9 มี.ค. 2021 เวลา 03:54 • ข่าว
ถกประเด็นร้อน วัคซีน-ยาสูบ-บุหรี่ไฟฟ้า
News Talk:
ผู้ดำเนินรายการ: นพรัตน์ พรวนสุข
แขกรับเชิญ: นพ. เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.จังหวัดเชียงราย พรรคก้าวไกล
นาทีที่ 19.00 – 41:37
นพ. เอกภพ:…เราอาจจะมีผู้เล่นน้อย อาจจะมีโรงงานที่ผลิตได้น้อย มีตัวเลือกน้อย เราก็เลยต้องเลือก Siam BioScience หรือ Bionet-Asia ต่อไป..เราอาจจำเป็นต้องส่งเสริมให้บริษัทเอกชนรายอื่น ๆ เข้ามาในตลาดเพื่อพัฒนาธุรกิจนี้ไปด้วยกัน
นพรัตน์: ให้อุตสาหกรรมใหม่เกิดขึ้นในประเทศด้วยการผลิตยาและวัคซีน คือวิกฤติก็เป็นโอกาสเกิดขึ้นตามมาได้ ขณะนี้ก็อีกส่วนหนึ่งที่มีการพูดคุยกัน มีการทำกันไปแล้วหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ ว่ามันมีใบยาสูบในประเทศไทยสามารถที่จะเอาไปผลิตเป็นวัคซีนได้ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้คุณหมอพอจะทราบไหมครับ
นพ. เอกภพ: คือจริง ๆ แล้ว ที่ใช้ใบยาสูบหรือใบพืชเนี่ยเป็นส่วนตั้งต้นในการผลิตยาหรือวัคซีนเป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกใช้กันมาระยะหนึ่งแล้วนะครับ เป็น 10 ปีแล้วแหละ ที่ตอนนี้ เรื่องใบยาสูบและการผลิตวัคซีนโควิด คือเป็นที่จุฬา ทำการศึกษาวิจัย การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาเป็นไปได้ดี ผ่านการทดลองในขั้นสัตว์ทดลอง แล้วก็ผ่านการทดลองในลิง ซึ่งเป็นสัตว์ที่คล้ายกับคน ก็กำลังจำเข้าไปสู่การทดลองกับคน ในกลุ่มเล็กก่อน ที่เขาบอกว่าทดลองเฟส 1 เฟส 2 ทดลองผล ทดลองผลข้างเคียงนะครับ แล้วก็ไปทดลองในคนหมู่มาก อันนี้คือความคืบหน้าของวัคซีนที่ผลิตจากใบยาสูบ วัคซีนตัวนี้ผลิตจากการที่เอาเชื้อโรคเข้าไปฉีดให้ตัวพืช ต้นพืช เขาจะมีกรรมวิธีของเขานะครับ บอกง่ายๆ คือใช้วิธีการฉีดเข้าไป เป็นต้นอ่อนปลูกใหม่
นพรัตน์: ให้โตขึ้นมาแล้วมีเชื้อโรคอยู่ข้างใน
นพ. เอกภพ: ใช่แล้วก็จะสร้างโปรตีนตัวหนึ่งขึ้นมา โปรตีนตัวนี้ก็จะเลียนแบบตัวเชื้อโรค แล้วเขาก็สกัดเอาโปรตีนตัวนี้เอาเข้ามาฉีดในร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน
นพรัตน์: คล้าย ๆ เซรุ่ม ที่เราต้องเอาพิษงูมา แล้วก็เอาไปฉีดในตัวม้า และเอาเลือดของม้ามาเป็นเซรุ่ม ใช่ไหมครับ ในวิธีคล้าย ๆ กัน
นพ. เอกภพ: ก็ในเซนส์คล้าย ๆ กัน อธิบายง่าย ๆ ก็แบบว่าให้สิ่งมีชีวิตอื่นผลิตโปรตีนที่จำเพาะต่อไวรัสนี้ แล้วให้ร่างกายเราไปจับโปรตีนนี้ แล้วให้ร่างกายเราจำว่าตัวนี้มันคือไวรัส แล้วถ้าไวรัสเข้ามา ก็มีตัวเม็ดเลือดขาวมาฆ่าเชื้อโรคได้
นพรัตน์: ถ้าอย่างนี้นี่เราสามารถที่จะเปลี่ยนเกษตรกรผู้ปลูก ทำไร่ยาสูบ เปลี่ยนไป แทนที่ที่จะเอาไปเป็นบุหรี่ เป็นยาสูบ ก็เอามาทำเป็นวัคซีนอย่างเดียว หรือว่าตัวต้นใบยาสูบเนี่ย ฉีดเชื้อนี่เข้าไปก็สามารถที่จะเอาใบมาขายเป็นยาสูบได้เหมือนเดิม อย่างนั้นหรือเปล่าครับ
นพ. เอกภพ: คือจริง ๆ แล้วเนี่ยตัวใบยาสูบที่ใช้ในการผลิตยาเป็นยาสูบพันธุ์ที่มาจากออสเตรเลียที่ตอนนี้ที่จุฬาใช้ พันธุ์นี้ไม่ได้เป็นพันธุ์ที่ผลิต…
นพรัตน์: โทษนะครับ ไม่ใช่เวอร์จิเนียร์ ที่เขาสูบ ที่ใช้ในบุหรี่ที่เขาประกาศกัน
นพ. เอกภพ: ก็เป็นญาติ ๆ กัน ทีนี้ถ้าจะให้ต่อยอด อย่างที่ผมบอกคือเรื่องของการต่อยอดธุรกิจ การต่อยอดทางอุตสาหกรรมยา เรามีโอกาสที่จะวิจัย ดูว่าเอ๊ะ แล้วไปยาสูบชนิดอื่น ๆ สามารถนำมาใช้ในการผลิตยา ถ้าไม่ใช่วัคซีนโควิด ก็อาจจะใช้ผลิตยาอื่น ว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ไหม
นพรัตน์: เป็นตัวเลี้ยงโปรตีนตัวนี้ และเหมือนอย่างที่ใบยาสูบที่มาจากออสเตรเลียได้หรือไม่
นพ. เอกภพ: ก็เป็นคำถามที่อาจจะต้องมาลองดู ลองวิจัยกันดูนะครับ ก็น่าสนใจทีเดียว
นพรัตน์: ในพื้นที่ของคุณหมอเอกภพที่เชียงรายมีการปลูกยาสูบมาก
นพ. เอกภพ: ก็ทางเหนือมีการปลูกยาสูบมาก ที่เชียงรายส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เวอร์จิเนีย ซึ่ง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ก็คือขายให้โรงงานยาสูบ ที่ผ่านมา เรื่องของบุหรี่ ภาษีสรรพสามิตบุหรี่ การเข้ามาของบุหรี่ต่างประเทศ ทำให้ชาวไร่ยาสูบ บุหรี่ไทยเนี่ยขายไม่ได้ ขาวไร่ยาสูบก็เลยขายให้โรงงานยาสูบไม่ได้ ก็มีปัญหาที่…
นพรัตน์: ชี้แจงนิดนึง ตอนนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการบุหรี่นอกกับบุหรี่ในประเทศของโรงงานยาสูบแห่งประเทศไทย ก็เพราะว่าโรงงานยาสูบแห่งประเทศไทยที่ผลิตบุหรี่ยี่ห้อต่าง ๆ มา ต้องโดนภาษีจากกรมสรรพสามิตที่เรียกเก็บภาษีสูงขึ้นมาก มันมีปัญหาจากการกดดันจากองค์กร สสส. ที่ควบคุมการสูบบุหรี่ของคนไทยในประเทศ จึงกำหนดให้มันแพงเข้าไว้ ตามหลักคือคิดแบบนี้ คนก็จะได้เข้ามาสูบน้อยลงหรือเลิกสูบไปเพราะว่ามีปัญหาจากเรื่องเศรษฐกิจ ของแพงก็จะหนีไปเรื่อย ๆ ทีนี้มันก็เปิดประตูให้กับสินค้าหนีภาษี การลักลอบ มีสินค้าหนีภาษีเข้ามา คือบุหรี่เถื่อน บุหรี่จากต่างประเทศแต่กลับเป็นบุหรี่ที่มีคุณภาพดีกว่า อย่างเช่นบุหรี่ของมาร์ลโบโร อะไรต่าง ๆ ทีนี้ทางโรงงานยาสูบก็ขายบุหรี่ได้จำนวนน้อยลง เรื่อย ๆ เนื่องจาก 1. แพง 2. แข่งขันกับบุหรี่ต่างประเทศไม่ได้ ก็เลยทำให้กระทบต่อการเกษตร ก็คือชาวไร่ยาสูบ ยาสูบที่ผลิตได้ถูกกดราคาลงไปอีก ทางออกที่ต้องคุยกับคุณหมอ ก็คือถ้ามันมีปัญหาแบบนี้ ถ้าประเทศไทยกลายเป็นแหล่งผลิตวัคซีนโควิดแล้วเราสามารถนนำยาสูบมาใช้สกัดวัคซีนได้ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี ตรงนี้มันก็เป็นความฝัน ถ้าอย่างนี้เราจะทำอย่างไรกับไร่ยาสูบดีในสภาพปัจจุบัน
นพ. เอกภพ: คือจริง ๆ แล้ว เราต้องมองที่อนาคตของยาสูบ แน่นอนว่าการสูบบุหรี่หรือบุหรี่เนี่ยเป็นภัยต่อสุขภาพอยู่แล้ว ด้วยความเป็นหมอ ก็ต้องยอมรับว่าคนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่สูบ เพราะฉะนั้นการไม่สูบจะดีที่สุด แต่ในเมื่อมีคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่แล้วธุรกิจบุหรี่ก็ยังมีอยู่ในโลกนี้ เราจะทำอย่างไร เทรนด์ของโลกเนี่ย เราต้องดูว่านอกจากบุหรี่ที่เรารู้จักกันคือบุหรี่มวนทั่วไปแล้วเนี่ย นอกจากซิการ์ นอกจากบุหรี่ที่เป็นแบบมวน ไปป์หรืออะไรพวกนี้แล้ว ก็จะมีเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าด้วย
นพรัตน์: ตอนนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามา
นพ. เอกภพ: บุหรี่ไฟฟ้าก็จะมีลักษณะที่เป็นน้ำยา น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า กับชนิดที่เป็นมวนแบบเดิมแต่ไม่ได้ใช้วิธีจุด เผาไหม้แบบเดิม ตรงนี้ก็ยังใช้ยาสูบ ใบยาสูบไปผลิต เพราะฉะนั้นถ้าโรงงานยาสูบขายบุหรี่เป็นมวนได้น้อยลง รับซื้อยาสูบจากชาวไร่ได้น้อยลง ตรงนี้ก็อาจจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ถ้าเข้ามาพูดคุยกัน แล้วอาจจะเป็นช่องทางในการที่จะผลิตยาสูบแบบใหม่
นี้ที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ เราส่งออกก็ได้หรือเปิดช่องมาพูดคุยกันว่าในประเทศ เราจะทำอย่างไรในการจัดการกับเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าดี ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องมาพูดคุยกัน เพราะว่า แน่นอนว่ามีผลการศึกษาวิจัยนะครับว่าบุหรี่ไฟฟ้าน่าจะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่งกว่าบุหรี่มวน ผมไม่ได้บอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยแล้วสูบได้ทุกคน แต่บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า…เป็นทางเลือก ในทั่วโลกเขาใช้คำว่า Harm Reduction คือเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่า ลดผลแทรกซ้อน
นพรัตน์: ก็ต้องดูว่าการคิดนวัตกรรมบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นมาของบริษัทบุหรี่ในโลกนี้ บริษัทใหญ่ ๆ เราไม่เอ่ยชื่อก็แล้วกัน อยู่บนหลักการที่ว่าหลีกเลี่ยงการเข้ามาทำร้าย ทำลายร่างกายของผู้สูบ เพราะว่ากระแสสังคมนั้นไม่ยอมรับสิ่งที่เข้ามาทำลายสุขภาพเป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพ สังคมก็จะหนีจากสิ่งนั้น ใช่ไหมครับ บริษัทบุหรี่เองก็คงจะตระหนักตรงนี้ก็เลยคิดถึงเรื่องของการ จะหนีจากการขายบุหรี่แบบเดิม ซึ่งมีการเผาไหม้ มีควัน มีสารพิษตั้งสี่ห้าร้อยชนิดเข้ามาในการสูบแต่ละครั้ง เขาก็เลยหนี ใช่ไหมครับ หนีไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า ทีนี้สังคมไทยก็…(บุหรี่ไฟฟ้า) ยังถูกต่อต้านจากหน่วยงานที่ควบคุมเรื่องสุขภาพของประชาชนในประเทศ คุณหมอในฐานะที่เป็นกรรมาธิการสาธารณสุขได้เสนอเรื่องนี้ไว้ให้มีการศึกษา หรืออย่างไรครับ
นพ. เอกภพ: ก็มีการพูดคุยในหลายกรรมาธิการรวมถึงในเวทีสภาด้วยแล้วก็ กรรมาธิการสาธารณสุขก็เตรียมที่จะเสนอเรื่องนี้ด้วย ก็คือว่าควรมีการนำข้อมูลทางวิชาการมาดูว่าบุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่ทั่วไปหรือบุหรี่รูปแบบอื่นมีผลต่อสุขภาพอย่างไร เหตุผลในการที่เราต้องแบนบุหรี่ไฟฟ้ายังคงมีอยู่หรือไม่ เพราะว่าการแบนบุหรี่ไฟฟ้าคือการยอมให้บุหรี่ไฟฟ้ามีอยู่ในตลาดใต้ดิน ในตลาดมืด พออยู่ในตลาดมืด เราควบคุมมันไม่ได้ มีการพูดถึงว่า บุหรี่ไฟฟ้าเนี่ย กลัวว่าเยาวชนจะเข้าถึงง่าย กลัวว่าคนสูบจะมากขึ้น ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้วถ้าให้อยู่ในตลาดใต้ดิน เราคุมไม่ได้เลย แต่ถ้าบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นมาอยู่บนดินและมีการควบคุมให้ถูกต้อง ก็ต้องมีการดูเรื่องของวิชาการ พูดคุยกันให้ชัดว่าเอายังไง ต้องอยู่ในการควบคุมแบบไหน ตรงนี้เป็นจุดที่เราต้องมาคุยกันต่อแล้วก็ศึกษากันต่อ ไม่ใช่ว่าจะคัดค้านต่อต้านอย่างเดียว แล้วก็ไม่ยอมปล่อยให้ศึกษาข้อมูลทางวิชาการที่มีเพิ่มขึ้นใหม่ ๆ
นพรัตน์: ขณะนี้แสดงว่าไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบใหม่กับเก่าเลยใช่ไหมครับ
นพ. เอกภพ: จริง ๆ แล้วต่างประเทศมีข้อมูลศึกษา
นพรัตน์: ไม่…คือเราพูดถึงเวลาในเมืองไทยที่เกี่ยวข้องกับการห้ามหรืออนุมัติได้เนี่ย
นพ. เอกภพ: เวทีต่าง ๆ ในประเทศไทย เราจะเน้นพูดคุยเรื่องของการห้ามสูบบุหรี่ มาตรการห้ามสูบบุหรี่อย่างเดียว ถ้าเราย้อนกลับไปดู ณ ปัจจุบัน คนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ มีประมาณ 10 ล้านคน ในประเทศ จากทั้งหมด 70 และ 10 ล้านคนเนี่ย อยู่ประมาณเท่าเดิมมาตลอดมา 10 ปีแล้ว การรณรงค์แบบเดิม การทำงานแบบเดิมน่าจะเอาไม่อยู่ น่าจะลดจำนวนผู้สูบไม่ได้
นพรัตน์: เหมือนว่าเรากำลังจะพูดถึงการทำงานที่ล้มเหลวของ สสส.
