Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Miss Blue
•
ติดตาม
8 มี.ค. 2021 เวลา 07:21 • ประวัติศาสตร์
#กะเหรี่ยงคือใคร
ความ หมายของคำว่า “กะเหรี่ยง” ที่เป็นทางการ ตามที่ปรากฏในหนังสือ “ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จังหวัดในประเทศไทยพ.ศ.2545”[1]นั้นระบุว่า
กะเหรี่ยง เป็นชาวเขาเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยโดยรวมตัวกันอยู่หนาแน่นในพื้นที่ป่าเขาทางทิศตะวันตกของประเทศไทยตามบริเวณชายแดนไทย-พม่าชาวกะเหรี่ยงได้เคลื่อนย้ายเลื่อนมาทางทิศตะวันออกอย่างช้าๆ ในระยะแรกประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา ชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆคือสะกอและโปนักมานุษยวิทยาได้จัดชาวกะเหรี่ยงอยู่ในกลุ่มภาษาพม่า-ธิเบตในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ยังให้ข้อมูลตัวเลขของคนกะเหรี่ยงว่าจาก การรวบรวมข้อมูลในปี 2545 พบว่ากะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุด โดยมีประชากรทั้งหมด 437,131 คน คิดเป็นร้อยละ 47.54 ของประชากรชาวเขา...โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ 1,912 หมู่บ้าน/กลุ่มบ้าน 87,628 หลังคาเรือน 95,088 ครอบครัว ในพื้นที่ 15 จังหวัด โดยพบมากที่สุดที่จังหวัดเชียงใหม่ รองลงมาเป็นจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตากตามลำดับ(หน้า13)ตามการให้ ความหมายอย่างเป็นทางการข้างต้นนี้ กะเหรี่ยงถือเป็น “กลุ่มชาติพันธุ์” ที่จัดอยู่ในจำพวก “ชาวเขา” ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ยังได้ให้ความหมายของ“ชาติพันธุ์”ว่า หมายถึง“การ สืบทอดทางสายโลหิต เชื้อชาติ ภาษา ความเชื่อ วิถีการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโดยทั่วไปใช้คำว่า“เผ่า”เพื่อแยกกลุ่มชนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนออกจากกัน”และให้ความหมาย “ชาวเขา” ว่า “กลุ่ม ชนชาติส่วนน้อยที่อาศัยถาวรอยู่ในพื้นที่สูง และทุรกันดารของภาคเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย มีภาษา ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม แตกต่างจากชาวไทยพื้นราบ” และอ้างถึงระเบียบสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543 ที่ใช้คำว่า “ชาวไทยภูเขา” นั้นประกอบไปด้วย 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และมลาบรี ในส่วนของกะเหรี่ยงยังอธิบายเพิ่มเติมว่า “อาจเรียกว่า ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) บะแก (บะเว)” ทั้ง นี้ในหนังสือระบุผลสำรวจว่ามีคนตองสู้ทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ 7 หมู่บ้าน รวม 459 หลังคาเรือน แต่ไม่ได้ระบุจำนวนประชากรของบะแกและไม่ได้แยกประชากรสกอว์กับโปว์แต่เขียน รวมว่า กะเหรี่ยง
การให้ความหมายของ “ชาติพันธุ์” อย่างเป็นทางการดังกล่าวข้างต้น ให้ความหมายในลักษณะที่หน่วยของชาติพันธุ์กับหน่วยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งเดียวกันและแต่ละหน่วยสามารถแยกขาดออกจากกันได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งแยกแต่ละกลุ่มออกจากกัน เพื่อประโยชน์ในการนับและการจัดการ แต่การให้ความหมายดังกล่าวไม่ค่อยมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ ที่เป็นจริงที่มีความหลากหลายและพลวัตร อันเนื่องจากการเคลื่อนไหวโยกย้ายถิ่น ฐาน และการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนและผสนผสานด้านวัฒนธรรมทำให้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่อาจไม่ผูกติดเป็นเนื้อเดียวกันกับความเป็นชาติพันธุ์
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “กะเหรี่ยง” ว่าครอบคลุมกลุ่มใดบ้าง โดยทางการแล้วก็จะกล่าวถึงกลุ่มสกอว์ โปว์ ตองสู้ บะแก และบางครั้งรวมปะหล่องและปะดอง เข้าไปด้วย โดยเรียกกลุ่มปะดองว่ากะเหรี่ยงคอยาว เพราะผู้หญิงนิยมเอาห่วงโลหะใส่รอบคอทำให้ช่วงห่างระหว่างขากรรไกรกับไหล่ ขยายกว้างขึ้น อย่างไรก็ดี การรวมเอากลุ่มย่อยเหล่านี้มาอยู่ภายใต้กลุ่มกะเหรี่ยงก็เป็นเรื่องที่ไม่ลง ตัว ว่าใช้อะไรเป็นฐานคิด ในเรื่องภาษากลุ่มสกอว์ กับโปว์ดูจะมีภาษาร่วมกัน แต่ด้วยศัพท์บางคำที่ต่างกันและสำเนียงที่ต่างกัน ทำให้การสื่อสารกันไม่อาจทำได้โดยง่าย เพื่อให้สื่อสารกันได้ง่ายกลุ่มโปว์และสกอว์ที่อยู่ใกล้กันเช่นบริเวณชายแดน ไทย-พม่า จึงพัฒนาภาษาที่ผสมผสานเป็นกลางๆ เพื่อการสื่อสาร ในบริเวณพื้นที่สูงแถบตะวันออกของประเทศพม่าที่เป็นรอบต่อระหว่างรัฐฉานกับ รัฐกะเหรี่ยง พบว่ามีกลุ่มเล็กๆ จำนวนมากที่นักภาษาศาสตร์อาจจะจัดให้อยู่ในกลุ่มกะเหรี่ยงเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วแต่ละกลุ่มได้พัฒนารูปแบบปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
1
การระบุว่า “กะเหรี่ยง” เป็น 1 ใน 9 กลุ่มที่เรียกว่า “ชาวเขา” เริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อสงเคราะห์ชาวเขาในปี พ.ศ. 2498 และมีการให้คำนิยามว่า “ชาวเขา” เป็นใคร “กะเหรี่ยง” เริ่มกลายเป็นคำที่ใช้ในวาทกรรมที่เป็นทางการในความหมายที่เป็นชาวเขากลุ่ม หนึ่ง ซึ่งสร้างปัญหาให้กับประเทศ หรือเรียกปัญหาเหล่านั้นว่า “ปัญหาชาวเขา” ประกอบไปด้วยปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การปลูก เสพ และค้าฝิ่นการไม่ใช่คนไทยที่อาจไม่จงรักภักดีต่อประเทศไทย เพราะไม่ได้รับเอาอุดมการณ์ชาติไทยที่แสดงออกโดยการนับถือศาสนาพุทธ ความรักชาติและพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำให้หมิ่นเหม่ต่อการชักจูงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ดำเนิน การบนพื้นที่สูงก่อนที่จะสลายไปเมื่อปี 2525 วาทกรรมชาวเขาเป็นสิ่งที่เน้นมากในสื่อต่างๆ ของรัฐ ในรูปแบบของหลักสูตรการเรียกการสอน และสื่อมวลชนในรูปต่างๆ อันเป็นผลจากการที่รัฐเน้นการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาบนพื้นที่สูงมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2505ที่มีการตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัด มีการตั้งศูนย์วิจัยชาวเขา[2] และเริ่มมีการเผยแพร่ศาสนาพุทธในหมู่ชาวเขาโดยโครงการพระธรรมจาริกปีพ.ศ.2508การตั้งโครงการหลวงเพื่อทำงานวิจัยและเผยแพร่การเกษตรบนพื้นที่สูงในปี พ.ศ. 2512 และการดำเนินงานของโครงการพัฒนาที่สูงที่เป็นโครงการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศเพื่อลดพื้นที่ปลูกฝิ่นและปลูกพืชทดแทนรวมทั้งการพัฒนาพื้นที่สูงในด้านการศึกษาสาธารณสุขโครงสร้างพื้นฐานฯลฯที่ทำอยู่หลายโครงการในช่วงปี2520-2540
