7 มี.ค. 2021 เวลา 05:17 • หนังสือ
สรุปประเด็น Clubhouse หัวข้อ: "จัดระเบียบชีวิตการทำงานที่ยุ่งเหยิง ด้วยการจดบันทึกแบบบูโจ"
1.เทคนิคการจัดระเบียบชีวิตและการทำงานของพี่โจ้ และน้องมิ้นท์ RGB มีอะไร
บ้าง?
1.1 เทคนิคกำหนด Theme of the day : เพราะเวลาว่างคือ การวางแผน
ยกตัวอย่าง
• วันจันทร์ อาจจะกำหนดให้เป็นวันแห่งการซุปเปอร์โฟกัส
• วันอังคารกำหนดเป็นวันแห่งการวางแผนสิ่งต่างๆ
• วันพุธ จัดให้เป็นวันแห่งการประชุม พยายามจัดให้ล็อควันสำหรับการประชุมให้อยู่ในหนึ่งวัน
• วันพฤหัสเป็น Therapy day
• วันศุกร์มาในธีม Happy Friday
• วันเสาร์ วัน Spoil day ให้เราได้ทำสิ่งที่เราอยากทำ
• วันอาทิตย์วันของครอบครัว
ทุกคนสามารถปรับแต่ง และสามารถนำเอาเทคนิค Theme of the day ไปปรับในแบบของตัวเองได้
1.2 เทคนิคกำหนด Time boxing
• เราสามารถกำหนดช่วงเวลาในการทำแต่ละกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น เวลาสำหรับการพัฒนาตนเอง เวลาสำหรับการทำงาน หรือแม้กระทั่งช่วงเวลาที่เราจะใช้ในการพักผ่อน
1.3 เทคนิคกำหนด Cornell
เริ่มจากการแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน หลักๆ
1.Notes/ Detail – พื้นที่ที่ใหญ่ที่สุด สำหรับจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ
2.Key word & Question – สำหรับบันทึกประเด็นสำคัญ อาจใช้การใส่คีย์เวิรด์สั้นๆ หรือใส่เป็นคำถามเพื่อใช้สำหรับเรียก call to action ต่อไป
3.Summary – หลังจากกลับมาทบทวนเนื้อหาจากทั้งสองช่องแล้ว ให้ใช้พื้นที่ในส่วนนี้เป็นการเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดอีกครั้งเพื่อให้เข้าใจที่สุด
1
1.4 เทคนิคการจดแบบเร็ว
• อย่างเวลาเราต้องจด minute ในการประชุม เราจะต้องฟังและเก็บประเด็นต่างๆ ดังนั้น ไม่ต้องจดทุกอย่างที่คนพูด จดแต่เรื่องที่สำคัญ ค่อยๆโฟกัสไปทีละอย่าง
• ใช้สัญลักษณ์อย่างง่าย เช่น บูเล็ต( • ) Hyphen (-) หรือการวาด Flow chart ต่างๆเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ
• จด Fact และจด Action ว่าใครต้องไปทำอะไรต่อ รวมถึงจดว่าใคร (Who) ที่ต้องเป็นคนทำ Action นั้น
1.5 เทคนิคถาดและตู้กับข้าว
ถาด = เขียนงานสิ่งที่ทำลงไปในถาด เขียนทุกอย่างที่ผุดเข้ามาในสมอง
ตู้กับข้าว = กรองงานจากถาดมาใส่ในตู้กับงาน ให้หยิบมาแต่สิ่งสำคัญ + จำเป็นเท่านั้น
เทคนิคนี้เป็นการขจัดสิ่งไม่สำคัญและรกสมองทิ้งไป
2. อยากให้ช่วยแชร์เทคนิคการจดบันทึกให้กับเด็กนักเรียน นักศึกษา ว่ามีอะไรบ้าง
• การใช้ Time boxing จะช่วยได้ เพราะในช่วงวัยเรียน เราจะต้องเวลาไปเรียนหนังสือ และทำกิจกรรมที่ชอบ การกำหนดเวลาให้ตัวเองว่า เวลานี้อ่านหนังสือ เวลานี้ทำการบ้าน เวลานี้ออกไปเตะบอล จะทำให้เราได้ใช้เวลาในส่วนที่เราอยากทำหลายๆอย่างพร้อมกันได้
• การ work back กลับมา ว่า วันไหนเราจะสอบ วันไหนเราจะต้องส่งการบ้าน จะทำให้เราวางแผนการเรียนได้ดีขึ้น
• สามารถนำเทคนิคการเขียนบูโจไปปรับใช้ในช่วงเรียนได้ เพราะบูโจจะช่วยให้เราพิจารณาสิ่งที่เข้ามา และกรองสิ่งที่เราไม่สำคัญได้
• เราต้องเห็นภาพรวมในชีวิตของเราก่อน เขียนทุกอย่างมันออกมา และเราจะสามารถจัดการกับมันได้
1
• สำหรับเด็กๆในวัยเรียน ควรเรียนรู้ระบบการจด Take note เพราะมันจะมีประโยชน์มากในการทำงาน
• การ Take note เป็นเครื่องมือที่เราสามารถเรียนรู้กับงานต่างๆได้ดี
• ตัวอย่างของระบบในการจดบันทึก เช่น ฟ้า-ฝน-ร่ม/ Question evidence conclusion /การเขียน Mind mapping
• ระบบ คือ การแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน
ฟ้า คือ สถานการณ์ปัจจุบัน หรือข้อเท็จจริง
ฝน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์นั้น
ร่ม คือ แนวทางปฏิบัติและการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับมัน
• Question evidence conclusion คือ การตั้งคำถามด้วยการถามกับตัวเองแทนการจดข้อมูลดิบ เปลี่ยนประโยคบอกเล่าให้อยู่ในรูปของประโยคคำถาม แล้วพยายามหาคำตอบหรือหาข้อสรุปด้วยตัวเราเอง โดยหาเหตุผล/หลักฐานมา support คำตอบคำตอบนั้น Concept คล้ายกับการ Start with WHY?
3.สำหรับคนที่อยากเริ่มจดบูโจ... ต้องทำไงดี??
1. หา why ของตัวเองให้เจอ
2. เตรียมสมุด + ปากกา
3. ลงมือทำ! Do it now.
4.(ป้ายยาทิ้งท้าย) แนะนำหนังสือน่าอ่านจากพี่โจ้ ฉวีวรรณ และพี่นันท์ Minimalist Bullet Journal Thailand
• จงทิ้งสิ่งที่ดีเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด Essentialism , Greg Mckeown (สำนักพิมพ์ We learn) ราคา 250 บาท
• ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุดถึงใช้สมุดกราฟ, ทะคะฮะชิ มะซะฟุมิ เขียน (สำนักพิมพ์ We learn) ราคา 220 บาท
• The bullet journal method, Ryder Carroll (สำนักพิมพ์ Bookscape) ราคา 395 บาท
สุดท้ายนี้ ขอหยิบเอาคำพูดของคุณหยก จากเพจ Bujo therapy ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับสาวกนักจด นักเขียน ได้เป็นอย่างดีก็คือ “บูโจ สุขได้ + สำเร็จด้วย”
ขอให้ทุกคนสนุกกับการจดบันทึกนะคะ ใครมีเทคนิคการจดบันทึกมาแชร์กันได้นะคะ
โฆษณา