8 มี.ค. 2021 เวลา 14:51 • หนังสือ
Talk Like TED : Review & Summary
สวัสดีทุกคนอีกทีครับ วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับ Talk Like TED ซึ่งเป็นผลงานของ Carmine Gallo ได้กลั่นกรองความลับของคนที่พูดในรายการ TED และนำมาเขียนเป็น Talk Like TED ตอนแรกผมก็สงสัยว่าดราจะพูดแบบหมี TED ไปทำไม ที่จริงแล้วมันเป็นเคล็ดลับทั้งเก้า ที่เอามาเป็นกรอบ สำหรับการนำเสนอของเราเอง
ในหนังสือเล่มนี้ เป็นการพูดถึงสูตรการพูด แบ่งออกเป็นสามส่วน และแต่ละส่วนมีความลับสามประการ สังเกตไหมครับ ว่ามันคือ 3x3 ถ้าใครอ่านหนังสือมาหลายเล่ม หรือ ได้ยินผ่านๆ มาจากที่ไหนน่าจะพอรู้ว่า เลข 3 มีผลต่อชีวิตเราแค่ไหน ความเป็นเลข 3 ถูกใช้ในหลายๆ อย่าง แต่วันนี้เราจะไม่ได้มาพูดถึงเลข 3 กันครับ ผมยกตัวอย่างคร่าวไว้สำหรับคนที่สนใจ 3×3 Goal Achievement Strategy ลองหาดูได้ครับ เราไปเข้าเคล็ดลับ ทั้ง 3 ส่วนของ Talk Like TED กันเลยดีกว่าครับ
โครงสร้างสามส่วน ของ Talk Like TED คือ
เข้าถึงอารมณ์ (Emotion) : การเล่าเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์เป็นอย่างมาก ข้อเท็จจริงมีบทบาทสำคัญน้อยกว่ามาก มันคือ เรื่องราวเป็นข้อเท็จจริงด้วยจิตวิญญาณ เล่าให้มีมากกว่าเรื่องราวให้อารมณ์ให้มากขึ้นครับ
แปลกใหม่ (Novel) : เราทุกคนประสบความสำเร็จในเรื่องใหม่! ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใหม่ ข้อมูลใหม่ ความรู้ใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และอื่น ๆ
น่าจดจำ (Memorable) : ข้อมูลส่วนใหญ่สูญหายเร็วมาก เราต้องสร้างความแตกต่าง และความทรงจำที่ยาวนานขึ้นในการพูดคุย หรือการนำเสนอของเราได้อย่างไร?
เริ่มต้นที่ การเข้าถึงอารมณ์อารมณ์ (Emotion) 3 ข้อ ครับ
ความลับ # 1 - ปลดปล่อยผู้เชี่ยวชาญในตัวคุณ
เราเคยอยู่ในสถานการณ์ที่คุณต้องนำเสนออะไรบางอย่าง แต่คุณไม่ได้หลงใหล หรือชอบมันเลยไหมครับ แล้วผลของมันเป็นอย่างไร โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะทำได้ดีที่สุดเมื่อมีความหลงไหล หรือชื่นชอบในหัวข้อนั้นจริงๆ ลองนึกถึงเรื่องที่เราคิดว่าเราคุยกับคนอื่นได้ทั้งวันโดยไม่ต้องมีสคริปต์ดูครับ ต้องมีสักเรื่องแหละน่า
ซึ่งตรงความหลงไหลนี่แหละครับ คือสิ่งนี้สร้างการเชื่อมต่อระหว่างเรากับผู้ฟังที่แท้จริง
ดังนั้นถามตัวเองสองคำถามนี้
อะไรทำให้เราตื่นเต้น?
เมื่อเราสามารถตอบได้ แสดงว่าเราอยู่ในเส้นทางที่ดีในการนำเสนอที่ยอดเยี่ยม!
อะไรคือความหลงใหลของเรา?
ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำถามแรก แต่กว้างกว่าเล็กน้อย คือ เราสามารถหลงใหลได้หลายอย่าง แต่อาจไม่ใช่ทุกสิ่งที่ทำให้เราตื่นเต้นกับมัน
ถ้าตอบได้แล้วสิ่งต่อไปที่เราควรจะทำคือตามหาและอยู่ร่วมกับคนที่หลงใหลในเรื่องเดียวกันครับ จะง่ายต่อการนำเสนอมากขึ้นครับ
ความลับ # 2 - ฝึกศิลปะเล่าเรื่องให้เชี่ยวชาญ
ผู้เขียนได้บอก “สูตร” ที่เราสามารถทำตามได้ คือ การจูงใจ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
Pathos คือ การนำเสนอที่เข้าถึงอารมณ์
Ethos คือ ความน่าเชื่อถือ
Logos คือ หลักฐาน อาจจะเป็น เหตุผล หรือ ข้อมูลต่างๆ เช่น ตัวเลขสถิติ
พยายามให้มีอัตราส่วน 65/25/10 ตามลำดับ นั่นหมายความว่า อารมณ์ เป็นเรื่องที่มีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของการนำเสนอเลยครับ แต่สำหรับการนำเสนอต่อหน้าผู้ชม นั่นคือ สิ่งที่กระตุ้นผู้คนได้ครับ
เราอาจจะใช้เรื่องราวส่วนตัวเรื่องราวเกี่ยวกับผู้อื่น หรือเรื่องสมมติ ผู้ชมของเราจะสามารถเชื่อมโยง และ ไม่ลืมเรา และเรื่องราวของเรา ครับ เรื่องคนอื่นผู้คนมักจะอยากรู้อยู่แล้วครับ คิดง่ายๆ ว่าเวลาเราฟังคนอื่น นำเสอน เช่น อาจารย์ที่สอนแต่ทฤษฏี กับ เรื่องตลก เช่น เดี่ยวไมค์โครโฟน ในเวลา 3 ชั่วโมงเท่ากัน เราน่าจะจำและเข้าใจ อันไหนได้มากกว่ากันครับ มันก็อาจจะมีคนที่จดจ่อในทฤษฏี บอกว่าจำได้มาก แต่ก็อย่าลืมว่า การฟังอีกเรื่องด้วยความจดจ่อเท่ากัน เราก็จะฟังได้มากเหมือนกันไหมครับ แต่ถ้าฟังแบบสมองโล่ง เรื่องที่ฟังแล้วเราไม่ต้องใช้โฟกัสมาก แต่รู้เรื่อง เป็นการเล่าเรื่องที่ดีมากครับ
ความลับ # 3 - พูดให้เหมือนบทสนทนา
 
นั่นอาจเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยากที่จะทำ
เพราะ เราต้องเรียนรู้ เกี่ยวการพูด และ คำพูดที่เหมือนเป็นจุด impact ต่อคนอื่น นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องเรียนรู้การนำเสนอทีละคำ แต่คือการฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะกลายเป็นธรรมชาติของตัวเรา ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากครับ แล้วเราจะพูดเรื่องต่างๆ ได้สบายๆ โดยมีแค่หัวข้อ หรือ เนื้อเรื่องหลักมา เราก็พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติครับ
ต่อมาเป็นส่วนของ ความแปลกใหม่ อีก 3 ข้อ ครับ
ความลับ # 4 - สอนเรื่องใหม่ให้ฉันได้รู้