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในท่ามกลางการพัฒนาที่เยาวชนคน “กะเหรี่ยง” ได้รับการศึกษามากขึ้น ทั้งด้วยการส่งเสริมของรัฐ และของเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรทางศาสนาคริสต์นั้น ความรู้สึกที่ต้องการกลับไปพัฒนาชุมชนของตนเองมีมากขึ้น กระบวนการเรียนรู้ในแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน การติดต่อปะทะสังสรรค์กับองค์กรพัฒนาสากลและแนวทางการพัฒนา“ชนพื้นเมือง”ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนที่มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงในทิศทางที่คำนึงถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้อง ถิ่น การกลับสู่ชุมชนเพื่อทำงานด้านพัฒนา ทำให้มีการทบทวนประเด็น “อัตลักษณ์” ของกลุ่ม และการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของตนที่เป็นด้านบวกและสามารถรวมพลังในการต่อสู้กับอคติที่รัฐและกลุ่มอื่นมีต่อตนเองอันเป็น อุปสรรคในการพัฒนา คำว่า “ปกาเกอะญอ” หรือ “ปกากะญอ” เริ่มปรากฎขึ้นในฐานะชื่อเรียกของกลุ่มซึ่งโดยทางการเรียกว่า กลุ่มสกอว์ โดยเน้นถึงความหมายว่าคือ “คน” ที่มีศักดิ์ศรีมีศักยภาพและมีวัฒนธรรมที่ดีงาม ภาพของความเป็น “ปกากะญอ” แสดงออกผ่านหนังสือที่ยุคแรกแปลและเรียบเรียงโดยคนภายนอกที่คุ้นเคยกับวัฒ ธรรมของคน “ปกากะญอ” เช่น หนังสือที่เขียนโดย พ้อเลป่า และแปลและเรียบเรียงโดย กัลยา และวีระศักดิ์ ยอดระบำ เรื่อง ปกากะญอ: ข้าคือคน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2531 และได้รับความนิยมมากจนต้องพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 ในปี 2536 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น คนปกากะญอ ต่อมาอีกสองปีก็มีหนังสือของพ้อเลป่าซึ่งรวบรวมและแปลโดยวีระศักดิ์ ยอดระบำออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ เพลงชีวิตปกากะญอ ในยุคต่อมาคนปกากะญอที่ได้รับการศึกษาก็ได้เขียนหนังสือบรรยายถึงวัฒนธรรม ของตนเองโดยไม่ต้องแปล เช่น หนังสือเรื่องวิถีโลกป่า คนปากะญอ เขียนโดย ลีซะ ชูชื่นจิตสกุล พิมพ์ปี 2537 และเรื่อง ชีวิตข้าปกาเกอะญอ เขียนโดยบือพอ ปี 2540 นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ และบทความจำนวนมากที่เขียนถึงคน “กะเหรี่ยง” โดยใช้ชื่อเรียกว่า “ปกากะญอ” และให้ภาพของชุมชนที่เรียบง่าย สันโดษ อยู่กับธรรมชาติ และรักษาธรรมชาติ โดยแสดงให้เห็นโดยผ่านวิธีการจำแนกป่าและความเชื่อและพิธีกรรมที่แสดงถึงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเจ้าของธรรมชาติ
