัดการกับหมอกนั้นก็คือ การเข้าใจสถานการณ์ที่เราเจออู่อย่างชัดเจน และ การเผชิญหน้ากับสถานการณ์นั้น ต้องใช้ความกล้าหาญเพื่อต่อสู้กับมัน ก่อนอื่น เราต้องเจอหมอกของเราก่อน ในชีวิตเราจะมีช่วงเวลาที่เลวร้าย สิ่งที่เราทำได้คือ ต้องเผชิญหน้ากับมัน อย่าสร้างหมอกขึ้นมาปิดบังมัน เพราะมันจะโผล่จากหมอกมาฆ่าเราเมื่อไรก็ได้ เมื่อมันมีพลังมากพอ สู้กับศัตรูที่มองเห็นดีกว่าครับ
กฎข้อที่ 4 - รับรู้ถึงโอกาสที่ซ่อนอยู่เมื่อมีคนละทิ้งมัน
(Rule IV - Notice that opportunity lurks where responsibility has been abdicated)
มันจะเหมือนกับว่า เมื่อคนอื่นหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการจัดการปัญหาของเขา อาจจะเพราะมันทั้งยาก หรือ น่าเบื่อ เราเลยมีโอกาสแสดงความสามารถของคุณด้วยการจัดการปัญหานั้น หากแต่หากมันมีคนอื่นจัดการอยู่แล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องสนใจมัน ง่ายๆ เลย คือ ที่ไหนก็ตามที่มีคนสละราชสมบัติ (ละทิ้ง) ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขาทำ ตรงนั้นเป็นโอกาสให้เรารับผิดชอบ และทำให้โอกาสนั้นเป็นของเราเองเอง
กฎข้อที่ 5 - อย่าทำในสิ่งที่เราเกลียด
(Rule V - Do not do what you hate)
บทสั้น ๆ ที่พูดถึงเหตุผลที่เราไม่ควรทำในสิ่งที่เราเกลียด
เราไม่ควรทำสิ่งที่เราเกลียด เพราะ มันเหมือนกับการโกหก มันเป็นการแสดงที่มาจากการโกหกและ คำโกหกนั้นจะกลับมาหลอกหลอนเรา
กฏข้อที่ 6 - ละทิ้งอุดมการ
(Rule VI - Abandon ideology)
กฏข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจว่าเราติดตามคนประเภทไหนในชีวิต มันเหมืแนกับเสียงสะท้อนที่เราเลือกที่จะศรัทธาคนๆ นั้น รับข้อมูลจากคนๆ นั้น โดยอาจจะทำให้เราเป็นคนๆ นั้น โดยที่ไม่ได้สนใจฟังรอบข้างเลย อาจทำให้ความคิดของเราบิดเบี้ยว และถ้ามีคนมากพอที่จะเป็นเหมือนกับเรามากๆ มันอาจทำให้สังคมสั่นคลอนได้แล้วจะเกิดความวุ่นวายตามมาในภายหลังได้ ดังนั้น การชื่นชมผู้คนดีกว่าการติดตาม ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาจูงไปไหนก็ไปได้ครับ ชื่นชม คิด ถ้าดีก็เลือกทำครับ ไม่ต้องเชื่อไปซะทุกอย่าง ถ้าให้พูดจริงๆ เลยกฏข้อนี้มันเกี่ยวกับการเมืองตรงๆ เลยหละครับ แบบว่าให้มีสติเกี่ยวกับวาทกรรมทางการเมือง อะไรทำนองนั้น จริงๆ มันอาจจะละเอียดอ่อนมากครับ อาจจะเป็นหนังสือ dark ๆ ของบ้านเราเลย ผมพูดแค่นี้ดีกว่า 555
กฎข้อที่ 7 ทำงานให้หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างน้อยหนึ่งสิ่ง และดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
(rule VII - Work as hard as you can on at least one thing and see what happens)
