8 มี.ค. 2021 เวลา 14:33 • ครอบครัว & เด็ก
บทที่ 5... ทำไมคนเราถึง “ตกหลุมรักง่าย” ?
“มันมีเหตุผลในความรู้สึกเสมอ"
เหตุผลที่เรารักใครสักคนมันมีมากกว่าแค่ความรู้สึกแน่นอน… ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของปริมาณฮอร์โมนในช่วงนั้น หน้าตาหรือสัญชาติญาณของมนุษย์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์ต้องเกิด “ความรู้สึกดีต่อกัน”
งั้นคนเราชอบกันที่ “หน้าตา” จริงเหรอ?
นกยูงรำแพนหางเพื่ออวดความงาม… เสือที่ต่อสู้กันจนเลือดตกยางออก…ล้วนทำเพื่อแย่งตัวเมีย…
มันเป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือด มันคือสัญชาติญาณอยู่ในพันธุกรรมของสัตว์ทุกชนิดบนโลก นั่นก็ “สืบทอดยีนส์” ของตัวเองให้ได้ไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป ตัวผู้ต้องต่อสู้ แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง เพื่อที่ตัวเมียจะได้ยอมผสมพันธ์ ส่วนตัวเมียก็จะเลือกตัวผู้ที่แข็งแกร่งและสมบูรณ์ที่สุด และอาจจะมีเกณฑ์แตกต่างกันไปตามสานพันธุ์… ในมนุษย์ก็คล้าย ๆ กัน พวกเราชอบคนกันที่ “หน้าตา” เพราะหน้าตารูปลักษณ์เป็นสิ่งแรกที่เราเห็น สิ่งแรกที่เราพอจะประเมินคน ๆ นั้นได้คร่าว ๆ แต่ก็จะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้มนุษย์ทุกคนไม่ได้ให้ความสำคัญแค่กับหน้าตาเท่ากัน
เช่น ผู้หญิงจะไม่ค่อยสนใจว่าหล่อหรือเปล่า ขอแค่พอใช้ได้ แต่ต้องมีความเป็นผู้นำสามารถดูแลตัวเองได้
แต่ “Move on” ยาก?
ตามหลัก Attachment theory รูปแบบการรักของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท อันได้แก่
Secure Type,
Anxious Type,
Avoidance Type…
ซึ่งสามประเภทนี้เป็นการจัดแบ่งประเภทโดยใช้ทฤษฎี Attachment theory
นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า…เมื่อตอนเราเด็กเราจะมีความคาดหวังความรักจากคนที่ดูแลเรา (อาจจะเป็นพ่อ แม่ หรือพี่) ซึ่งเราอาจจะได้หรือไม่ได้ แต่รูปแบบความหวังและความสมหวังในวัยเด็กจะตามติดตัวจนกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์เมื่อเรามีความรักในเวลาต่อมา ซึ่งรูปแบบความหวังและความสมหวังดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามทฤษฎี Attachment theory
1.ได้ความรักเต็มเปี่ยม… Secure Type
-พ่อแม่ให้ความรักความเอาใจใส่ ทำให้เป็นคนมีความมั่นใจในตัวเองและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
2.ไม่ได้รับความรัก… Avoidance Type
-ครอบครัวไม่มีเวลาให้หรือมีความรุนแรง ทำให้กลายเป็นคนปิดกั้นความรู้สึกเพราะกลัวเสียใจ และไม่ต้องการใครเข้ามาในชีวิต
3.ได้รับบ้าง ไม่ได้รับบ้าง… Anxious Type
-ครอบครัวใส่ใจบ้าง ไม่ใส่ใจบ้าง ทำให้เป็นคนที่ขาดความมั่นใจว่าได้รับความรักจริงหรือเปล่า กลัวคนทอดทิ้ง
ซึ่งสาเหตุของอาการ Move on ยาก มันก็มาจากบุคลิกประเภทที่ 3 นั่นเอง…
จมอยู่กับอดีต… และเอาแต่โทษตัวเอง
ถึงจะแก้ไขยากเพราะบุคลิกแบบที่ 3 ไม่ค่อยจะรู้ว่าตัวเองเป็น และไม่ได้เป็นเพราะเขาอยากเป็น แต่สภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยยอมรับในตัวเขา ทำให้เขาขาดความมั่นใจ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้บุคลิกแบบที่ 3 มีความมั่นใจมากขึ้นก็คือ ต้องรู้จักให้กำลังใจตัวเอง และพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่สังคมยอมรับ เพื่อให้มีความมั่นใจมากขึ้น
คุณเป็นคนจัดการความรู้สึกแบบไหน
มาแชร์ให้กันฟังใต้เม้น ได้นะ
♥️♥️
โฆษณา