นพ. เอกภพ: จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าที่ผ่านมา…
นพรัตน์: เขาได้ภาษีบาปไปปีละ 4 พันล้านต่อปี ถือเป็นความล้มเหลวใช่ไหมครับถ้าไม่สามารถที่จะลดจำนวนผู้สูบได้ แต่ได้ภาษีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากว่ามีผู้ซื้อบุหรี่และกินเหล้ามากขึ้นเรื่อย ๆ
นพ. เอกภพ: คือจริง ๆ แล้วต้องบอกว่า สสส. เนี่ย ทำงานทำงานได้ดีในช่วงที่ผ่านมา แต่การทำงานช่วงที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ 10 กว่าปี 20 ปี เนี่ย เราอาจจะต้องปรับตามวิชาการ ตามบริษัทของโลกและสังคมที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเราจะใช้วิธีการรณรงค์แบบเดิมและใช้เงินปีละ 4 พันล้านในการรณรงค์แบบเดิมต่อไป บางทีเนี่ย อาจจะจัดการไม่ได้แล้ว เราต้องมี smoke-free society สังคมไร้ควันบุหรี่แบบใหม่ สังคมไร้ควันบุหรี่ที่พูดถึงหลักการทางวิชาการ ที่เอาเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้ามาคุยกัน เอาเรื่องของการจัดการในรูปแบบใหม่ ๆ นอกจากการรณรงค์ มาคุยกัน ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญ และอีกส่วนหนึ่ง ที่สังคมไร้ควันบุหรี่ในต่างประเทศเขาพูดถึงกันก็คือสิทธิ์ของผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่ด้วย เพราะฉะนั้นโอเค ในเรื่องการคำนึงถึงถึงสิทธิ์ของคนที่ไม่สูบ คนที่ต้องได้รับควัน secondhand smoke เนี่ย ที่ได้รับควันบุหรี่จากคนรอบข้าง แน่นอนว่าเราก็ยังต้องทำเหมือนเดิม แต่คนที่ยังสูบอยู่ เรามีทางเลือกให้เขาไหม ในการที่จะดูแลสุขภาพ
นพรัตน์: ก็คือเปลี่ยนจากบุหรี่เก่ามาเป็นแบบใหม่ได้ไหม
นพ. เอกภพ: แล้วแต่ เราต้องมีทางเลือก คือเราให้ข้อมูลทางวิชาการให้กับประชาชน หลักการแบบใหม่ทางการแพทย์คือเราให้ทางเลือก ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แล้วประชาชนจะเป็นคนเลือกเองว่าเขาต้องการชีวิตแบบไหน ต้องการผลทางสุขภาพแบบไหน ไม่ใช่ว่าปิดช่องทาง ต้องแบบนี้ คือถ้าเป็นเรื่องของบุหรี่คือบุหรี่มวนอย่างเดียว และบุหรี่ต้องเป็นศูนย์เท่านั้น มีทางทำได้หรือครับที่จะทำให้คนสูบบุหรี่เป็นศูนย์ มันอาจจะได้ยากมาก แต่ถ้าเป็นไปได้ยากแล้วเราจะทำอย่างไรให้ลดลง สมมติว่าเรามีเป้าหมาย คนสูบบุหรี่ตอนนี้ 10 ล้านคน เราอยากจะลดลงเหลือ 5 ล้านคน เราจะทำแบบเดิม คงเป็นไปไม่ได้เพราะ 10 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า ทำแบบเดิม (จำนวนผู้สูบบุหรี่) ไม่ลดลงเลย ก็ต้องมีวิธีการใหม่ อย่างเช่นที่อังกฤษเนี่ย เขาบอกว่าให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเลิกบุหรี่ เป็นตัวช่วย ที่ญี่ปุ่น มีคลินิกช่วยเลิกบุหรี่แล้วใช้บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ที่ไม่เผาไหม้เป็นตัวช่วย ตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งในการที่จะช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ อีกส่วนหนึ่งคือ ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ แน่นอนว่าต้องให้บุหรี่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ทุกชนิดอยู่ในการควบคุมของกฎหมายเดียวกัน เพราะฉะนั้นแล้วนักสูบหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชน เข้าถึงไม่ได้แน่นอน
นพรัตน์: ก็คืออายุไม่ถึง 18 ซื้อไม่ได้
นพ. เอกภพ: ซื้อไม่ได้
นพรัตน์: ตอนนี้กฎหมายอยู่ใน… บุหรี่รุ่นใหม่หรือที่ใช้การจุดด้วยไฟฟ้าเนี่ยมันกลับไปอยู่ในกฎหมายบารากุใช่ไหมครับ ซึ่งเป็นข้อห้ามในการนำมาสูบเป็นการทั่วไป สำหรับบารากุ แต่กฎหมายก็เขียนเพิ่มไป คือประเภทที่คล้ายบารากุ และบุหรี่ไฟฟ้านี่ก็อยู่ในกลุ่มที่ถูกห้ามนี้ ซึ่งมันไม่ถูกใช่ไหมครับ
นพ. เอกภพ: มันคนละเรื่องกันเลยครับ มันเป็นผลิตภัณฑ์คนละชนิดกันเลย แล้วก็ผมคิดว่าทางที่ดีเนี่ยคือควรต้องมาจัดการในเรื่องของกฎหมายใหม่ โดยที่มีหลักการทางวิชาการมาสนับสนุนและมองถึงอนาคตของทั้งทางเศรษฐกิจ ธุรกิจและการจัดการยาสูบแบบใหม่ เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่ได้คือเราจะได้วิธีการจัดการยาสูบเพื่อให้ผู้สูบบุหรี่มีจำนวนลดลง ช่วยผู้ที่ยังสูบอยู่ให้หยุดสุบบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ได้ดีขึ้น จัดการเรื่องของภาระ ธุรกิจ เศรษฐกิจ เรื่องของการทำอุตสาหกรรมใหม่เพื่อส่งออก
นพรัตน์: คือบุหรี่เก่าเนี่ยมันเป็นสิ่งที่จะถูก disrupt ไปอีกอย่างหนึ่ง แต่ว่าทางการก็คือ หน่วยงานของรัฐก็คือ โรงงานยาสูบเนี่ยยังมองไม่เห็นว่าจะไปทางไหน
นพ. เอกภพ: จริง ๆ แล้วทุกองคาพยพในประเทศ เท่าที่ผมเข้าไปพูดคุยหรือว่ามาชี้แจงในกรรมาธิการเนี่ยมีความรู้ มีความเข้าใจและรู้ว่าเราจะไปเข้าสู่ ศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าหรือว่าอนาคตของยาสูบได้อย่างไร แต่ปัญหาคือยังไม่มีสัญญาณไฟเขียวว่าเปิดให้ศึกษาได้ เพราะยังมีคนที่ต่อต้านอย่างแข็งขันอยู่ว่าไม่เอา ไม่เอาอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้ดูผลการศึกษาวิจัยให้รอบด้าน
นพรัตน์: เขาไม่ดูเพราะเขาอ้างว่า ตามที่ผมติดตามข่าวนะ เขามีข้ออ้างว่ารายงานนี้ยังไม่เป็นทางการ แล้วก็เป็นรายงานที่มีเบื้องหลัง บริษัทผู้ค้าบุหรี่สนับสนุนให้ทำรายงานนี้ออกมา แล้วเราจะว่ายังไงครับ คือฝ่ายต่อต้านนะเขาบอกว่าไม่ต้องเอามาพูดเพราะว่าเป็นรายงานที่ยอมรับไม่ได้
นพ. เอกภพ: คือจริง ๆ แล้วเวลาที่เราดูรายงานที่ตีพิมพ์ทางการแพทย์ มันคือจะมีการ…เขาเรียกว่า บอกในเรื่อง Conflict of Interest ผลประโยชน์ทับซ้อนว่าเขามีรับทุนจากที่ไหนหรือเปล่า เราเลือกอ่านได้ และในความเป็นหมอเนี่ย เราก็อ่านหลักวิชาการแบบนี้ได้ ทีนี้ก็ต้องย้อนกลับไปถามว่า… ก่อนอื่นผมต้องบอกถึงตัวเองก่อน บอกท่านผู้ชมและผู้ดำเนินรายการก่อนว่า 1. คือผมไม่มี Conflict of Interest ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทยาสูบแต่อย่างใด เพราะว่าทุกครั้งที่มีคนมาพูดเรื่องของยาสูบหรือบุหรี่ไฟฟ้ามักจะโดนโจมตีต่อต้านว่าคนนี้ได้รับเงินจากบริษัทยาสูบ กล่าวหาแบบลอย ๆ เพราะฉะนั้นนักวิชาการที่เคยศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าก็ถอยกันหมด ประการที่ 2 คือ ผมไม่ได้รับเงินจากหน่วยงานที่สนับสนุนการเลิกบุหรี่อย่างเช่น สสส. ด้วย ดังนั้นผมไม่ได้รับเงิน ไม่ได้รับผลประโยชน์จากทั้งสองฝั่งนี้ และผมเป็นคนของประชาชน คือเป็นผู้แทนของประชาชน และเป็นหมอที่ดูแลสุขภาพของประชาชนมาก่อน เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้ ก็คือต้องบอกว่าไม่มีผลได้ผลเสียทั้งนั้น เรามาคุยกันในเรื่องของวิชาการล้วน ๆ ผมเคยมีประสบการณ์ในการอยู่ในกรรมาธิการพิจารณายกเลิกสารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิด เราก็จะมีข้อโต้แย้งคล้าย ๆ แบบนี้ครับ ว่าทางบริษัทหรือทางหลาย ๆ ภาคส่วนบอกว่าผลการวิจัยที่บอกว่ามีผลต่อชีวิตมนุษย์เนี่ย มันเชื่อถือไม่ได้ ทางนี้ก็บอกว่าผลการวิจัยของบริษัทสารเคมีเชื่อถือไม่ได้เช่นเดียวกัน วิธีการแก้ปัญหาคือมานั่งดูผลวิจัยด้วยกัน แล้วเราก็เห็นชัดว่าตรงนี้มีปัญหาจริง ๆ ตัวไหนที่มีปัญหาเราก็แบนไป เพราะฉะนั้นต้องเปิดเวทีครับ ให้เอาข้อมูลวิจัยมาดูกัน มันจะมีวิธีอ่านข้อมูลวิจัยครับว่า ตรงนี้เชื่อถือได้ไม่ได้แค่ไหน มาดูพร้อมกันเลย
นพรัตน์: อย่าดูคนละทีแล้วเอาไปวิจารณ์กันข้างนอก
นพ. เอกภพ: เพราะฉะนั้น ผมไม่เคยชี้นิ้วไปว่า…เฮ้ยฝั่งนู้น ฝั่งที่วิพากษ์วิจารณ์บุหรี่ไฟฟ้าเนี่ย เอาผลการวิจัยที่ไม่ดีมา คุณได้รับผลประโยชน์อะไรมา ผมไม่เคยทำแบบนั้น แต่ผมจะแนะนำว่าให้มานั่งคุยด้วยกัน ก็เลยเป็นที่มาว่าเราต้องเสนอเข้าสภา เสนอญัตติให้มีการพูดคุยในเรื่องของปัญหา ปัญหายาสูบ แล้วก็ปัญหาที่การขับเคลื่อนสังคมไร้ควันยังไปไม่ถึงเป้าหมาย ผมถามว่าเป้าหมายของสังคมไร้ควันของไทย ต้องการให้อยู่ที่คนสูบบุหรี่เหลือกี่เปอร์เซ็นต์ของประชากร คำถามนี้คำถามเดียวยังไม่มีคำตอบเลยนะครับ ยังไม่มีคำตอบจาก สสส. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเป้าหมายกี่เปอร์เซ็นต์และภายในเวลากี่ปี ถ้าทำงานไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีเป้าหมายหรือเส้นชัย อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 4 พันล้านบาทต่อไปไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีเป้าหมาย ไม่ใช่แล้วครับ และเราต้องมาคุยกันใหม่ มาดูทั้งระบบใหม่ แล้วจัดการกันใหม่ว่าเป้าหมาย
เช่น อีก 10 ปีข้างหน้า เราจะให้ผู้สูบบุหรี่ลดลงเหลือ 5 ล้านคน 8 ล้านคน ก็ว่ากันไป ด้วยเทคโนโลยี ด้วยวิธีไหน มีผลการวิจัยอะไรมารองรับ ต้องใช้กฎหมายอะไรเพิ่มเติม ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่า ถ้าเรามาคุยกันอย่างสร้างสรรค์…
นพรัตน์: ก็ถึงเวลาที่ สสส. จะต้องทบทวนบทบาทหน้าที่ที่ผ่านมาของตัวเองไปในตัว ใช่ไหมครับ และในขณะนี้การศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเนี่ย นอกจากการยื่นข้อเสนอไว้ในกรรมาธิการ ในส่วนอื่น ๆ มีอะไรไหมครับ ที่จะต้องศึกษาไปควบคู่กัน
นพ. เอกภพ: นอกจากยื่นเข้าคณะกรรมาธิการแล้วและรอการบรรจุวาระ ก็จะเป็นเรื่องของญัตติหัวข้อการศึกษาปัญหายาสูบและศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งรอเข้าอยู่ในสภาอยู่แล้ว แต่เนื่องจากว่ามีญัตติด่วนมากมายที่ต่อคิวอยู่ ตรงนี้ก็ยังไม่ถึงลำดับที่จะเข้ามาพิจารณา ตรงนี้ก็เป็นจุดที่เรากำลังดำเนินการกันอยู่ อีกส่วนหนึ่งที่มีการทำก็คือ การตรวจสอบและประเมินผลการทำงานในการขับเคลื่อนสังคมไร้ควันที่ผ่านมา ในหน่วยงานต่าง ๆ องค์กรต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร ตรงนี้ก็มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลกันอยู่ครับ
โฆษณา