Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Fantasouls
•
ติดตาม
8 มี.ค. 2021 เวลา 10:00 • นิยาย เรื่องสั้น
วันนี้เพจ Fantasouls จะมาพูดถึงเผ่า "อันดีน (Undine)"
Suina จาก Eushully
อันดีน (Undine) คือเผ่าที่ไม่สามารถหาชื่อเผ่าใดในภาษาไทยมาเทียบเคียงได้ แต่เราสามารถเรียกให้เข้าใจตรงกันแบบรวม ๆ ได้ว่า “ภูติน้ำ” เผ่านี้ปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกในงานเขียนเล่นแร่แปรธาตุของชายผู้ยิ่งใหญ่นามว่า พาราเซลซัส (โด่งดังมากในยุคนั้นเลย) โดยได้ให้คำนิยามของเผ่านี้ไว้ว่า “เป็นดวงวิญญาณแห่งธาตุน้ำ และมีเพียงเพศหญิงเท่านั้น” ซึ่งในภายหลังพวกเหล่านักเขียนทั้งหลายก็ได้ตีความลักษณะของเผ่าอันดีนแตกต่างกันออกไป จนกลายเป็นผีพราย, นางเงือก, ภูติทะเล, นางไม้น้ำ, พระแม่คงคา (ฮะ !?), และอื่น ๆ อีกมากมาย
ทว่าในปัจจุบันนี้ เผ่า “เงือก” จัดเป็นเผ่าที่มีคำนิยามค่อนข้างชัดเจนแล้ว นั่นคือเผ่าคนครึ่งปลาที่ส่วนใหญ่ร่างกายครึ่งบนเป็นคนแต่ครึ่งล่างเป็นปลานั่นเอง คำว่าอันดีนจึงไม่น่าจะครอบคลุมถึงเผ่านี้อีกต่อไป
อันดีนจะมีที่อยู่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติเท่านั้น (บ่อเลี้ยงปลากัดที่บ้านคงไม่มีแน่นอน) เช่น สระน้ำในป่า หรือน้ำตก เป็นต้น แต่เนื่องจากระบุไว้แค่ว่าอยู่ตามแหล่งน้ำ “ธรรมชาติ” โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็ม คงไม่แปลกถ้าหากจะมีผู้ตีความเผ่าอันดีนเป็น “ภูติทะเล” ได้ด้วยเหมือนกัน
คำว่า “ผีพราย” ก็อาจจะเป็นคำจำกัดความที่ตรงกับคำว่าอันดีน เนื่องจากเป็นดวงวิญญาณแห่งน้ำตามธรรมชาติเหมือนกัน แต่ทว่าอันดีนไม่ได้ถูกระบุลำดับความใหญ่ของวิญญาณเอาไว้ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าตกลงเป็นพรายหรือภูติกันแน่ เพราะเมื่อวัดตามลำดับความใหญ่ของวิญญาณแล้ว ผีพรายคือลำดับของดวงวิญญาณที่เล็กที่สุด ซึ่งเกิดจากซากพืชหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ มารวมกัน เผ่าอันดีนจึงยังมีความครุมเครืออยู่ระหว่างพรายหรือภูติได้เช่นกัน เพราะทั้งพรายและภูติก็จัดเป็นดวงวิญญาณตามธรรมชาติได้ทั้งคู่ และนางไม้เองก็จัดเป็นภูติตามธรรมชาติประเภทหนึ่งเช่นกัน การที่จะมีคนเรียกอันดีนว่า “นางไม้น้ำ” ด้วยนั่นก็ย่อมไม่แปลกเช่นกัน (เพราะมีความหมายเหมือนหรือคล้ายกับ “ภูติน้ำ” นั่นเอง)
ทว่าผู้คนมักจะเรียกดวงวิญญาณตามธรรมชาติรวม ๆ ว่า “ภูติ” โดยส่วนใหญ่มักจะมองข้ามหน่วยที่เล็กที่สุดอย่าง ‘พราย’ ไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะพรายนั้นเป็นหน่วยที่เล็กเกินไป และไม่ได้เป็นที่รู้จักกันทั่วทุกมุมโลก คนส่วนใหญ่รู้จักเพียงแค่ “ภูติ ผี ปีศาจ” ซึ่งมีแค่บางประเทศเท่านั้นที่จะรู้ว่าพรายกับภูติมันต่างกันยังไง อีกอย่างก็คงเป็นเพราะคนเราในสมัยโบราณต่างเกิดมาพร้อมธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ป่า หรือภูเขา ก็ล้วนมีอยู่ล้อมรอบตัวเรา และเราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าดวงวิญญาณที่อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติต่าง ๆ นั้นมีลำดับความใหญ่ของดวงวิญญาณเป็นอย่างไร ป่าไหนมีพรายป่า หรือป่าไหนมีภูติป่า เราล้วนไม่สามารถรับรู้ได้ คนส่วนใหญ่จึงอาจเลือกตัดรายละเอียดยิบย่อยตรงนี้ออกไป และพูดกันจนติดปากแค่ “ภูติ ผี ปีศาจ” พวกดวงวิญญาณตามแหล่งธรรมชาติทั้งหลายจึงมักถูกเรียกรวม ๆ ว่า “ภูติ” นั่นเอง และในเมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่าอันดีนเป็นพรายหรือภูติ การจะเรียกว่า “นางไม้น้ำ” ก็ดูเจาะจงว่าใหญ่กว่าพรายจนเกินไป เพราะหมายถึงความใหญ่ระดับ “ภูติ” เท่านั้น ไม่นับพราย แต่จะเรียกว่า "ผีพราย" ก็ดูจะเล็กไปเพราะมีความใหญ่ระดับ "พราย" เท่านั้น ไม่นับภูติ การตัดคำว่า “ผีพราย” หรือ “พรายน้ำ” ออกจากหัว และหันมาเรียกรวม ๆ ว่า “ภูติน้ำ” จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะฟังดูเหมือนเป็นการเรียกรวม ๆ แบบคนโบราณโดยไม่ได้ระบุลำดับความใหญ่ของดวงวิญญาณนั่นเอง
หมายเหตุ: ข้อมูลในส่วนของย่อหน้านี้ทั้งหมดจัดเป็นส่วนที่มีเนื้อหาเชิงลึกพอตัว หากไม่ถูกต้อง 100% ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะแจ๊ะ
แต่อันดีนคงไม่สมควรจะนับรวมกับ “พระแม่คงคา” ที่มีฐานะคล้าย “เทพเจ้า” ตามความเชื่อของไทยอย่างแน่นอน เพราะตามลำดับการกราบไหว้บูชาหรือตามลำดับความเชื่อ พระแม่คงคาจัดว่าไม่ใช่ดวงวิญญาณแน่ ๆ เพราะเป็นตัวตนระดับใกล้เคียงทวยเทพเทวดาหรือเทพีไปแล้ว เมื่อเทียบกับอันดีนที่เป็นเพียงดวงวิญญาณผู้ปกปักรักษาป่า จึงเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และไม่สมควรนับรวมกันได้
1
โดยในปัจจุบันนั้น บันเทิงคดีส่วนใหญ่มักมีลักษณะร่วมที่ชัดเจนของเผ่าอันดีน นั่นคือตัวละครที่โผล่ขึ้นมาจากน้ำ โดยร่างกายทุกส่วนเกิดจากน้ำที่ก่อตัวรวมกันเป็นรูปมนุษย์ผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่ "ถูกนับรวมเป็นเทพี/เทพธิดา"
ได้ยินดังนี้หลายคนที่อ่านอยู่อาจเกิดความสงสัย เพราะมันแลดูขัดแย้งกับย่อหน้าก่อนหน้านี้ที่อธิบายเรื่องพระแม่คงคา แต่แท้จริงแล้วการเรียกอันดีนว่า “เทพี/เทพธิดาแห่งน้ำ” นั้นก็ถือว่าไม่ผิดเลย เพราะถึงแม้จะไม่ได้เป็นตัวตนระดับทวยเทพบนสวรรค์ แต่เมื่อเหล่าดวงวิญญาณทั่วไปบนพื้นโลกได้มีหน้าที่เป็นผู้ปกปักรักษาแม่น้ำ (หรือแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ) ส่วนใหญ่มักจะถูกมนุษย์บูชาในฐานะเทพ/เทพี เพราะมนุษย์มักบูชาแบบเหมารวมกันเองโดยไม่ได้แยกประเภทของระดับตัวตน คำว่า "เทพี/เทพธิดาแห่งน้ำ" จึงเป็นคำเรียกติดปากที่เข้าใจร่วมกันได้ดีนั่นเอง แม้คำที่ใช้เรียกจะผิดประเภทไปหน่อย แต่ความเข้าใจเบื้องลึกที่มีร่วมกันถูกต้องก็ว่าเพียงพอ
ถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์หรือถูกใจ ก็อย่าลืมกดแชร์กันด้วยนะแจ๊ะ จุ๊บ จุ๊บ
2 บันทึก
7
2
5
2
7
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย