7 มี.ค. 2021 เวลา 11:05 • ประวัติศาสตร์
ภาพแรกของเพจเป็นภาพที่ผมเห็น
บ่อยมากกก...ผมเห็นแล้วทำให้เตือนสติตัวเองว่า"อย่าเห็นแก่ตัว" ผมจึงได้ไปค้นหาข้อมูลแล้วมานำเสนอให้ทุกคนรู้..
3
ชื่อภาพ : อย่าเห็นแก่ตัว (ปี1975)
1
ศิลปินที่เป็นผู้วาด : เจริญ กุลสุวรรณ
ภาพๆนี้ผมเชื่อว่าหลายคนต้องเคยเห็นภาพพระพุทธรูปปางสมาธิที่สร้างจากข้อความว่า “อย่าเห็นแก่ตัว” ซึ่งมีผู้นิยมนำมาทำเป็นสติกเกอร์ติดท้ายรถหรือโปสเตอร์ติดในสำนักงาน ในบ้าน หรือในวัด
ผลงานวรรณรูป ชิ้นนี้เป็นงานที่ผสมผสานงานทัศนศิลป์ที่เป็นภาพผสมเข้ากับงานวรรณศิลป์ที่เป็นภาษา ได้อย่างลงตัว และสร้างสรรค์โดย เจริญ กุลสุวรรณ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518
-เจริญ กุลสุวรรณ ชาวจังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบันในวัย 72 ปี ชื่นชอบการเขียนภาพและเขียนหนังสือมาตั้งแต่เยาว์วัย เขาเคยบวชยาวนานถึง 11 พรรษาและศึกษาพระธรรมภายใต้การชี้แนะของท่านพุทธทาสภิกขุ จึงส่งผลถึงการทำงานสร้างสรรค์เฉพาะตัวโดยการนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาประยุกต์เป็นวรรณรูปเชิงพุทธศิลป์ นอกจากวรรณรูปคำว่า “อย่าเห็นแก่ตัว” ที่คุ้นเคยกันดีแล้ว เขายังสร้างวรรณรูปคำอื่น ๆ อีกมากกว่า
200 ชิ้น เช่นคำว่า “มีสติอย่าเผลอ” “ตั้งสติแก้ปัญหา” และ “รู้รักสามัคคีคือวิถีความสงบ”
-คำว่า ‘อย่าเห็นแก่ตัว’ ซึ่งเป็นคำสอนที่เป็นข้อเท็จจริง เพราะความเห็นแก่ตัวคือบิดาของความชั่วทั้งปวง ความเห็นแก่ตัวมันรุนแรงและวิกฤตมากขึ้น จึงคิดอยากจะนำหลักธรรมคำสอนมาแปลงเป็นคำพูดที่ง่ายและให้คนเข้าถึงได้เร็วขึ้น จึงทำให้อยากเขียนวรรณรูปภาพนี้” เจริญให้สัมภาษณ์กับเฟซบุ๊กเพจ “นักเขียนอีสาน” เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2558
เจริญใช้นามปากว่า “ทยาลุ” (หมายถึง มี
ความเอ็นดู มีความสงสาร) และเรียกตัวเองว่า “ศิลปินสิ้นชาติ” (หมายถึง ศิลปินผู้อุทิศตนเพื่อพุทธศาสนา) ดังที่ปรากฏบนหน้าปกหนังสือ “ปริศนาธรรม นำจิตสู่อิสรา” (พ.ศ.2554) ซึ่งรวบรวมภาพจิตรกรรมและข้อเขียนไขปริศนาธรรมของเขา ผลงานวรรณรูปของเจริญยังได้นำมารวบรวมอยู่ในหนังสือหลายเล่ม อาทิ “กิเลสที่รัก” (พ.ศ.2540) “กระท่อมเนรเทศทุกข์” (พ.ศ.2547) “เพ่งภาพ พบนิพาน” (พ.ศ.2549) “แสงธรรมในดวงตา” (พ.ศ.2550) และ “มองตน” (พ.ศ.2541 : เล่มนี้ใช้ในนามปากกาว่า เราส์ มหาราษฎร์)
นอกจากงานสร้างสรรค์ด้านวรรณรูปแล้ว เขายังแต่งเพลงแนวธรรมะกว่า 200 บทเพลง เช่น เพลงเกิดมาทำไม ที่ขับร้องโดยจินตหรา พูนลาภ และยังได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประเภทบทกวี (วรรณรูป) ประจำปีพ.ศ.2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เครดิตภาพ : เจริญ กุลสุวรรณ
โฆษณา