ภาพของ“ปกาเกอะยอ”ในฐานะที่เป็นผู้ที่ไม่เป็นพิษภัยต่อธรรมชาติและสังคมอันเป็นภาพด้านบวกไม่ใช่ภาพของ “ชาวเขา” ที่ค่อนข้างเป็นด้านลบ เป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับค่อนข้างมาก เป็นผลจากปัจจัยหลายประการ ปัจจัยแรกที่เป็นปัจจัยพื้นฐานคือการมีอยู่จริงคือความเชื่อและการปฏิบัติ ทางพิธีกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อธรรมชาติ รวมทั้งความสามารนการอนุรักษ์ป่าและต้นน้ำไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีชุมชนที่อยู่ห่างไกลไม่มีประชากรหนาแน่นความเชื่อและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติเหล่านี้ ทำให้ชนชั้นกลางที่รักธรรมชาติรับได้และให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก ปัจจัยต่อมาคือ การสนับสนุนภาพลักษณ์ของกะเหรี่ยงของหลายส่วนในสังคมในทางวิชาการมีงานศึกษาวิจัยของนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก นักวิจัย นักวิชาการจำนวนมาก รวมทั้งบทบาทของผู้องค์กรพัฒนาเอกชนที่เป็นคนปกาเกอะญอเอง ที่ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมที่มีอยู่ของคนกะเหรี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเพื่อตอบโต้กับภาพลักษณ์ของการทำลายป่าของ “ชาวเขา” ที่ถูกทางการสร้างขึ้นมาตลอด งานของกวี นักร้อง และนักเขียนที่กล่าวถึงความงดงามของธรรมชาติควบคู่กับความงดงามของชนเผ่าล้วนทำให้ชนชั้นกลางเกิดความประทับใจและให้การสนับสนุน ตัวอย่างงานเขียนเรื่อง สัญจรสู่สาละวิน-ถนนธงชัย: วิถีแห่งต้นธาร ตำนานแห่งขุนเขา ของวีระศักดิ์ ยอดระบำ เรื่อง ใต้เงาภูเขา และเพลงภูเขาเสียงชนเผ่าคีตกวีแห่งโลกของ สุวิชานนท์ รัตนภิมล ฯลฯ
คำว่า “ปกาเกอะญอ”จึงเริ่มเข้ามาแทนที่คำว่า“กะเหรี่ยง” และคำว่า “ยาง” ซึ่งคำหลังเป็นคำที่คนภาคเหนือหรือเรียกรวมว่า “คนเมือง” ใช้เรียกคนกลุ่มนี้มาตั้งแต่ในอดีตก่อนจะเข้าสู่ยุคของการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติที่เน้นความทันสมัยตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา นอกจากการเรียกว่า “ยาง” โดยรวมแล้ว ยังแยกเป็น “ยางกะเลอ” “ยางแดง” “ยางเปียง” ฯลฯ ตามการแนะนำตัวเองของกลุ่มหรือตามลักษณะการอยู่อาศัยหรือการแต่งตัว ในปัจจุบันเมื่อคำว่า “ปกาเกอะญอ” ถูกเลือกใช้และยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นคำที่บ่งบอกถึงความมีศักดิ์ศรี คำว่า “กะเหรี่ยง” และ “ยาง” จึงกลายเป็นคำที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ถือว่าเป็นคำที่ดูถูกและมีนัยทางลบและเป็นคำที่ผู้อื่นใช้เรียกไม่ได้เป็นคำที่เจ้าของชื่อใช้เรียกตัวเองอย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ไม่ใช่ทุกกลุ่มที่ถูกรวมเรียกว่า “กะเหรี่ยง” จะยอมรับเอาคำว่า “ปกาเกอะญอ” เป็นคำเรียกชื่อกลุ่มของตนเอง คนกะเหรี่ยงโปว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่อยู่ทางภาคเหนือ เรียกตนเองว่า “โผล่ง” เพราะคำว่า “คำ” ในภาษาของกะเหรี่ยงโปว์ ใช้คำว่า “โผล่ง” นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่กระแสการเคลื่อนไหวตอบโต้กับวาทกรรมทางการในเรื่องการอนุรักษ์ ธรรมชาตินั้นมีกระแสสูงในทางภาคเหนือ คำว่า “ปกาเกอะญอ” จึงถูกใช้และเป็นที่ยอมรับกันมากในชุมชนกะเหรี่ยงทางภาคเหนือมากกว่าทางภาคตะวันตกและภาคกลาง กะเหรี่ยงโปว์ที่อยู่ทางตะวันตกและภาคกลาง เช่น จังหวัดกาญจนบุรี และตาก จะใช้คำว่า “กะเหรี่ยง” ในการเรียกตนเองและเรียกกลุ่มกะเหรี่ยงสกอว์ว่า “กะหร่าง” หรือคนกะเหรี่ยงสกอว์บริเวณนี้ เรียกชื่อกลุ่มตนเองว่า“ส่อง”ในขณะที่คนกะเหรี่ยงโปว์เรียกตัวเองว่า“ซู”
1
ด้วย เหตุนี้ จึงเป็นปัญหาว่าถ้าหากจะรวมคนที่พูดภาษากะเหรี่ยงทุกกลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อ การพัฒนาและการต่อรองแล้ว ควรจะใช้ป้ายชื่อว่าอะไรที่จะเป็นที่ยอมรับของทุกกลุ่ม ผู้ประสานงานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เล่าให้ผู้วิจัยฟังถึงสาเหตุของการใช้คำว่า “กะเหรี่ยง” ในชื่อขององค์กรแทนที่จะใช้คำว่า“ปกาเกอะญอ”เมื่อคราวให้สัมภาษณ์วันที่2กรกฎาคม2547ผู้ประสานงาน: แรกๆ พูดกันเมื่อ 10 กว่าปีแล้ว คำว่ากะเหรี่ยงไม่ค่อยอยากฟังเท่าไร เพราะภาพหรือการให้ความหมายออกมาแบบลบๆ หน่อย เรา เป็นปกาเกอะญอไม่อยากให้เรียกกะเหรี่ยง ก็ปรากฏว่าพี่น้องโพล่งเขาก็เรียกตัวเองว่าโพล่ง ซึ่งแปลว่า ปกาเกอะญอ เหมือนกัน จอ (สกอว์) เองก็หมายถึงปกาเกอะญอเหมือนกัน....ปกาเกอะญอ ก็คือความหมายเท่ากันกับโพล่ง ถ้าใช้เฉพาะคำว่าปกาเกอะญอ ความหมายของคำว่าโพล่งมันหายไป...ที่เชียงใหม่หรือทางเหนือนี้เข้าใจว่าปกา เกอะญอคือเรียกกะเหรี่ยงนำหน้า (จอ และโพล่ง) แต่ กับโพล่งเขาบอกไม่ใช่อย่างนี้ คำว่าโพล่งเท่ากับปกาเกอะญอ ดังนั้นคำว่าโพล่งของเขาจะหายไป มันมีอยู่สองวิธีคือเรียกโพล่ง-จอ แต่ภาพออกมาไม่ดี เป็นสองเผ่าอีก ถ้าอย่างนั้นสากลก็คือกะเหรี่ยง เอาอย่างนี้ละกัน เราตั้งประเด็นอันดับแรกที่ว่าเราไม่ชอบไม่พอใจเนี่ยะเพราะอะไร เพราะเกิดจากการที่เขานิยามเรา...
ผู้วิจัย:คุยกันหลายครั้งไหมเรื่องชื่อขององค์กร?
ผู้ ประสานงาน: หลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ตั้งองค์กรขึ้นมาสองปีแรก ประชุมเรื่อยๆ จนปี 2545 จากเครือข่าย ปกาเกอะญอที่ใช้อยู่ก็เปลี่ยนมาใช้เครือข่ายกะเหรี่ยง เรียกกะเหรี่ยงก็ไม่เป็นไรถือว่าเผยแพร่กันเยอะ ปกาเกอะญอก็แพร่หลายเยอะเหมือนกันถ้าเราสามารถยืดหยุ่นกันได้ก็สมารถรวมกันได้...
สรุปแล้ว คำว่า “กะเหรี่ยง” ซึ่งเป็นคำรวมที่รัฐใช้อย่างเป็นทางการ และมีนัยที่เป็นลบนั้น กลับถูกนำมาใช้อีกโดยองค์กรพัฒนาเอกชนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์เอง และนักวิชาการ ด้วยความจำเป็นที่ต้องมีคำเรียกที่รวมกลุ่มย่อยเข้าด้วยกันเพื่อความสามัคคีและเพื่อการรวมตัวกันตั้งองค์กรตัวแทนที่ดำเนินการด้านการพัฒนาการต่อรองและการเรียกร้องและการต่อสู้เพื่อสิทธิของชนกลุ่มน้อย
ที่มา: กะเหรี่ยง: หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง (2549) โดย ขวัญชีวัน บัวแดง. สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(หน้า6-13).
[1] กรม พัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2545 ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จงหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2545
[2] ยกระดับเป็นสถาบันเมื่อปี 2527 และถูกยุบไปเมื่อปี 2545
http://sites.google.com/a/hilltribe.org/home/chn-phea/kaheriyng
source : KNA สมาคมแห่งชาติกะเหรี่ยง
4 บันทึก
9
6
2
4
9
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย