8 มี.ค. 2021 เวลา 15:30 • การเมือง
อบต. กับ เทศบาล ต่างกันยังไง
ใครสงสัยมาตรงนี้ได้เลยจ้า!!!
เทศบาล & องค์การบริหารส่วนตำบล
ช่วงนี้เป็นช่วงหาเสียงกันอย่างคึกคัก นั่นคือการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีฯและสมาชิกเทศบาล ในวันที่ 28 มี.ค. 64
จริงๆเมืองเราเป็นเมืองที่เลือกตั้งที่หลายยกแล้วนะ ทั้ง สส. อบจ. อบต. ไหนจะผู้ใหญบ้านอะไรอีก ต่ออะไรอีก
1
ที่นี้ก่อนจะเป็นเทศบาลก็ยังคงเป็นสุขาภิบาลอยู่ ซึ่งประวัติเทศบาลหรือสุขาภิบาลจะเล่าให้ฟังในหมวดประวัติศาสตร์
เทศบาล
การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครองท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานครและเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมีการทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตามรูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้
ปัจจุบัน ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563 มีเทศบาลทุกประเภท (ไม่รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) ทั้งสิ้น 2,469 แห่ง
เทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้น ๆ ในพรบ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 9, 10, 11 ได้กำหนดขนาดเทศบาลดังนี้
มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีการประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลนคร พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
เทศบาลแต่ละแห่งมีนายกเทศมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานในท้องที่เทศบาลนั้นทั้งหมด ปัจจุบันเทศบาลทุกประเภทมีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 มีองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งสิ้น 5,300 แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกิน 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58) ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
ฉะนั้นการเลือกตั้งนั้นจะมีแค่การเลือกสมาชิกเทศบาลหรือสมาชิกอบต. และ นายกเทศมณตรี(เทศบาล)หรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบต.)เท่านั้น
แต่ทั้งสองแตกต่างกันอยู่ที่ว่า ระบบการปกครองเทศบาลถูกยกระดับจากอบต. ฉะนั้นในปัจุจบันยังมีอีกหลายๆแห่งเลยทีเดียวที่ยังไม่ได้ยกระดับเนื่องด้วยหลายปัจจัย เช่น งบประมาณฯ จำนวนประชากร การพัฒนา ฯลฯ
จริงๆ มันก็มีเส้นสายบ้าง หลายๆที่ขนาด เทศบาลหรืออบต.บางคนก็มีเชื้อสายกับนักการเมืองชื่อดังก็มี คนต่างถิ่นก็มี เชื้อวงศ์ก็มี
ในวันที่ 28 มีนาที่ใกล้จะถึง จึงขอเชิญชวนทุกท่านเลือกคนหรือคณะที่พร้อมจะตั้งใจพัฒนาบ้านหรือชุมชนนั้นให้เจริญต่อไปได้ครับ
โฆษณา