Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นอนดี ชีวิตดี Better Sleep Better Life
•
ติดตาม
6 มี.ค. 2021 เวลา 14:46 • สุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในแต่ละ ระยะการนอน
จากที่เราทราบกันไปแล้วว่า การนอนในแต่ละรอบการนอนที่ปกติ จะประกอบด้วยการนอน ระยะ Non Rapid eye movement (REM) 1 (N1, NREM1) Non REM 2 (N2, NREM2) Non REM 3 (N3, NREM3) และ ระยะ REM จำนวน 3-4 รอบต่อคืน ใช้เวลาในแต่ละรอบประมาณ 90 -120 นาที
1
การที่จะสามารถทราบ ระยะการนอนได้อย่างถูกต้องได้นั้น ท่านนั้นๆต้องได้รับการตรวจการนอนหลับด้วยเครื่องตรวจการนอนหลับ (polysomnography test, PSG) หรือ เรียกกันสั้นๆง่ายๆว่า sleep test นั่นเอง
1
การตรวจ Polysomnography (PSG) ซึ่งประกอบด้วย
: การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography, EEG)
: การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography, EMG)
: การประเมินการหายใจ (Respiration)
: การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography, EKG)
: การประเมินค่าออกซิเจนในเลือด (Oxygen saturation) ซึ่งเป็นการตรวจที่ละเอียด ในห้องตรวจของโรงพยาบาล แต่ในปัจจุบัน เริ่มมีการตรววจภายนอก โรงพยาบาลหรือตรวจที่บ้านซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
1
การตรวจการนอนหลับ ในระยะตื่น
ในระยะที่ร่างกายตื่น คลื่นไฟฟ้าสมองก็จะแสดงลักษณะของการตื่น โดยลักษณะที่สำคัญคือ คลื่นไฟฟ้าสมองชนิด แอลฟ่า ซึ่งมีความถี่ประมาณ 8-12 Hz ในบริเวณด้านหลังของสมอง และมีการเคลื่อนไหวของการกลอกตาแบบเร็ว การเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่แสดงได้จากคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
1
ระยะการนอนหลับ NREM 1 (N1)
การนอนหลับในระยะ N1 มักจะเป็นระยะเริ่มต้นนอนในคนปกติ ซึ่งเป็นระยะที่จำนวนเวลาสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่นๆ ของการนอน พบว่า มีระยะเวลาประมาณ 5% ของระยะการนอนทั้งหมด
: คลื่นไฟฟ้าสมอง เปลี่ยนแปลงเป็นชนิดคลื่นความถี่ช้า (theta) ผสมกับคลื่นความถี่เร็ว (beta) และคลื่นไฟฟ้าสมองแอลฟ่า ขนาดเล็กลง
: การกลอกตาเริ่มช้าลง
: การหายใจเริ่มตื้นและช้าลง
: อัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ
: การเคลื่อนไหวร่งกายลดลง และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อลดลง
: ระยะที่ตื่นได้ง่าย
1
ระยะการนอนหลับ NREM 2 (N2)
การนอนในระยะ N2 จะเป็นการหลับที่ลึกกว่า ระยะ N1 และเป็นระยะที่มีจำนวนเวลาที่ใช้ในระยะนี้มากที่สุด ประมาณ 50% ของระยะการนอนทั้งหมด
1
: คลื่นไฟฟ้าสมองที่พบ จะมีลักษณะเฉพาะ คือคลื่นลักษณะรูปกระสวย sleep spindle ที่มีความถี่ประมาณ 12-14 Hz และ คลื่นไฟฟ้าสมองชนิด K complex
: การลดลงของความดันโลหิต การเผาผลาญพลังงานในร่างกายและสมอง
: การลดลงของสารคัดหลั่ง หรือน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร
1
ระยะการนอนหลับ NREM3 (N3)
การนอนหลับในระยะ N3 นั้น คือการนอนหลับลึกที่แท้จริง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะคิดว่า การหลับฝัน REM sleep คือ ระยะหลับลึก โดยการนอนในระยะ N3 นั้น ใช้เวลาโดยประมาณ 20% ของการนอนทั้งหมด
: คลื่นไฟฟ้าสมองจะพบ ลักษณะ คลื่นใหญ่และช้า (slow wave sleep) 0.5-2.0 Hz
: เริ่มไม่พบการเคลื่อนไหว หรือการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
: ไม่มีการกลอกของลูกตา
: ถ้ามีเหตุการณ์หรืออาการผิดปกติ เกิดขึ้นในระยะนี้ มักจะไม่สามารถจำได้เมื่อตื่น
1
การนอนในระยะ REM
การนอนหลัยในระยะ REM หรือ Rapid eye movement sleep นั้นคือการนอนในะระหลับฝัน เป็นการนอนที่พบลักษณะที่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเฉพาะ กล้ามเนื้อตาที่เป็นการกระตุกแบบเร็ว กล้ามเนื้อการหายใจ และกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนร่างกายอื่นๆ จะไม่พบการเคลื่อนไหว ทำให้เข้าใจว่าเป็นระยะหลับลึก แต่เมื่อพิจารณาลักษณะของคลื่นไฟฟ้าสมองแล้ว ระยะการนอน REM นั้น มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมอง ที่คล้ายกับลักษณะของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะตื่น ทำให้ไม่ใช่ระยะของการหลับลึก ส่วนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของร่างกาย จะพบการเพิ่มขึ้น ของความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจที่ไม่สม่ำเสมอมากขึ้น และนอกจากนี้ จะพบฝันได้ในระยะนี้ และมักจะจำความฝันได้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ หลังตื่นนอน
1
นอนดี ชีวิตดี Better Sleep Better Life
1 บันทึก
1
4
1
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย