7 มี.ค. 2021 เวลา 13:06 • ธุรกิจ
“World Wide Web” กำลังสิ้นสุดลง
ในช่วงปีที่ผ่านมา World Wide Web (WWW) เริ่มมีความ World Wide น้อยลง
2
ประเทศต่างๆเริ่มใช้กฎหมายควบคุมการเข้าถึงเว็ปไซต์หรือแอพลิเคชัน
-ยุโรปอาจสั่งระงับชั่วคราวสำหรับบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯที่ละเมิดกฎหมาย เช่น facebook
-สหรัฐอเมริกาสั่งแบน TikTok และ WeChat ในช่วงของรัฐบาลทรัมป์ แต่ฝ่ายบริหารใหม่ของไบเดนกำลังทบทวนการระงับดังกล่าว
-อินเดียซึ่งห้ามทั้งสองแอพนี้รวมถึงแอพอื่น ๆ อีกหลายสิบแอพ และตอนนี้ก็กำลังมีประเด็นกับ Twitter
3
*********ข้อพิพาทระหว่างออสเตรเลียกับ Facebook อาจเป็นจุดเริ่มต้น*********
1
ในเดือนนี้ Facebook เองได้มีประเด็นกับรัฐบาลออสเตรเลียเกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องการให้ Facebook จ่ายเงินให้กับสำนักข่าว ทาง Facebook จึงตัดสินใจที่จะระงับไม่ให้ Users แชร์ลิงก์ข่าวในประเทศเพื่อตอบสนองต่อกฎหมายดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของแพลตฟอร์มจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งอย่างมาก จากนั้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ Facebook และรัฐบาลก็บรรลุข้อตกลงที่จะกู้คืนหน้าข่าว โดยจะผ่อนปรนข้อกำหนดบางส่วนที่ Facebook มีปัญหา
5
อย่างไรก็ตามในการประกาศข้อตกลง Facebook ถือเป็นการบอกใบ้ถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปะทะกันในอนาคต โดยส่วนหนึ่งของประกาศกล่าวว่า "Facebook จะอุทิศให้ข่าวสารทั่วโลกต่อไปและต่อต้านความพยายามของกลุ่มผู้มีอำนาจที่ต้องการเข้ามาควบคุมช่องทางการแลกเปลี่ยนระหว่างสำนักข่าวและแพลตฟอร์มดังเช่น Facebook"
5
หากมีระเบียบหรือข้อตกลงที่แยกตามพื้นที่แบบกรณีดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อทั่วโลกที่เรารู้จักจะกลายเป็น "สปินเทอร์เน็ต (Splinternet)" ที่เป็นรูปแบบที่ระบบอินเทอร์เน็ตถูกจำกัดขอบเขตตามภูมิภาคหรือถูกควบคุมจากส่วนกลาง ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจพบเนื้อหาที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค
3
การผสมผสานระหว่างลัทธิชาตินิยมที่เพิ่มขึ้น ความขัดแย้งทางการค้าและความกังวลเกี่ยวกับการครอบงำตลาดของบริษัทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตระดับโลกได้กระตุ้นให้เกิดการปรับแก้กฎระเบียบไปทั่วโลก เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่บริษัทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตระดับโลกเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงตั้งแต่แนวคิดในการสร้างแพลตฟอร์ม ความสามารถในการเข้าถึงและการทำให้ใช้งานได้ในลักษณะเดียวกันจากทุกคนในโลก และดูเหมือนว่ารอยร้าวนี้จะลึกลงไปเรื่อย ๆ
7
*********รายละเอียดระหว่างข้อพิพาทระหว่างออสเตรเลียกับ Facebook*********
1
จากเหตุการณ์ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มไม่จำเป็นต้องถูกแบนหรือปิดตัวลงทันทีสำหรับข้อกำหนดและความแตกต่างที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค ผลจากความพยายามของรัฐบาลออสเตรเลียในการจ่ายเงินให้กับสำนักข่าว คือ Facebook หยุดแสดงลิงก์จากแหล่งข่าวไปยัง Users ชาวออสเตรเลีย Users นอกประเทศก็ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาข่าวของออสเตรเลียได้อีกต่อไป การเคลื่อนไหวเพียงสั้นๆนี้แสดงให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตนั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับการไหลเวียนของข้อมูลอย่างเสรีทั่วโลกอย่างแท้จริง
2
ในอินเดียก็มีข้อกำหนดไปในเชิง “ยินดีต้อนรับสู่การทำธุรกิจ” แต่ “ต้องเคารพกฎหมายของอินเดีย” Twitter จึงระงับบัญชีบางบัญชีที่ใช้แฮชแท็กเชิง "ก่อความไม่สงบและไม่มีมูล" ตามที่รัฐบาลกำหนด นั่นหมายความว่าบัญชีเหล่านั้นไม่สามารถมองเห็นได้จากในประเทศ แต่ยังสามารถเข้าถึงได้จากภายนอกประเทศ (ประเทศในเขตเอเชียใต้เต็มใจที่จะทำตามบริษัทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตต่างชาติมากขึ้น โดยกำหนดระเบียบที่สำคัญในการทำธุรกิจ ในขณะที่อยู่ในช่วงขัดแย้งทางการทูตกับจีนสำหรับการแบน TikTok และแอพที่เป็นของจีนอื่น ๆ อีกมากมาย)
3
เป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกที่หลายๆประเทศให้บริษัทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ สะสมความมั่งคั่งและอำนาจมหาศาล (แต่ยกเว้นจีนและเกาหลีเหนือ) ทำให้ Facebook และ บริษัทอื่น ๆ สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนได้ทั่วโลกจากการผลักดันเพียงเล็กน้อย แต่ตอนนี้การเปิดกว้างแบบนั้นอาจไม่ใช่อีกต่อไป
2
สิ่งที่ถูกกฎหมายในสวีเดนไม่ใช่สิ่งถูกกฎหมายในปากีสถาน ดังนั้นเราจึงต้องหาวิธีที่เหมาะสมกับวิธีการทำงานของอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าแพลตฟอร์มใดๆ ที่สมัครใจใช้หรือรัฐบาลบังคับใช้ต่างก็กำลังเกิดอุปสรรคที่ทำให้เราเห็นสิ่งต่าง ๆ ในประเทศหนึ่งมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง
Facebook ถือเป็นสัญลักษณ์ทางด้านธุรกิจเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ ใน Silicon Valley เมื่อ 5 ปีก่อน Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Facebook พูดถึงเป้าหมายของเขาในการเข้าถึงผู้ใช้ 5 พันล้านคนหรือประชากรส่วนใหญ่ของโลก โดยขณะนั้น Facebook มีผู้ใช้งานมากกว่า 3 พันล้านคนต่อเดือน ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก
1
Facebook ต้องการให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่เติบโตในชนบทที่ไม่เคยมีคอมพิวเตอร์ก็สามารถไปที่ร้านค้า ซื้อโทรศัพท์ เริ่มออนไลน์และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเดียวกันกับเรา
แม้แต่ในประเทศจีนซึ่งเครื่องมือเซ็นเซอร์ออนไลน์ของรัฐบาลที่เรียกว่า Great Firewall ได้ปิดกั้นบริษัทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่จากตะวันตกมานานหลายทศวรรษ ทั้ง Facebook และ Google ต่างก็พยายามที่จะขอสัมปทานเพื่อให้ได้รับอนุญาต
1
แต่ตอนนี้ Facebook ได้เปลี่ยนไปใช้วิธีการที่พบว่าค่อนข้างจะประสบความสำเร็จคือการขู่ว่าจะดึงผลิตภัณฑ์ออกจากตลาดเมื่อเผชิญกับกฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย
1
ในปี 2014 Google ปิดบริการ Google News ในสเปนหลังจากที่ผ่านกฎหมายที่คล้ายกันกับที่รัฐบาลออสเตรเลียในปัจจุบันที่จะให้บริษัทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่จ่ายเงินค่าข่าวให้กับสำนักข่าว โดยขู่ Google เองก็ว่าจะดึงเครื่องมือค้นหาออกจากประเทศ
2
แม้คราวนี้วิธีนี้ก็ดูเหมือนจะได้ผลดีสำหรับ Facebook แต่มีก็สัญญาณว่าประเทศต่างๆทั่วโลกรวมถึงสหรัฐอเมริกาว่าพวกเขายินดีที่จะตอบโต้กลับมากขึ้นสำหรับการปรับระเบียบการให้บริการแพลตฟอร์มบนอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ให้บริการเหล่านี้ล้วนสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลก รัฐบาลจึงแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเต็มใจที่จะตัดการเข้าถึงดังกล่าวเพื่อปกป้องอธิปไตยทางออนไลน์ของพลเมืองของเขา
4
