Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สิ่งต่างๆรอบตัวเรา
•
ติดตาม
7 มี.ค. 2021 เวลา 00:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คลื่นความถี่ สรุปแบบง่ายๆ
https://images.unsplash.com/photo-1498084393753-b411b2d26b34?ixid=MXwxMjA3fDB8MHxwaG90by1wYWdlfHx8fGVufDB8fHw%3D&ixlib=rb-1.2.1&auto=format&fit=crop&w=2689&q=80
คลื่นความถื่ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves: EW)
ในโลกนี้มีระบบ "คลื่น" ที่เรารู้จัก คือ EW
หากจะว่ากันตามนิยามในกฎหมาย ต้องอิงตาม พรบ.กสทช.
“คลื่นความถี่” หมายความว่าคลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรตเซียนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำกว่าสามล้านเมกะเฮิรตซ์ลงมาที่ถูกแพร่กระจายในที่ว่างโดยปราศจาก สื่อนำที่ประดิษฐ์ขึ้น
คุณสมบัติ คือ
1. วิ่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งโดยไม่ต้องใช้ตัวกลาง (อากาศ น้ำ วัตถุแข็ง เป็นต้น)
2. ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่อาจรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น รังสีอินฟราเรดทำให้เกิดความอบอุ่น รังสีอัลตราไวโอเล็ตทำให้ผิวหนังไหม้
คลื่น เกิดจากการส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มีส่วนประกอบ คือ
1. ความยาวคลื่น (วัดจากยอดคลื่น-ยอดคลื่น) หน่วย lamda
2. ความถี่ หน่วยเป็น Hz
3. ความเร็ว คงที่ คือ 300,000,000 เมตร/วินาที
ลักษณะของคลื่น
การคำนวณหาความถี่คลื่น
การคำนวณความถี่คลื่น
📶 ตัวอย่างคลื่นระบบโทรมนาคม
คลื่นในระบบโทรคมนาคม
คลื่นสั้น ความถี่สูง ทะลุทะลวงได้ดี แต่สูญเสียพลังงานไปเยอะเมื่อวิ่งผ่านบรรยากาศ วิ่งในอากาศ จึงไปได้สั้นกว่า
คลื่นยาว ความถี่ต่ำ ทะลุทะลวงได้น้อย แต่ไม่ค่อยเสียพลังงาน ระยะทางจึงไปได้ไกลกว่า วิ่งตามพื้นดิน
ในเมืองเต็มไปด้วยตึก จึงใช้ high frequency แต่ตั้งเสาถี่หน่อย นอกเมือง ใช้ low frequency เสาไม่ต้องมาก
คลื่น EM มีประเภทไหนบ้าง
-ที่ธรรมชาติมีให้ ได้แก่ แสงแดด
-ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ computer, TV, radio, mobile phone, micorwave, X-ray, Gamma
แหล่งกำเนิดคลื่น
ความยาวคลื่นประเภทต่างๆ
เปรียบเทียบ "ขนาดคลื่น" กับ ขนาดของอนุภาคต่างๆ
📳 คลื่นที่นำมาใช้ในระบบสื่อสาร
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union - ITU) ได้กำหนดช่วงคลื่นที่ใช้ในการสื่สารไว้กว้างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากล (เพื่อให้คุยกันรู้เรื่องในภาษาคลื่น )
จริงๆช่วงคลื่นนั้นมีอยู่แล้ว แต่มนุษย์ผลิตระบบสื่อสารกันขึ้นมา จึงต้องกำหนดว่า สื่อสารแบบนี้ให้ใช้ช่วงคลื่นไหนโทรศัพท์ธรรมดาใช้คลื่น 300–3,000 MHz ระบบอินเตอร์เน็ต ดาวเทียม ใช้ช่วง 3–30 GHz เป็นต้น
USA-Frequency-Allocation
ตัวอย่างช่วงคลื่นที่ถูกกำหนดใช้งานในภารกิจต่างๆ
ช่วงคลื่น เช่น 700 MHz หรือ 2300 MHz นั้นเป็นเพียงตัวเลขกลางที่ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างแต่ละฝ่ายเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วการจัดสรรคลื่นความถี่จะให้ความสนใจแถบความกว้างของคลื่นความถี่ (Bandwidth) เป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น ใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ 700 MHz จำนวนหนึ่งใบนั้นอาจให้อำนาจผู้ให้บริการเครือข่ายในการใช้งานคลื่นความถี่ โดยอนุญาตให้ใช้แถบความถี่กว้าง 5 MHz ซึ่งกำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ได้งตั้แต่ 700 MHz ถึง 705 MHz เป็นต้น
นึกออกไหม เวลาบริษัทมือถือโฆษณา จะบอกว่าตัวเองมีปริมาณคลื่นกี่ MHz นั่นแหละ คือ Bandwidth
Bandwidth , ความเร็ว, G นั้นสัมพันธ์กันอย่างไร
https://cdn.statcdn.com/Infographic/images/normal/17506.jpeg
💡คลื่นแต่ละความถี่เปรียบเสมือน ผิวถนนสายต่างๆ เช่น ทางลูกรัง ราดยางมะตอย ทางด่วน (ผิวถนนดีสุดในประเทศไทย ^^) เป็นต้น
Bandwidth เปรียบเสมือน ความกว้างถนน กว้างมาก รถวิ่งได้มากและเร็วขึ้น
2G, 3G, 4G, 5G … เป็นเทคโนโลยีที่เอามาใช้กับถนน เปรียบเสมือน ยานพาหนะที่นำมาวิ่งบนถนน (ต้องเหมาะสมกับสภาพถนนด้วย) จะเอาเฟอรารี่มาวิ่งบนลูกรังก็ใช่เรื่อง
อย่างของ AIS 5G วิ่งได้ทุก Band 700 MHz, 2600 MHz, 26 GHz
นอกจากนั้น ยังมีคำว่า Latency หรือ ระยะเวลาประมวลผล (ตอบสนองต่อคำสั่ง) เปรียบเทียบกับสมองคน มีการทดลองให้ดูรูปแล้วบอกว่าเป็นรูปอะไร ซึ่งมีการเปลี่ยนรูปไปเรื่อยๆตามระยะเวลาที่ทดสอบ พบว่า ระยะเวลาน้อยที่สุดที่สมองมนุษย์จะประมวลผลแล้วบอกว่าเป็นรูปอะไรได้ ต้องใช้อย่างน้อย 13 ms (13-80 ms) ดังนั้น 5 G เร็วกว่าสมองมนุษย์ 13 เท่า ง่ายๆก็ คือ เปรียบเสมือน คนขับ แม้ขับเฟอรารี่เหมือนกัน แต่ปฏิกิริยาการตอบสนองขณะขับรถจะต่างกัน เช่น เวลาเห็นสิ่งกีดขวางจะหลบทันไม่ทันก็อยู่ที่ระยะเวลาตอบสนองนี่แหละ
บริษัทผลิตอุปกรณ์สื่อสารก็ต้องไปผลิตตัวรับ-ส่งคลื่นให้เข้ากับช่วงคลื่นที่ใช้งานได้เท่านั้นเอง
ทำไมต้องประมูลคลื่น ?
คลื่นเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสมบัติชาติ เอกชนจะใช้ต้องเสียเงินให้กับรัฐ ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ร.บ.กสทช.) โดยหลักการจัดสรรคลื่นความถี่ต้องประมูล ยกเว้นบางกรณี เช่น คลื่นความถี่นั้นมากเพียงพอ ทุกคนใช้ได้ไม่ต้องประมูล หรือ ใช้คลื่นความถี่นั้นเพื่อกิจการรัฐโดยไม่แสวงหากำไร
พ.ร.บ.กสทช.
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนคือบริการโทรศัพท์ทุกวันนี้ที่เราใช้อยู่ เป็นระบบสัญญาสัมปทานเป็นส่วนใหญ่ นั่นคือเอกชนนั้นวางเครือข่ายให้กับรัฐวิสาหกิจของรัฐ แล้วเข้าบริหารเครือข่ายเหล่านี้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยแบ่งเงินส่วนแบ่งรายได้ให้
ความจำกัดของระบบเช่นนี้ คือ เมื่อเอกชนต้องการทำอะไรใหม่ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของใบอนุญาตเสียก่อน ซึ่งก็ให้อนุญาตได้ไม่เกินสิ่งที่ใบอนุญาตให้ไว้อีกที
การประมูลที่ผ่านๆมาจะเป็นกรณีที่เอกชนได้รับใบอนุญาตโดยตรง ทำให้ส่วนแบ่งรายได้จากเดิมที่ต้องนำส่งรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก ลดลงเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและเงินเข้ากองทุน USO ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมทางการสื่อสารและการศึกษา ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและพื้นที่ธุรกันดารห่างไกล ยากต่อการเข้าถึง ก็สามารถนำการสื่อสารเข้าไปใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท โครงการแพทย์ทางไกล การจัดทำโทรศัพท์ขั้นพื้นฐานให้กับชุมชนต่างๆ (เงินรายได้ที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการประมูล และเงินที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตาม กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็น รายได้แผ่นดิน)
References
1.
https://www.nsm.or.th/other-service/666-online-science/knowledge-inventory/sci-article/sci-article-information-technology-museum/4226-5g.html
2.
http://www.gisthai.org/about-gis/electromagnetic.html
3.
https://www.blognone.com/node/36609
4. พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 |
5.
www.statistica.com
:
https://cdn.statcdn.com/Infographic/images/normal/17506.jpeg
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย