Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mindset
•
ติดตาม
9 มี.ค. 2021 เวลา 08:19 • การเกษตร
เบลเยี่ยน บลู (Belgian Blue Cattle)
วัวพันธุ์ยักษ์ นักเพาะกล้าม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัวปีศาจ" (Monster Cow)
ภาพ: owlcation
เบลเยี่ยน บลู (Belgian Blue Cattle)เป็นวัวสายพันธุ์จากประเทศเบลเยี่ยม จุดเด่นของโคเบลเยี่ยมบลู คือมีการมีกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ ที่เรียกว่า “double-muscling” นอกจากนี้ยังมีการเจริญเติบโตเร็ว เปอร์เซ็นต์ซากสูง คุณภาพเนื้อดี เนื้อนุ่มมีไขมันต่ำ การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมลักษณะการมีกล้ามเนื้อมากสามารถทำได้ดี และโคเบลเยี่ยมบลูยังถือว่าเป็นโคที่มีกล้ามเนื้อมากที่สุดในโลกอีกด้วย
ประวัติของโคเบลเยี่ยนบลู เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของโคพันธุ์เรดไพน์และแบล๊คไพน์กับโคสายพันธุ์ ชอร์ทธอร์น ซึ่งเป็นโคจากสหราชอาณาจักร บางส่วนผสมกับโคพันธุ์ชาร์โรเลย์ การพัฒนาสายพันธุ์ในครั้งแรกเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 โดยพัฒนาจากโคนมที่มีลักษณะกึ่งเนื้อกึ่งนม
การพัฒนาวัวสายพันธุ์นี้หยุดชะงักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1919 ได้มีการกำหนดลักษณะของการพัฒนาพันธุ์ที่ชัดเจนว่า โคกึ่งเนื้อกึ่งนมจะต้องมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม มีโครงสร้างกล้ามเนื้อดีและให้ผลผลิตน้ำนมดีด้วย
การพัฒนาให้เป็นสายพันธุ์โคเนื้อที่ทันสมัยได้รับการพัฒนาในปี 1950 โดยศาสตราจารย์
ฮานเซ็ต(Hanset)ซึ่งทำงานที่ศูนย์ผสมเทียมในจังหวัด Liege การคัดเลือกพันธุ์ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนในช่วงปี 1960-1970 โดยได้มีการเน้นที่คัดเลือกลักษณะกล้ามเนื้อเป็นลักษณะเด่น จนได้ลักษณะเฉพาะนั้น ผ่านการผสมพันธุ์จนได้โคพันธุ์เบลเยียนบลูพันธุ์แท้
ซึ่งผลการคัดเลือกต่อมาทำให้ โคเนื้อเบลเยี่ยนบลู มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ตะหนอก หลัง และสะโพกใหญ่ขึ้น กระดูกเล็กลง ลำตัวโค้งมน ส่วนหลังใหญ่ท้ายลาดแต่มีกล้ามเนื้อมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะต้นแบบที่ได้จากพ่อพันธุ์ชื่อ Gedeon และหลานของมันที่เป็นพ่อพันธุ์อีก 2 ตัว (Ganache และ Vaiseur)
ลักษณะทางกายภาพของโคเบลเยี่ยนบลู ตัวผู้เต็มวัย
👉 น้ำหนัก 1,100 -1,250 กิโลกรัม
👉 ความสูงที่ส่วนท้าย 145 - 150 ซ.ม.
👉 สูงกว่า 140 ซ.ม
สีของโคเบลเยี่ยนบลู สีเป็นลักษณะด้อย ที่พบมี 3 ลักษณะคือ สีขาวทั้งตัว สีเทาหรือด่าง(blue) และสีดำ สีดำ เป็นสีที่มีผู้เลี้ยงในเบลเยี่ยมชอบน้อยที่สุด ทำให้โคเนื้อเบลเยี่ยนบลูส่วนใหญ่จะมีสีขาวและสีด่าง Belgian Blue ตั้งชื่อตามสีขนสีเทาอมฟ้าของพวกเขา
ภาพ: pikist
อัตราส่วนจากการทดสอบด้วยการขุนจนถึงอายุ 1 ปี มีดังนี้
👉น้ำหนัก 480 ก.ก.
👉ซาก 60%
👉กระดูก 13.4%
👉เนื้อ 78.1%
👉ไขมันและพังผืด 7.5%
จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าได้เนื้อมากเกือบ 80% ซึ่งเหนือกว่าพันธุ์เนื้ออื่น ๆ
การเลี้ยงโคเบลเยี่ยมบลูในประเทศไทย
ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่น่าจะมีการเลี้ยงโดยการผสมข้ามสายพันธุ์กับโคสายพันธุ์มาหลายปีแล้ว เพราะมีข้อมูลพ่อพันธุ์โคเนื้อลูกผสม สายเลือดเบลเยี่ยมบลู+ชาร์โรเลส์ ในเว็บไซต์โคบาลนิวส์ และมีน้ำเชื้อโคเบลเยี่ยมบลูขายที่ พรชัยอินเตอร์เทรดอีกด้วยด้วย
Reference :
"โคพันธุ์เบลเยี่ยมบลู - Belgian Blue Cattle |
ตลาดโค.com
(
www.taradko.com
) คือตลาดนัดออนไลน์ ซื้อ – ขาย แลกเปลี่ยน ประมูล โค กระบือ ออนไลน์แห่งแรกในประเทศไทย"
https://taradko.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9-belgian-blue-cattle/
บันทึก
4
2
1
4
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย