6 มี.ค. 2021 เวลา 04:52 • หนังสือ
👉 สำหรับพี่ๆเพื่อน ๆ ที่จะซื้อรถไฟฟ้า โปรดอ่านและเตรียมการรอไว้ด้วยก็ดีนะคะ
3
(กระแส รถ EV มาแรงและมาแน่นอน เผื่อมีประโยชน์ครับ ส่วนตัวก็แปลนไว้ว่าจะหาใช้สักคัน)
1
ไป กฟภ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มา
1
ไปหาข้อมูล ว่าถ้าเราจะใช้รถไฟฟ้า EV
เราต้องจัดการระบบไฟในบ้านยังไงบ้าง (อันนี้สำคัญ)
1
อย่างแรกเลยที่เราต้องรู้คือ
บ้านเราเป็นระบบไฟแบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส
มีค่าแอมป์เท่าไหร่?
3
ถ้าบ้านทั่วไป ก็จะ 1 เฟส 15 (45) แอมป์
คือบ้านเรารับการใช้กระแสไฟฟ้าพร้อมกันได้สูงสุดที่ 45 แอมป์
2
ทีนี้ รถไฟฟ้า EV อย่างเช่น MG ZS EV
ตัวชาร์ตที่ติดตั้งที่บ้าน จะใช้กับระบบไฟ 3 เฟสเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าเราใช้ไฟ 1 เฟส ก็ต้องไปแจ้งการไฟฟ้าขอเปลี่ยนเป็น 3 เฟส
4
ถ้าบ้านเราเป็นไฟ 1 เฟส 15(45) แอมป์
ซึ่งเราเคยเสียค่าตรวจสอบติดตั้งไปแล้ว 749 บาท
การขอการไฟฟ้าเปลี่ยนเป็น 3 เฟส 15(45) แอมป์
ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเลยสักบาท
3
แต่ทีนี้ เมื่อเรามีรถไฟฟ้า ซึ่งต้องชาร์ตแบต
เราต้องมาคำนวณว่า แอมป์ บ้านเราพอรึป่าว
เช่น MG ZS EV ตัวชาร์ต สามารถชาร์ตไฟได้ 7 KW
แปลว่า ทุกๆชั่วโมงจะชาร์ตไฟจะต้องใช้แรงดัน(วัตต์) 7,000 วัตต์
หรือคิดเป็นไฟ 7 หน่วย
บ้านเราใช้ไฟ 220 โวลล์
เอาวัตต์ หาร โวลล์ ก็จะได้ค่าแอมป์
7,000/220 = 31.81 แอมป์
5
จะเห็นว่า ถ้าเราไม่ได้ชาร์ตรถไฟฟ้าอย่างเดียว
แต่เรามีตู้เย็น เปิดแอร์หลายเครื่อง
45 แอมป์ อาจจะไม่พอ
ยิ่งถ้าวางแผนว่าในอนาคต
อาจจะมีรถไฟฟ้ามากกว่า 1 คัน
15(45) แอมป์ ไม่พอแน่ๆ
ก็ต้องไปขอไฟ 3 เฟส แบบ 30(100) แอมป์
ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่าย 1,605 - 749 = 856 บาท (จ่ายเพิ่ม)
4
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
พอขอเปลี่ยนระบบไฟกับการไฟฟ้าเสร็จ
เราต้องมาเปลี่ยนสายไฟ
ที่เดินจากเสาไฟเข้ามาในบ้านด้วย
ไฟ 3 เฟส ก็จะต้องเดินสายไฟเพิ่มอีก 2 สาย
3
ถ้าเป็น 30(100) แอมป์ ก็ต้องเปลี่ยนขนาดสายไฟ
เข้าบ้านใหม่หมด ให้เป็นสายไฟที่หนาขึ้น
เพื่อรองรับไฟที่สามารถสูงถึง 100 แอมป์
2
รวมถึงต้องเปลี่ยนระบบเบรกเกอร์ที่บ้านด้วย
และสายไฟ ที่ออกจากเบรกเกอร์มาที่จุดชาร์ต
ก็ต้องเป็นสายไฟที่ สามารถรองรับกระแสไฟ
ที่มาก ตามสเปคด้วย
1
ถ้าซื้อรถ EV มาแล้ว เสียบปลั๊กมั่วซั่วไปเรื่อย
ไฟไหม้บ้านแน่นอนค่ะ
3
อีกจุดที่น่าสนใจคือ เรื่อง มิเตอร์ TOU (Time Of Use)
ซึ่งมิเตอร์ TOU แบบ 3 เฟส จะมีค่ามิเตอร์อยูที่ 5,340 บาท
2
ถ้าเราตั้งใจจะใช้รถไฟฟ้า แนะนำเลยค่ะ ว่าให้ หาเงินมาอีกสักก้อน มาติดโซลาร์เซลล์ที่บ้านด้วย
แล้วไปขอเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ TOU
 
มิเตอร์ TOU จะมีวิธีคิดค่าไฟ แตกต่างกันตามช่วงเวลา
ในช่วง PEAK วันธรรมดา เก้าโมงเช้า ถึงสี่ทุ่ม
ค่าไฟจะแพง หน่วยละ 5.79 บาท
แต่แลกกับช่วง Off Peak วันธรรมดาหลังสี่ทุ่มถึงเก้าโมงเช้า กับวันเสาร์ อาทิตย์ ทั้งวันทั้งคืน
ค่าไฟจะเหลือแค่ หน่วยละ 2.63 บาท
3
แปลว่าอะไร.. แปลว่า ถ้าเราติดโซลาร์ในระดับที่พอกับการใช้ไฟในตอนกลางวันของเรา
ช่วงเก้าโมงเช้า ถึงห้าโมงเย็น แม้ค่าไฟจะแพง
แต่เราก็ไม่ได้ใช้ เราใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์
เราจะใช้ค่าไฟแพงแค่ช่วงที่แดดหมด ห้าหกโมงเย็น
ถึงสี่ทุ่ม ในวันธรรมดา วันละไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
นอกนั้น เราก็เอนจอย ค่าไฟหน่วยละ 2.63 บาท
5
และลองคิดดูว่า หลังสี่ทุ่ม เราชาร์ตรถ EV
เสียค่าไฟแค่หน่วยละ 2.63 บาท
มันจะประหยัดขนาดไหน
3
เช่น MG ZS EV แบตขนาด 44.5 kwh
หรือ 44.5 หน่วย ตามสเปค วิ่งได้ 337 กิโล
ถ้าชาร์ตเต็มในช่วง Off Peak
จะเสียเงินแค่ 117 บาท
ตกกิโลละ 34 สตางค์ เท่านั้นเองค่ะ
3
แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลกันนะคะ
1
ขอบคุณภาพค่ะ
Credit : ขอบคุณเพื่อนคนที่สรุปและเขียนเพื่อความรู้นี้ด้วยนะคะ (เราอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ดี ค่ะ)
โฆษณา