พูดง่ายๆ คือ เราต้องลองทุ่มเท จัดเต็มกับอะไรสักอย่างในชีวิตดูบ้าง มุ่งเน้นและผลักดันตัวเองไปสู่ขีดจำกัด มันยากที่เราจะผลักดันตัวเองได้ ถ้าเราอยากรู้ขีดจำกัดของตัวเอง เราจะต้องจะมุ่งเป้าไปในทิศทางนั้น อย่างเต็มเหนี่ยว และด้วยทำอะไรที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้รับรู้ถึงขีดจำกัดของตัวเอง และจัดการมันเพื่อพัฒนามัน
กฎข้อที่ 8 - พยายามทำให้ห้องหนึ่งในบ้านของคุณสวยงามที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
(Rule VIII - Try to make one room in your home as beautiful as possible)
การทำอะไรให้สวยงามเป็นเรื่องยาก แต่คุ้มค่าอย่างน่าอัศจรรย์ หากคุณเรียนรู้ที่จะทำบางสิ่งบาง
บทนี้ยากที่จะเข้าใจครับ ถ้าเราไม่ได้ฟังคำอธิบายของผู้เขียน เขาพูดเกี่ยวกับวิธีที่เราพยายามทำให้ห้องหนึ่งในบ้านของเราสวยงามที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งบางที เราอาจจะไม่เคยคิดว่าห้องของเราจะสวยได้ขนาดนี้ พอลองทำแล้ว มันก็อาจจะรู้สึกดีที่มันสวยขึ้นนะ เปรียบเทียบกับงานหรือเป้าหมายบางอย่าง มันยากเกินกว่าที่คุณจะคิดว่าจะทำงานนี้ให้สำเร็จได้ ซึ่งอาจจะต้องทำให้เราไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น เราอาจจะต้องเรียนรู้วิธีทาสีผนัง และแก้ไขข้าวของที่พังเสียหาย หรืออาจจะต้องทิ้งของบางอย่างออกไป ไม่ใช่แค่คำถามเรื่อง "การทำความสะอาด" สวยที่สุดเท่าที่จะทำได้ไปไกลกว่าแค่การรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบ หรือ อาจจะเป็นเพราะ เราต้องอยู่กับสิ่งที่คนอื่นมอง มันอาจจะน่ากลัว หรือไม่ชอบห้องของเรา เราจึงไม่ได้มีห้องที่สวยที่สุดในแบบของเรา เหมือนกับชีวิตเราที่อาจจะต้องทำหลายๆ อย่างเพื่อให้ชีวิตเราเป็นห้องที่สวยงามและน่าอยู่ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สำหรับตัวเราเองครับ ข้อนี้ผมก็งงๆ อยู่เหมือนกันครับ เอาเป็นว่าถ้าหยิบมาอ่านอีกสักสองสามรอบละเก็ทจะมา summary ใหม่ ให้ง่ายขึ้นนะครับ 555
กฎข้อที่ 9 - หากความทรงจำเก่า ๆ ยังทำให้คุณเสียใจ ให้จดไว้อย่างรอบคอบและครบถ้วน
(Rule IX - If old memories still upset you, write them down carefully and completely)
ลองนึกภาพเราได้กระทำการที่เลวร้าในอดีต เราทำลายชื่อเสียงคนอื่นด้วยการนินทา และการเสียดสี เราปล้นคนอื่นทั้งทางวัตถุหรือทางวิญญาณ เราโกงพวกเขา หรือลองนึกภาพแทนว่าเราเป็นคนที่ถูกกระทำซะเอง และขอให้เราถือว่าคุณฉลาดพอที่จะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ในทั้งสองสถานการณ์ (ในฐานะผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและความทรงจำสำหรับเรื่องเหล่านั้น จะทำให้เกิดความกลัวความผิดและความอับอาย
1