นั่นคือการใช้ ความอยากรู้อยากเห็นของผู้อื่นมาร่วมด้วยครับ คนอื่นอยากรู้อะไรใหม่ในเรื่องที่เขาสนใจอยู่แล้วครับ เรื่องใหม่ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวข้อใหม่ แต่เป็นการนำเสนอใหม่ๆ หรือ เพิ่มเติมส่วนใหม่มาก็ได้ครับ ผมยกตัวอย่าง The Power Of Habit กับ Atomic Habits เนื้อหาแกนหลัก ทฤษฏี ค่ออย่างเดียวกันเลยครับ แต่ Atomic Habits ได้นำเสนอหลักการใหม่ หรือ เล่าเรื่องใหม่ มากขึ้นนั่นเองครับ จึงยังน่าสนใจ ในขณะที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Habit ด้วยกันทั้งคู่ ถ้าให้ยกตัวอย่างที่พื้นฐานมาจาก The power of habit อีกเล่มที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ Hooked หลายคนอาจจะยังไม่เคยอ่าน ผมแนะนำครับ อันนี้คือการปรับใช้ในเรื่องการตลาดแบบชัดๆ ให้ดูเลยครับ
ไปนอกทะเลอีกแล้ว ผมสรุปเลยละกัน ว่าเราควรจะรวมข้อมูลใหม่ในงานนำเสนอของเรา สิ่งที่ผู้ชมของเราไม่เคยได้ยินมาก่อน และวิธีที่ดีที่สุดในการนำเสนอ คือ พยายามใช้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร สิ่งนี้จะดึงดูดความสนใจได้ครับ
ความลับ # 5 - สร้างช่วงเวลาชวนอ้าปากค้าง
เราต้อทำให้ผู้ชม รู้สึกว่า "ว้าว! มันเหลือเชื่อมาก! ไม่น่าเชื่อเลย!” เช่น ตอนที่ผู้พูดทำสิ่งที่น่าตกใจ อย่างมีคนนึงเคยเอาสมองออกมา ฮืม ! หรือ น่าประทับใจ มันเป็นอีกส่วนนึงที่จะทำให้ผู้ฟังจดจำเราได้ครับ เพราะสิ่งที่ทำให้คนเรารู้สึกจดจำคนๆ คือ การเซอร์ไพรส์ ทำให้เหนือกว่าที่ผู้ฟังคาดหวังครับ เขาก็จะรู้สึกดีมากขึ้นจนอยากจดจำเราเอง
ความลับ # 6 - ผ่อนคลาย
เรื่องนี้เป็นการ ใช้อารมณ์ขันในการนำเสนอของเรา ยิ่งคนอื่นหัวเราะมากเท่าไหร่ เขาก็จะจำได้ดีขึ้นเท่านั้น สิ่งที่ช่วยได้คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย (เรื่องสั้น) คำเปรียบเปรยต่างๆ หรือ สิ่งอื่นๆ มาช่วยเราได้ครับ เช่น พวกคลิป พวก มีมอะไรทำนองนั้นครับ แต่ระวังเรื่องที่ละเอียดอ่อน หรือ พร่ำเพรื่อเกินไปครับ มันจะส่งผลกระทบต่อกฏข้อต่อๆ ไป
ตอนนี้การนำเสนอของเรามีอารมณ์และแปลกใหม่แล้ว สุดท้ายเราต้องพยายามทำให้มันน่าจดจำด้วยครับ
ส่วนสุดท้ายคือ น่าจดจำ (Memorable) อีก 3 ข้อ สุดท้ายครับ
ความลับ # 7 - ยึดมั่นในกฎ 18 นาที
เหตุผลสำหรับกฎ 18 นาทีนั้นง่ายมาก : สมองของเรามีพลังงานสะสมอยู่ สมาธิจะจางหายไปอย่างรวดเร็วหลังจากใช้มันโฟกัสหรือทำงานได้ไม่นาน ดังนั้น เมื่อเราต้องการเป็นที่จดจำ เราควรนำเสนอที่สั้น และดีเยี่ยม
สิ่งที่จะทำให้ 18 นาทีนั้นมีค่ามากขึ้นคือ อัตราความเร็วที่เหมาะสม 190 คำต่อนาที ใช้เสียงหนักเบา และ เป็นธรรมชาติ และ การเว้นจังหวะ เพื่อเน้นสิ่งสำคัญ หรือให้ผู้ฟังรู้สึกอินขึ้น
ความลับ # 8 - วาดภาพในใจด้วยประสบการณ์หลากผัสสะ
หากเรานำเสนอเฉพาะสไลด์ที่ยุ่งมาก และเต็มไปด้วยข้อมูลจำนวนมาก ผู้คนก็จะลืมข้อมูลนั้นในไม่ช้าครับ หากเรานำเสนอภาพ วิดีโอ ภาษากาย และอื่นๆ การนำเสนอของเราจะเป็นสิ่งที่น่าจดจำมากขึ้นครับ ความคิดที่เรียนรู้ของผู้ฟัง จะอยู่รูปแบบรูปภาพ สมองจะเก็บข้อมูลไว้เป็นทั้งภาพและคำพูดด้วยครับ
ความลับ # 9 - เดินในทางของตน
นั่นเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ! ในเล่มนี้มีการพูดคุยกันมากเกี่ยวกับความถูกต้องในการนำเสนอ เป็นเรื่องง่ายที่จะพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เรามีความรู้ แต่เมื่อเราต้องการดึงดูดผู้ชมของเราจริงๆก็ต้อง “อยู่ในแนวของคุณ” ถ้ามันไม่ใช่ตัวเรา คนอื่นก็อาจจะสนใจในเนื้อหานะครับ แต่เขาไม่สนใจว่าเราเป็นใคร หรือทำต่อๆ ก็ไม่มั่นใจว่ามันจะดีเหมือนเดิมไหมครับ สู้ให้คนที่ชอบเรา มาฟังเรา เรามากี่ครั้งไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไร เขาก็จะสนใจครับ เพราะนั่นคือเรา ผมคิดว่าตัวอย่างที่ง่ายๆ ที่มองเห็นได้ก็คือพวกสตรีมเมอร์ในปัจจุบันนี่แหละครับ เช่น gggspotted หรือ อาร์เทอร์ หรือ ลุงไนท์ โอเน่จัง หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมว่าเค้าเป็นคนที่พูดเก่งมา และมันคือตัวเค้าเองในทุกๆ เรื่องที่เค้าสื่อออกมาให้เราเห็นเลยแหละครับ ผมคิดว่าใครที่เคยเข้าไปดูหรือผ่านไปผ่านมา คงจะคิดเหมือนผมนี่แหละครับ
เราไม่เสนออะไรให้คนอื่นเชื่อเราได้ ถ้าเราไม่ได้เป็นคนเช่นนั้นจริงๆ ครับ การจะเป็นนักพูดที่จะสร้างความประทับใจนั้น เราต้อง “เชื่อ” ในสิ่งที่เรากำลังพูด และถ้าเราพูดด้วยความเชื่อมั่น และมีอินเนอร์อย่างมากเกี่ยวกับเรื่องที่พูด ผู้ฟังก็จะศรัทธาเรา เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่เราพูดเป็นเรื่องจริง
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้อีกครั้งครับ ใครอยากนำเสนออย่าง TED ก็เอาไปปรับใช้ดูนะครับ ส่วนผมก็ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง 555 ขอเล่าในแบบที่ผมชอบแล้วกันนะครับ เผื่อมีคนคิดว่าทำไมทั้งๆ ที่รู้ถึงไม่ใช้ 555 เอาหละครับ ถ้าใครชอบฝากกด like ในเพจเป็นกำลังใจให้กัน หรือกด share ให้คนใกล้ตัวได้อ่านถ้าคิดว่ามันมีประโยชน์กับเขา หรือ comment พูดคุยกันได้ครับ ยินดีครับ
วันนี้ผมไปก่อน สวัสดีครับ
Sherlock B.
Facebook Page & Blockdit : Sherlock B.
โฆษณา