7 มี.ค. 2021 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
วิธีคัดเลือกพนักงาน สุดโหด แบบฉบับ Google
1
รู้หรือไม่.. บริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง Google
ต้องพบเจอกับใบสมัครงานอย่างล้มหลาม กว่า 3,000,000 ใบ ในแต่ละปี
ขณะที่ตำแหน่งงานที่ว่างในแต่ละปีนั้น มีเพียงประมาณ 20,000 ตำแหน่ง เท่านั้น
5
พูดง่าย ๆ ว่า สัดส่วนคนที่จะได้ทำงานกับ Google
มีเพียง 0.7% ของผู้สมัครงานทั้งหมด เท่านั้น
4
แล้วสงสัยไหมว่า.. Google มีวิธีการคัดเลือกพนักงาน จากผู้สมัครมากมายเหล่านี้ อย่างไร ?
Google ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่มีสวัสดิการพนักงานดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
และเมื่อเป็นองค์กรที่ยอมจ่ายต้นทุนด้านบุคลากรสูงเช่นนี้
แน่นอนว่า บุคลากรที่จะได้รับเลือกเข้ามาทำงาน ก็ต้องมีคุณสมบัติครบเครื่อง เช่นกัน
2
การคัดเลือกบุคลากรของ Google
จึงไม่ใช่การมองหาคนที่มีความรู้การศึกษา เพียงอย่างเดียว
แต่จะพิจารณาลงลึกถึง สติปัญญา ทัศนคติ และความสามารถรอบด้าน อีกด้วย
12
ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ Google มองว่าจะเป็นที่มาของ “ความคิดสร้างสรรค์”
ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับองค์กรได้
3
การคัดเลือกบุคลากร ที่จะมาเป็นเพชรเม็ดงามของ Google จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
เราลองมาดูตัวอย่างบางส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์งานของ Google กัน
2
1. “The Package” แฟ้มข้อมูลผู้สมัคร
3
แฟ้มข้อมูลนี้ จะมีความหนาราว 40-50 แผ่นต่อผู้สมัคร 1 คน
ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยเอกสารการสมัครงานทั่วไปแล้ว
ภายในแฟ้ม ยังมีเอกสารข้อมูลของผู้สมัครที่ Google ทำการสืบค้นเพิ่มเติมในโลกอินเทอร์เน็ต อีกด้วย
9
เช่น ข่าวตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัคร, สินค้าหรือผลงานอ้างอิงของผู้สมัคร รวมทั้งข้อมูลใน Facebook
4
แฟ้มข้อมูลนี้ จึงทำให้ Google ได้รู้จักและเข้าใจถึงตัวตนของผู้สมัครได้จริง ๆ
ชนิดที่ว่า บางทีเพื่อนสนิทของคุณเอง อาจจะไม่รู้จักคุณได้เท่ากับ Google ก็เป็นได้
1
2. กระบวนการสัมภาษณ์ ที่ปราศจาก “อคติ”
1
“อคติจากสิทธิ์ชี้ขาดการจ้างงาน” คือหนึ่งอุปสรรคสำคัญ ในการค้นหาเพชรเม็ดงามของ Google
3
Google จึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการแยกอำนาจการตัดสินใจจ้างงาน ออกเป็น 2 ทีมงาน
คือ “กรรมการสัมภาษณ์” และ “กรรมการจัดจ้าง”
โดย กรรมการสัมภาษณ์ จะมีสิทธิ์ในการสัมภาษณ์ และการให้คะแนนผู้สมัครงาน
แต่จะไม่มีสิทธิ์อนุมัติการจ้างงานโดยตรง ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ กรรมการจัดจ้าง
11
นอกจาก Google จะแก้ปัญหาอคติจากสิทธิ์ชี้ขาดการจ้างงาน แล้ว
Google ยังมีวิธีแก้ปัญหา “อคติในการสัมภาษณ์งาน” ได้อย่างน่าสนใจ
1
ด้วยหลักการที่เรียกว่า ปัญญามวลชน (Wisdom of crowds)
คือ การปล่อยให้การสัมภาษณ์ และการใช้คะแนนผู้สมัคร เป็นไปอย่างอิสระ
3
โดยผู้สมัคร 1 คน
จะถูกสัมภาษณ์เป็นจำนวน 5 รอบ ด้วยกรรมการสัมภาษณ์ 5 คน ที่มาจากต่างสาขากัน
โดยกรรมการแต่ละคน มีอิสระในการสัมภาษณ์เรื่องอะไรก็ได้
3
การสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้ หากมีประเด็นใดที่กรรมการสัมภาษณ์แต่ละคนคิดเห็นตรงกัน
Google เชื่อว่าประเด็นนั้น จะเป็นข้อมูลสะท้อนถึงตัวตนที่แท้จริงของผู้สมัครได้
4
ซึ่งผลการสัมภาษณ์ทั้งหมดนี้ จะถูกรวบรวมลงในแฟ้มข้อมูลผู้สมัคร
และถูกส่งต่อไปยัง “กรรมการจัดจ้าง” และ “กรรมการฝ่ายตรวจสอบ”
หากผ่านการคัดเลือก ก็จะเข้าสู่ขบวนการเซ็นอนุมัติความเห็นชอบจาก แลร์รี เพจ ผู้ก่อตั้ง Google ต่อไป
2
3. คำถามสุดโหดแบบฉบับ Google
2
คำถามที่กระชับ สั้น และจุดประเด็นให้พูดคุยต่อยอดความรู้ได้
คือ นิยามคำถามแบบฉบับ Google..
โดย Google จะเริ่มต้นด้วยคำถามปลายเปิด
เพื่อทดสอบการแก้ปัญหาและความรู้ทั่วไป
จากนั้นจะค่อย ๆ เจาะลึกถึงรายละเอียด
3
ที่น่าสนใจคือ คำถามเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้องาน ของตำแหน่งงาน ของผู้สมัครก็ได้
3
เพราะ Google มองว่า บุคลากรขององค์กร ไม่ควรรู้แค่ส่วนงานของตนเอง
แต่ควรมีความเข้าใจและมีความพร้อมรอบด้าน สามารถโยกย้ายทำงานต่างหน้าที่ได้
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
2
ตัวอย่างคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ของ Google เช่น
1
- คำถามแบบอัลกอริทึม (Algorithm) สะท้อนถึงขบวนการคิดวิเคราะห์และการจัดระเบียบข้อมูล
4
เช่น คุณจะมีวิธีจัดเรียงเสื้อผ้าที่มีอยู่เต็มตู้อย่างไร ให้หาได้ง่ายที่สุด ?
10
แม้ว่า การจัดเรียงเสื้อผ้า จะไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเทคโนโลยี
แต่จริง ๆ มันสะท้อนได้ถึงหลักการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ต่างไปจากการเขียน Coding โปรแกรม
ที่มีเป้าหมายสำคัญ คือ การลดเวลาในค้นหาข้อมูล นั่นเอง
10
-คำถามแฟร์มี (Fermi Problem) สะท้อนถึงวิธีคิดแบบประมาณการ โดยไม่จำเป็นต้องได้คำตอบที่ถูกต้อง
3
เช่น คุณคิดว่าโลกของเรา ผลิตแชมพูกี่ขวดในแต่ละปี ?
7
คำถามนี้สะท้อนได้ถึง วิธีคิดประมาณขวดแชมพู จากการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจำนวนประชากรโลก
เพราะ ปริมาณการผลิตสินค้าต่าง ๆ ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นั่นเอง
2
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า..
1
การค้นหาบุคลากรที่จะมาเป็นเพชรเม็ดงามของ Google ไม่ใช่เรื่องง่าย..
2
Google จึงต้องกลับมาทำการบ้านอย่างหนัก ในทุกกระบวนการคัดเลือกพนักงาน
ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์, คำถามสัมภาษณ์ และข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครงาน
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้ได้บุคลากรที่เหมาะสมและคู่ควรกับ Google มากที่สุด
6
หากวันนี้.. องค์กรใด กำลังคัดเลือกพนักงานคุณภาพเยี่ยม เข้าสู่องค์กร
อย่าลืมสำรวจตัวเองก่อนว่า องค์กรของเรา ทำการบ้านเพื่อคัดเลือกพนักงาน แล้วหรือยัง ?
1
โฆษณา