ตอนนี้เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่สุขภาพทางจิตใจ หากมีบางสิ่งรบกวนเราเกี่ยวกับอดีต หากเรายังคงติดอยู่กับอดีต วิธีที่ดีที่สุดในการดึงตัวเรากลับมาสู่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งให้เขียนความคิดของเราเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ลงไปอย่างละเอียดและรอบคอบ มีหลายสิ่งที่ฉุดรั้งเราไว้ เช่น เราอาจไม่มีความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับอดีต เราต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด และไม่ทำให้มันเกิดขึ้นอีก เราต้องนำตัวเองมาใช้ชีวิตให้เต็มที่ในปัจจุบัน สิ่งที่อาจรบกวนเราจากอดีต และมันก็ไม่ง่ายที่จะกำจัดออกไป แต่ถ้าเราไม่จัดการมันศักยภาพของตัวเราในปัจจุบันก็จะลดลง เพราะส่วนหนึ่งเรายังจมอยู่กับอดีต
กฎข้อที่ 10 - วางแผนและทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อรักษาความโรแมนติกในความสัมพันธ์
(Rule X - Plan and work diligently to maintain the romance in your relationship)
เห็นชื่อกฏครั้งแรกถึงกับ หื้ม !? ในเรื่องนี้เขาจะพูดถึงการรักษาความสัมพันธ์ โดยเฉพาะการคิดเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระยะยาว อย่าคาดหวังว่าความสวยงามของความรักจะดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในส่วนของเรา เราต้องมีเงื่อนไขในสิ่งท่างๆ ที่ทั้งคู่ยอมรับได้ และอย่ากดขี่ข่มเหง หรือ ตกเป็นทาส แล้วคิดดูว่าเราต้องการอะไรเพื่อให้ตัวเองพอใจในเรื่องต่างๆ เราจะต้องรักษาความรักในชีวิตของเรา ในเรื่องความสัมพันธ์เราอาจจะต้องการสิ่งนั้น เพราะช่วงเวลาที่ยากลำบากมักจะมาถึง และเราควรมีบางอย่างที่จะต่อต้านความลำบากเหล่านั้น ไม่เช่นนั้นความสิ้นหวังจะมาเยือนและจะไม่จากไป ความรักในความสัมพันธ์ที่มีระยะยาวเป็นศิลปะที่ต้องได้รับการส่งเสริมซึ่งจะต้องมีการลงทุน ลงแรงบางอย่าง เขาไม่เห็นด้วยกับคำที่บอกว่า ความสัมพันธ์ควรเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ นั่นมันไม่จริง เช่นการออกเดท ก็ต้องใช้ความพยายามเข้าหากันหลาย ต่อหลายครั้ง เพื่อจะเกิดความสัมพันธ์ที่มากขึ้น จะบอกว่ามันไม่ต้องพยายามเลยมันไม่ใช่ การรักษาไว้เช่นกัน เราต้องใช้ความพยายามบ้างไม่มากก็น้อย ชื่อกฏแปลตรงตัวการวางแผนหรือทำงานอย่างขยันขันแข็ง ผมว่า ไม่ใช่เรื่องงานครับ เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เราต้องดูแลนี่แหละ เขาเตือนเราว่าอย่าละเลย หรือ เพิกเฉย มันครับ
กฎข้อที่ 11 - อย่าปล่อยให้ตัวเราเป็นคนเครียดแค้น เสแสร้ง หรือ หยิ่งผยอง
(Rule XI - Do not allow yourself to become resentful, deceitful, or arrogant)
เราถูกกดขี่จากความไม่แน่นอนของสิ่งต่างๆ แน่นอนธรรมชาติมันจะสร้างเราด้วยวิธีที่ไม่ยุติธรรม และเจ็บปวด แน่นอนว่าสังคมของเรามีแนวโน้มที่จะกดขี่ข่มเหงจิตใจของเราแต่ละคนมุ่งไปสู่ความชั่วได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นคนดีไม่ได้นะครับ ถึงแม้ว่าสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหลายๆ อย่างไม่อาจจะไม่ได้ถูกใจเราซะทุกอย่าง แถมบางที่ทำร้ายเราอีกด้วย ซึ่งมันทำให้เราอาจจะถูกบีบคั้นจากคนอื่น นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่พอใจ หรือ ความโกรธ และจากนั้นมันก็เริ่มไปสู่ความปรารถนาที่จะแก้แค้น หลังจากนั้นเราจะถลำลึกเข้าไปสู่ความชั่วร้าย สิ่งต่างๆ จะดีขึ้นขนาดไหน ถ้าเราทุกคนหลีกเลี่ยงการล่อลวงไปสู่ความชั่วร้าย ถ้าเราแทนที่ความโกรธด้วยการรู้สึกขอบคุณ (ถ้าอธิบายให้ชัดมันคือเนื้อหาการขอบคุณใน The magic นั่นแหละครับ) และ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไร ไม่ไหวไปตามอารมณ์โกรธ หรือ หลงไปกับความไม่พอใจ ก็จะไม่เกิดสิ่งต่างๆ ที่ตามมาขึ้นได้ครับ และมันจะไม่ทำให้เรากลายเป็นคนที่เครียดแค้น เสแสร้ง หรือ หยิ่งผยอง ในที่สุด
กฎข้อที่ 12 - จงขอบคุณ ทั้งๆ ที่เรามีความทุกข์
(Rule XII - Be grateful in spite of your suffering)
สองข้อท้ายนี่บอกเลยว่ามันแทบจะคือ The Magic ของ Rhonda Byrne เลยก็ว่าได้ครับ เราอาจรักผู้คนแม้จะมีข้อจำกัด แต่เราก็รักคนพวกนั้นเพราะข้อจำกัดของพวกเขาเช่นกัน นั่นเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพราะความจริงที่ว่า โลกจะเป็นสถานที่ที่มืดมนมาก และ เราแต่ละคนมีความมืดในจิตใจ ซึ่งบางทีมันก็อาจจะเกิดอะไรบางอย่างที่ทำให้ความมืดกัดกินเราได้ ในบางครั้งเราอาจจะเจอเรื่องเลวร้ายที่ทำให้ตกหลุมพรางลงหุบเหวของความมืดมิดไปเมื่อไรก็ได้ เราจึงก็เลยจำต้องอยู่กับความทุกข์ทรมานนั้นตลอดไป ถึงแม้มันจะยากอย่างมากที่จะทำให้หลุดพ้นได้ ดังนั้น เราควรจะใช้ความกล้าหาญที่จะขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ที่เข้ามาสอนอะไรบางอย่างกับเรา เพื่อให้ง่ายต่อการที่จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้อีกครั้งครับ อันนี้อาจจะดูงงๆ บ้าง เพราะอ่านมาครั้งแรกแล้วบางเรื่องค่อนข้างตีความได้ยากครับ ทั้งตัวบทความและด้านภาษาด้วยครับ 555 น่าจะเป็นที่ตัวผมเอง เพราะลุง Jordan pet. เล่มก่อนๆ แกพูดได้เข้าใจดีมากครับ เล่มนี้อาจจะอีกแนวนึง เลยต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ในการอ่านครับ สัก 2-3 รอบ อาจจะมีทัศนคติต่อเรื่องในเล่มนี้ชัดขึ้นได้ครับ ถ้าใครชอบฝากกด like เป็นกำลังใจให้กัน หรือกด share ให้คนใกล้ตัวได้อ่านถ้าคิดว่ามีประโยชน์ หรือ comment พูดคุยกันได้ครับ ยินดีครับ
วันนี้ผมไปก่อน สวัสดีครับ
Sherlock B.
Facebook Page & Blockdit : Sherlock B.
2 บันทึก
1
3
2
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย