6 มี.ค. 2021 เวลา 10:07 • สุขภาพ
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม),
นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ),
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้;
ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม),
นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ),
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้;
ภิกษุ ท. ! สัญญา ไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่นไม่ใช่ของเรา,
นั่นไม่ใช่เรา,
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;
ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่นไม่ใช่ของเรา,
นั่นไม่ใช่เรา,
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
“นั่นไม่ใช่ของเรา,
นั่นไม่ใช่เรา,
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘/๔๒.
พุทธวจนชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์
อริยสัจจากพระโอษฐ์๑ ภาคต้น
เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๗๕๔
by ท่านพุทธทาสอินทปัญโญภิกขุ
bn8185.
ภิกษุที่ดี ๑
ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ดี :
(๑) พึงทำตนให้อยู่เหนือ๒ ลาภ ที่เกิดขึ้น
(๒) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมลาภ ที่เกิดขึ้น
(๓) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ยศ ที่เกิดขึ้น
(๔) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมยศ ที่เกิดขึ้น
(๕) พึงทำตนให้อยู่เหนือ สักการะ ที่เกิดขึ้น
(๖) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความเสื่อมสักการะ ที่เกิดขึ้น
(๗) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความปรารถนาที่เลวทราม ที่เกิดขึ้น
(๘) พึงทำตนให้อยู่เหนือ ความได้เพื่อนไม่ดี ที่เกิดขึ้น
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์อะไร จึงต้องทำเช่นนั้น ?
เพราะว่า เมื่อภิกษุไม่ทำเช่นนั้น อาสวะทั้งหลายที่เป็นเครื่องทำลายล้าง และทำความเร่าร้อน จะพึงเกิดขึ้นแก่เธอ.
แต่เมื่อภิกษุทำตนให้อยู่เหนือลาภ (เป็นต้น) ที่เกิดขึ้นหรือมีมาแล้ว อาสวะทั้งหลายที่เป็นเครื่องทำลายล้าง และทำความเร่าร้อน ย่อมไม่เกิดแก่เธอได้.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์เหล่านี้แล ภิกษุจึงต้องทำเช่นนั้น.
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“เราทั้งหลาย จักทำตนให้อยู่เหนือลาภ เหนือความเสื่อมลาภ เหนือยศ เหนือความเสื่อมยศ เหนือสักการะ เหนือความเสื่อมสักการะ เหนือความปรารถนาที่เลวทราม เหนือความมีเพื่อนไม่ดี ที่เกิดขึ้นแล้วๆ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.
๑. บาลี พระพุทธภาษิต อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๖๓/๙๗.
๒. คำว่า “อยู่เหนือ” ในที่นี้ หมายถึงการไม่ยอมให้สิ่งนั้น ๆ ครอบงำจิต จนกิเลสหรือความทุกข์เกิดขึ้น.
พุทธวจนชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๖๓-๒๖๔
by ท่านพุทธทาสอินทปัญโญภิกขุ
bn8185.
ประโยชน์ของการเข้ามาสู่พระธรรมวินัยของพระศาสดาคือการได้เป็นพระอริยบุคคล.
กามุปาทาน , ทิฏฐุปาทาน ,
สีลัพพัตตุปาทาน , อัตตวาทุปาทาน ,
ธรรม ๔ ประการนี้คืออย่างไร? และสมณพราหมณ์เหล่าอื่นบางพวก รู้และสอนได้เพียง ๓ ประการ อย่างไร?
ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท (ในธรรมวินัยนี้ มีการบัญญัติอุปาทานสี่ โดยสมบูรณ์)
อุปาทาน ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ:-
🌺กามุปาทาน
🌺ทิฏฐุปาทาน
🌺สีลัพพัตตุปาทาน
🌺อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะว่า รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ:-
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ในพระธรรมวินัยเห็นปานนี้แล.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบอันท่านผู้รู้เองโดยชอบประกาศแล้ว.
เหตุเกิดอุปาทานเป็นต้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่ามีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา มีเวทนาเป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนานี้เล่ามีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา มีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะนี้เล่ามีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะนี้เล่ามีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ มีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้เล่ามีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูป มีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณนี้เล่ามีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ มีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่ามีอะไร?เป็นต้นเหตุ มีอะไร?เป็นเหตุเกิด มีอะไร?เป็นกำเนิด มีอะไร?เป็นแดนเกิด?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร มีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น
ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้ เพราะวิชชาบังเกิดขึ้น
ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน
ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน
ย่อมไม่ถือมั่นสีลัพพัตตุปาทาน
ย่อมไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน
เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วแล.
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาจงสังเกต จนเห็นลึกลงไปถึงว่า การไม่ปรินิพพาน เฉพาะตนนั้น เพราะยังมีกิเลสที่เป็นเหตุให้สะดุ้ง, กล่าวคืออุปาทานข้อที่ ๔ โดยเฉพาะ นั่นเอง; และการละอุปาทานข้อที่ ๔ นี้ ยังมีความสำคัญในส่วนที่จะทำหมู่คณะให้เรียบร้อย,
🌸🍃🌸🍃🌸🍃🌸🍃🌸🍃🌸
- มู. ม. ๑๒/๙๒/๑๕๖-๑๕๘
พุทธวจนชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๗
by ท่านพุทธทาสอินทปัญโญภิกขุ
bn8185.
สิ่งใดที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติบอกสอน
เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์โดยส่วนเดียว
เป็นเหตุ เป็นผล (เป็นสัจจะความจริง) ใช้ได้ตลอดกาลนาน
เราสาวก ให้มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธองค์
เดินตามพระบาทพระองค์
ทำความเพียรให้เกิดขึ้นต่อเนื่อง เดินตามเส้นทางที่ได้บัญญัติบอกสอนไว้เท่านั้น.
นี้เป็นการแสดงความรัก เคารพ สักการะ นับถือ บูชา และกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์
"พุทธวจน ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์"
หน้าที่ ที่แท้จริง ของการอยู่ในศาสนานี้
ในการสร้างเหตุปัจจัยแห่งกุศล เพื่อให้เข้าถึงความจริงอันประเสริฐ เปิดเผยธรรมที่เป็นสัจจะความจริง ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นี้.
ร่วมกันปกปักรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า
"พุทธวจน ธรรมวินัย จากพุทธโอษฐ์"
พุทธวจน
พุทธะ
"คำตรัสจากพระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า"
🙏  🙏🛸💥
โฆษณา