7 มี.ค. 2021 เวลา 07:39 • ธุรกิจ
"เมื่อยังมีไฟ แต่หมดใจกับการทำงาน" มารู้จักและรู้เท่าทันกับ "Brownout" อาการหมดใจที่น่ากลัวยิ่งกว่า Burnout
หลังจากได้รู้จักกับ "Burnout Syndrome" หรืออาการหมดไฟมาแล้ว วันนี้จะพามารู้จักกับ "Brownout Syndrome" อาการหมดใจที่ไม่ได้หมายถึงการหมดไฟในการทำงานแต่หมดใจกับระบบการทำงานและองค์กร
ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวคืออาการหมดใจนี้เป็นสาเหตุให้คนเก่งๆหลายคนลาตัดสินใจออกจากได้เลย และยังส่งผลกระทบถึงขวัญกำลังใจเพื่อนร่วมงานอีกด้วย
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิด Brownout Syndrome
• กฏระเบียบจุกจิกที่มากเกินไป
แน่นอนว่าแต่ละบริษัทก็ต้องมีกฏระเบียบที่คอยควบคุมให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน แต่ในบางครั้งกฏที่มันมากเกินไป ก็ส่งผลให้พนักงานรู้สึกอึดอัด รู้สึกโดนบังคับด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง หรือรู้สึกถูกจับตามองอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะโฟกัสกับงานกลับต้องมาพะวงในการรักษากฏเหล่านี้แทน
• ไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
หากบริษัทหรือองค์กรไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ว่ากำลังทำอะไร ทำไปเพื่ออะไร พนักงานก็จะไม่มีแรงกระตุ้นในการทำงาน รู้สึกว่าสิ่งที่ทำก็แค่ทำให้งานมันเสร็จๆไป ในแต่ละวัน เมื่อนานวันไปจะทำให้พนักงานรู้สึกไม่มีคุณค่า นำไปสู่การตัดสินใจลากออกได้
• ทำดีก็แค่เสมอตัว ทำแย่ก็ไม่มีบทลงโทษ
เมื่อคนที่ทำดีตั้งใจทำงาน ทุ่มเทกับงาน แต่กลับไม่มีคนเห็นค่าไม่มีรางวันใดๆตอบแทน ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่มีแรงจูงใจจะทุ่มเทในการทำงาน กลับกันคนที่ทำผิดพลาดหรือทำไม่ดีบ่อยๆ กลับไม่มีการว่ากล่าวตักเตือนหรือไม่มีบทลงโทษใดๆ ก็จะยิ่งส่งผลให้คนที่ตั้งใจทำงานมากๆ ลดความตั้งใจลง เนื่องจากเห็นว่าถึงจะทำผิดก็ไม่ได้มีผลอะไรเลย
• ทำงานกันแบบหุ่นยนต์
เจ้านายออกคำสั่งลูกน้องก็แค่ทำตาม ต่างคนต่างก้มหน้าทำหน้าที่โดยไม่ได้มีการพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเลย ไม่ได้มีการสอบถามสภาพจิตใจหรือความเป็นอยู่ของพนักงาน นานวันเข้าพนักงานก็จะรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นแค่เครื่องจักรตัวหนึ่งในบริษัทหรือองค์กรเท่านั้น
• เจ้านายเอาแต่ใจตัวเอง
บางทีหัวหน้าหรือเจ้านายอาจไม่รู้ตัวว่าสิงที่กำลังทำส่งผลให้พนักงานอึดอัดที่ต้องแบกรับความกดดัน บางครั้งเจ้านายไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดแต่กลับโยนความผิดมาให้พนักงานรับผิดชอบ บางครั้งสั่งงานหรือพูดอะไรไว้พอเวลาผ่านไปกลับลืมสิ่งที่เคยพูดเอาไว้ เมื่อเป็นแบบนี้บ่อยๆเข้าก็จะทำให้พนักงานรู้สึกไม่อยากจะทนอยู่ในสถานการณ์แบบนี้อีกต่อไป
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดอาจจะส่งผลให้พนักงานรู้สึกหมดใจกับบริษัทหรือองค์กรเป็นสาเหตุให้ตัดสินใจลาออกในที่สุด ซึ่งอาจส่งผลไปถึงขวัญกำลังใจและภาระงานที่อาจจะมากขึ้นของเพื่อนร่วมงาน ในด้านของบริษัทหรือองค์กรเองก็อาจส่งผลให้จะสูญเสียคนเก่งๆ คนที่ตั้งใจทำงาน หรือคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานไปได้...
โฆษณา