Sinan Aral ศาสตราจารย์จาก MIT Sloan School of Business และผู้เขียน "The Hype Machine: โซเชียลมีเดียเป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง เศรษฐกิจและสุขภาพของเราอย่างไร" ได้กล่าวว่า บริษัทต่างๆเช่น Facebook และ Google จะพบกับความยากลำบาก หากพวกเขาถอดแพลตฟอร์มออกจากทุกตลาดที่ขอให้พวกเขาจ่ายเงินสำหรับข่าว ซึ่งเป็นการ "จำกัด" เนื้อหาที่พวกเขาสามารถให้บริการผู้ใช้ทั่วโลกอย่างมาก
อีกนัยหนึ่ง นั่นหมายความว่าหากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ระดับโลกไม่จ่ายเงินสำหรับเนื้อหา พวกเขาจะไม่สามารถเข้าถึงตลาดผู้บริโภคหรือเนื้อหาในตลาดนี้ได้เช่นกัน
ในขณะที่อินเทอร์เน็ตเกิดการแตกหัก หน่วยงานกำกับดูแลระดับโลกจึงรวมตัวกัน
*************ข้อสรุป***************
การต่อสู้เพื่อข่าวในออสเตรเลียเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการปะทะกันระหว่างเทคโนโลยีและรัฐบาล ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ประเด็น เช่น การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและการแข่งขัน แต่การเคลื่อนไหวของ Facebook ในออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่ามีความพยายามระหว่างประเทศมากขึ้นในการควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ ถือเป็นคลื่นระลอกหนึ่งที่จะค่อยๆรวมตัวเป็นคลื่นลูกใหญ่สำหรับรูปแบบการให้บริการอินเทอร์เน็ตจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งในอนาคต
จากการเผชิญหน้ากับ Facebook เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนายกรัฐมนตรีมอร์ริสันของออสเตรเลียได้ออกคำเตือนไปยังสื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่รายอื่นว่าสิ่งที่คุณทำที่นี่อาจย้อนกลับมาทำร้ายคุณในประเทศอื่นๆได้ หลายๆ ประเทศกำลังตอบโต้พฤติกรรมของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่คิดว่าตนใหญ่กว่ารัฐบาลและคิดว่าไม่ควรนำกฎมาใช้กับพวกเขา พวกเขาอาจจะเปลี่ยนโลก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาขับเคลื่อนมัน
2
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาหลังจากการตัดสินใจของ Facebook ในการคืนลิงก์ข่าว นายกรัฐมนตรีมอร์ริสันได้กล่าว "ยินดีต้อนรับ" และเสริมว่ารัฐบาลจะยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่า "นักข่าวและองค์กรข่าวของออสเตรเลียจะได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรมสำหรับเนื้อหาต้นฉบับที่พวกเขาผลิต"
2
ขณะนี้ประเทศอื่น ๆ รวมถึงสหราชอาณาจักรและแคนาดากำลังพิจารณากฎหมายที่คล้ายๆกันกับและหลายประเทศกำลังพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรให้ดีที่สุด
มันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากรัฐบาลต่างๆจะรวมตัวกันในระดับนานาชาติและจัดทำสนธิสัญญาหรือมาตรฐานบางอย่างเกี่ยวกับผู้ที่สามารถเข้าถึงและส่งผลกระทบต่อข้อมูลนอกดินแดนของตน
1
อย่างไรก็ตามหากข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นถูกนำไปใช้จริง ผลที่ตามมาอาจเลวร้าย
ผลลัพธ์คือในที่สุดเราจะมีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่แยกจากกันในทุกประเทศ ข้อมูลที่แยกออกจากกันอย่างสมบูรณ์หรือแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยทั่วโลก และเป็นผลให้พลเมืองในแต่ละประเทศมีชุดข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในท้องถิ่นเหตุการณ์ในโลกและอาจทำให้มุมมองของความเป็นจริงที่แตกต่างกัน
1
ในไทยเองก็เกิดการ สปินเทอร์เน็ต (Splinternet) เช่นกันจากการที่รัฐบาลสั่งแบนเว็ปไซต์ลามกอนาจาร เช่น pornhub ถ้าเราได้แชร์ข้อมูลกับเพื่อนประเทศอื่นเราอาจจะแปลกใจเลยก็ได้ว่าประเทศเราถูกปิดกั้นเว็ปไซต์มากกว่าที่คิด และการมาของสปินเทอร์เน็ตจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และคำว่า “World Wide Web” ก็จะไม่มีอีกต่อไป
3
โฆษณา